
ปวดกล้ามเนื้อ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดกล้ามเนื้อ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
-
การอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพ์นาน ๆ นั่งในท่าทางไม่เหมาะสม หรือยืนนาน ๆ ยืนผิดท่า ทำกิจกรรมเดิมซ้ำ ๆ เป็นต้น
-
นอนผิดท่า เช่น ใช้หมอนสูงหรือตะแคงนาน ๆ รวมไปถึงการนอนตกหมอน
-
การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาหนักแบบที่ไม่เคยเล่นมาก่อน รวมไปถึงการยกของหนัก หรือใส่ส้นสูงเดินนาน ๆ ด้วย
-
ความเครียด การที่มีความเครียดสะสมสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกร็งโดยไม่รู้ตัว และนำพาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาให้
-
บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม ถูกชน ถูกกระแทก ขาแพลง เดินตกจากพื้นต่างระดับ หรือเดินบนทางลาดชันกว่าปกติ
-
ยาบางชนิด อาทิ ยาลดไขมันกลุ่มยาสแตติน (Statins) อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปวดกล้ามเนื้อ
-
ความเจ็บป่วย เช่น โรคไข้หวัด, โควิด 19, ไข้มาลาเรีย, การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียทั่วไป, โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งหากเกิดจากอาการป่วยมักมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ มีไข้ คลื่นไส้ หรือต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น
- การกดทับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกร็งและปวด
ยานวดกล้ามเนื้อ ช่วยอย่างไร
ยานวดแก้ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ครีมนวดบรรเทาอาการปวด เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่บริเวณที่ทา มักจะมีส่วนผสมของตัวยา เช่น ไดโคลฟีแนค, ไพร็อกซิแคม หรือไอบูโพรเฟน ที่มีฤทธิ์ลดปวด ลดอักเสบ
นอกจากนี้ในยานวดแก้ปวดยังอาจมีส่วนผสมที่ให้ความร้อน เช่น เมทิลซาลิไซเลต, แคปไซซิน, ไพล, น้ำมันระกำ เพื่อช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หรือบางยี่ห้ออาจใช้ส่วนผสมที่ให้ความเย็น เช่น เมนทอล น้ำมันยูคาลิปตัส สะระแหน่ ที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกเย็นบนผิวหนัง เบี่ยงเบนความรู้สึกปวด ทำให้รู้สึกสบายขึ้นชั่วคราว จึงช่วยบรรเทาอาการปวดในกลุ่มผู้ที่มีอาการเมื่อยสะสมจากการทำงานหรือคนที่ใช้กล้ามเนื้อหนัก ๆวิธีเลือกซื้อยาทาแก้ปวดเมื่อย

1. เลือกสูตรของครีมนวดแก้ปวด
โดยทั่วไปจะมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่
- สูตรร้อน : เหมาะกับอาการปวดเรื้อรัง ปวดหลัง หรือเมื่อยล้าสะสมจากการใช้กล้ามเนื้อเป็นประจำ เช่น ออฟฟิศซินโดรม
- สูตรเย็น : เหมาะกับอาการปวดจากการออกกำลังกายหรือบาดเจ็บใหม่ภายใน 48 ชั่วโมงแรก เช่น ข้อเท้าแพลง กล้ามเนื้อฉีกขาด อาการปวดศีรษะจากความเครียด
2. เลือกยานวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่เหมาะกับอาการและสภาพผิว
เช่น
-
แบบครีม หรือเจล : ใช้ง่าย ซึมไว กลิ่นมักจะไม่แรง ต้องใช้มือนวดเพื่อให้เนื้อครีมซึมซาบลงสู่ผิวหนัง ออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง แต่บางสูตรอาจทิ้งความรู้สึกเหนียวเหนอะหนะบนผิวหนัง
-
แบบน้ำ หรือโลชั่น : เนื้อบางเบา ซึมลึกลงผิวได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้แรงนวดมากนัก ไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะกับการทาผิวหนังบริเวณกว้าง ๆ หรือเมื่อต้องการความรวดเร็ว
-
แบบสเปรย์ : ฉีดพ่นบริเวณที่ปวดได้โดยตรง ไม่ต้องสัมผัสด้วยมือ เหมาะกับผิวหนังที่เข้าถึงยาก แต่ก็อาจควบคุมปริมาณยาได้ยากกว่า
- แบบน้ำมัน หรือบาล์ม : เนื้อสัมผัสมีความหนืด ข้น ต้องใช้มือนวดเพื่อให้ซึมลงผิว ให้ความร้อนลึกและออกฤทธิ์ยาวนาน มีกลิ่นสมุนไพรชัดเจน แต่มักจะซึมช้ากว่า และอาจเลอะเสื้อผ้า
3. เลือกจากส่วนผสม
4. เลือกจากกลิ่น
5. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
6. ตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ให้ดี
7. เช็กวันผลิตและวันหมดอายุทุกครั้งก่อนซื้อ
ยานวดคลายกล้ามเนื้อ ยี่ห้อไหนดี
มาดูกันว่าเราควรเลือกซื้อยานวดแก้ปวด ยี่ห้อไหนดี ในปี 2025
1. ครีมไพล อภัยภูเบศร

ภาพจาก : abhaithaiherbs.com
ครีมทาแก้ปวดเมื่อยจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์คลายปวดอย่างไพล ซึ่งเขาใส่สารสกัดไพลจากการเคี่ยว 10% และน้ำมันไพลกลั่น 1% พร้อมด้วยตัวยาอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และลดอาการเคล็ดขัดยอก เหมาะกับคนที่ชอบกลิ่นสมุนไพรหอมแรง
-
วิธีใช้ : ใช้ทา ถู นวด วันละ 2-3 ครั้ง หรือเมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : 35 บาท (ขนาด 25 กรัม)
2. ยันฮี โคเพนครีม

ภาพจาก : ยันฮี
อีกหนึ่งครีมทาแก้ปวดที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากโรงพยาบาลยันฮี โดยหลอดนี้เป็นครีมที่มีกลิ่นหอมคล้ายยาหม่อง เพราะเป็นสูตรสมุนไพรที่ใช้ทั้งน้ำมันระกำ, น้ำมันสกัดจากไพล, เกล็ดสะระแหน่, การบูร, น้ำมันสกัดจากเถาเอ็นอ่อน และตัวยาอื่น ๆ ซึ่งจากรีวิวของหลาย ๆ คนก็บอกว่าใช้ง่าย กลิ่นไม่แรง ทาแล้วรู้สึกร้อนนิด ๆ แล้วค่อยเย็น ใช้สำหรับแก้ปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก บรรเทาอาการปวดบวม ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจากการเล่นกีฬา และยังช่วยลดรอยเขียวช้ำที่เกิดตามผิวได้อีกด้วย
-
วิธีใช้ : ใช้ภายนอก โดยใช้ทาและนวดเบา ๆ บริเวณที่มีอาการ วันละ 3-4 ครั้ง
-
ราคาปกติ : 40 บาท (ขนาด 30 กรัม)
3. น้ำมันมวย ชนิดครีม

ภาพจาก : nammanmuayofficial.com
ถ้าพูดถึงยี่ห้อน้ำมันมวยคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นไอเทมยอดนิยมในกลุ่มนักกีฬาและคนที่ใช้ร่างกายหนัก ๆ อย่างชาวออฟฟิศ ซึ่งมักจะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันน้ำมันมวยก็มีสูตรครีมมาให้เลือกใช้ เป็นยาสามัญสูตรเฉพาะของแบรนด์น้ำมันมวย มีส่วนผสมของเมทิลซาลิไซเลตที่เป็นยาระงับปวดชนิดใช้เฉพาะที่ มีส่วนผสมของเมนทอลที่ให้ความเย็น ต้านอักเสบ และกลิ่นหอม อีกทั้งยังมียูจีนอลและน้ำมันกานพลู ช่วยบรรเทาอาการปวดจากตะคริว หรืออาการชาปลายมือ-ปลายเท้า รวมถึงบรรเทาอาการปวดบวมแดงจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ด้วย โดยเนื้อครีมจะมีความซึมซาบไว พร้อมกลิ่นเฉพาะตัวของแบรนด์น้ำมันมวยติดมาด้วย
-
วิธีใช้ : บีบครีมจากหลอดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทาบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด บวม เคล็ด ขัดยอก
-
ราคาปกติ : 53 บาท (ขนาด 30 กรัม) และ 109 บาท (ขนาด 100 กรัม)
4. เซียงเพียว รีลีฟครีม

ภาพจาก : shop.bertram1958.com
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเซียงเพียวเขามีครีมทาแก้ปวดเมื่อยด้วย และเป็นไอเทมที่ค่อนข้างนิยมในคนขี้เมื่อยที่ไม่ชอบกลิ่นฉุน ๆ เพราะเนื้อครีมซึมซาบเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ แถมยังมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ จากสมุนไพรทั้งน้ำมันกานพลูและน้ำมันระกำ ร่วมกับตัวยาเมทิลซาลิไซเลตสำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วไป หรือคนที่ออกกำลังกายจะใช้ทาหลังออกกำลังกายก็ช่วยคลายปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
-
วิธีใช้ : ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ราคาปกติ : 35 บาท (ขนาด 16 กรัม), 49 บาท (ขนาด 32 กรัม) และ 85 บาท (ขนาด 62 กรัม)
5. ไทยแท้ เนเชอรัล เฮอร์บัล ครีม

ภาพจาก : Thai Thae Thai Herbs
ครีมทาแก้ปวดเมื่อย ยี่ห้อ ไทยแท้ เป็นสูตรรวมสมุนไพรที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นเปลือกส้ม ช่วยผ่อนคลายระบบประสาท ให้กลิ่นหอมสดชื่น, โรสแมรี ที่มีกลิ่นหอมปลอบโยน ช่วยให้สงบ สร้างสมาธิ, เปปเปอร์มินต์ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน และน้ำมันไพลสกัด สารสำคัญที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก และลดอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยครีมจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ถึงจะเป็นสูตรร้อน แต่ทาแล้วอุ่น ๆ ไม่แสบร้อนผิว และไร้สารสเตียรอยด์อีกด้วย
-
วิธีใช้ : นวดและทาบริเวณที่ปวดเมื่อยและอักเสบของกล้ามเนื้อ
- ราคาปกติ : 290 บาท (ขนาด 40 กรัม)
6. Ammeltz Yoko Yoko

ภาพจาก : kobayashi-th.com
แอมเม็ลทซ์ โยโกะโยโกะ ยานวดชนิดน้ำที่มาในรูปขวดจับถนัดมือ และใช้งานได้ง่าย ๆ เพราะมีฟองน้ำที่ปากขวด สามารถนำมาทาจุดที่ปวดให้ตัวยาซึมลงผิวหนังแล้วนวดคลึงคลายปวดเมื่อยได้โดยไม่เลอะมือ แบรนด์นี้ไม่ต้องพูดเยอะเพราะอยู่มานาน ใครคุ้นชื่อและตัวขวดก็แปลว่าไม่เด็กแล้วนะ
-
วิธีใช้ : ใช้ทาบริเวณที่ปวดได้บ่อยตามที่ต้องการ
-
ราคาปกติ : 165 บาท (ขนาด 100 มิลลิลิตร)
7. เคาน์เตอร์เพน สูตรเย็น

ภาพจาก : counterthepain.com
ยาทาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อย ยี่ห้อเคาน์เตอร์เพน มีตัวยาลีโวเมนทอล (Levomenthol) เนื้อสัมผัสจะเป็นแบบเจลเย็น ช่วยยับยั้งการนำกระแสประสาท C และ A-delta fiber ที่ยับยั้งอาการปวดกล้ามเนื้ออันเกิดจากการพลิก อาการบวม ช้ำ หรืออุบัติเหตุที่เกิดแรงกระแทก รวมไปถึงอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ส่วนกลิ่นก็จะหอมเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เชื่อว่าหลาย ๆ คนเมื่อมีอาการปวดเมื่อยก็จะนึกถึงแบรนด์นี้ เพราะค่อนข้างนิยมใช้ในกลุ่มนักกีฬาและคนที่ใช้กล้ามเนื้อหนัก ๆ มาอย่างยาวนาน
-
วิธีใช้ : ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ให้ทําความสะอาดผิวแล้วทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-4 ครั้ง ใช้ร่วมกับผ้าพันแผลหรือ ice packs ได้
-
ราคาปกติ : 69 บาท (ขนาด 30 กรัม), 110 บาท (ขนาด 60 กรัม) และ 185 บาท (ขนาด 120 กรัม)
ข้อควรระวัง
ในการใช้ยานวดคลายกล้ามเนื้อ

แม้จะเป็นยาใช้ภายนอก แต่การใช้ครีมทาแก้ปวดเมื่อย ก็มีข้อควรระวังที่อยากเตือนสักหน่อย
-
อ่านฉลากและปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อย่างเคร่งครัด รวมถึงพิจารณาข้อห้ามใช้และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
-
ห้ามใช้ครีมนวดสูตรร้อนบริเวณที่มีอาการบวมหรืออักเสบเฉียบพลัน เพราะความร้อนจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ
-
ห้ามใช้ครีมนวดสูตรเย็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อตึงมากหรือปวดเรื้อรัง เพราะความเย็นอาจทำให้กล้ามเนื้อยิ่งหดตัว
-
ใช้ทาเฉพาะภายนอกเท่านั้น
-
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
-
ก่อนใช้ยาควรทดสอบการแพ้โดยทาบริเวณเล็ก ๆ ก่อน เช่น หลังมือ ข้อพับแขน หรือท้องแขนด้านใน
-
ไม่ควรใช้ยาในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
-
ห้ามใช้ยาทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น รอบ ๆ ดวงตา ริมฝีปาก จุดซ่อนเร้น และผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผล
-
หลังจากใช้ยาแล้วควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ป้องกันการสัมผัสยาแล้วเผลอนำเข้าตา ปาก หรือสัมผัสร่างกายส่วนอื่น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
-
เก็บในที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส หรือตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
-
เก็บยาให้พ้นมือเด็ก ป้องกันเด็กรับประทาน
-
หากมีอาการแพ้หรือระคายเคืองควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์
-
ยานวดแก้ปวดใช้สำหรับทาเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นเท่านั้น ไม่มีผลในการรักษาโรคใด ๆ
-
หากใช้แล้วอาการปวดเมื่อยไม่ดีขึ้น และหายช้ากว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสามารถพบได้บ่อย บางคนแค่นั่งทำงานนาน ๆ ก็ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง เกือบทุกวัน หากอยากลองคลายปวดเมื่อยด้วยยานวดคลายกล้ามเนื้อก็สามารถนำไกด์ไลน์เบื้องต้นไปเลือกซื้อยาทาแก้ปวดเมื่อยกันได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้องกับยานวดคลายกล้ามเนื้อ
- น้ำมันนวดคลายเส้น ยี่ห้อไหนดี พร้อมวิธีเลือกซื้อน้ำมันนวดคลายปวด
- พลาสเตอร์แก้ปวด แผ่นแปะแก้ปวดหลัง ยี่ห้อไหนดี ติดตัวไว้อุ่นใจ ใช้บรรเทาอาการได้ทุกเมื่อ
- ยาคลายกล้ามเนื้อช่วยได้แค่ไหน ใช้อย่างไรจะคลายปวดเมื่อย
- ยาหม่องไม่ช่วยแก้ฟกช้ำ มาจำใหม่และใช้อย่างถูกต้อง
- สุดยอด ! นักวิจัยคิดค้นแผ่นแก้ปวดสำเร็จ ลดอาการปวดได้ดีกว่ากินยาถึง 10 เท่า