
จุ่มลวก (หรือลวง) (Modern Mom)
โดย: ผศ.นสพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุกแบบไหน กินอย่างไรให้ปลอดจากภาวะอาหารเป็นพิษ หมอซุปมีคำตอบเพื่อการกินจุ่มลวก ให้ปลอดภัยมาฝากครับ

ตะวันนัดลัดดาวกินอาหาร คราวนี้ลัดดาวเลือกแนวจิ้มจุ่มลวกในตึกที่ทำงาน เพราะเห็นว่าน่าจะสด สุก และสะอาด ทั้งที่โดยธรรมชาติของลัดดาวอาจจะมีนิสัยที่ชอบอาหารเสี่ยงต่อโรคภัยเป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งคู่สั่งอาหารซึ่งมีทั้งเนื้อสัตว์ (ชนิดไม่ปรุงและปรุงรส) อาหารทะเล ผัก และไข่ไก่ เป็นต้น ตามปกติ แล้วบนโต๊ะก็มักจะมีช้อนตักซุปขนาดใหญ่ และกระชอนใช้สำหรับการลวกอาหาร เมื่ออาหารที่สั่งมาถึง ทั้งคู่คีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอนแล้วจุ่มลงในน้ำซุปที่กำลังเดือด รอจนกระทั่งวัตถุดิบอาหารสุก จึงได้นำอาหารมาใส่ในชาม
ระหว่างกินอาหารได้ใช้ตะเกียบคีบวัตถุดิบอาหารใส่ลงในกระชอนเพื่อรอให้สุก จะได้มีอาหารเติมแบบไม่สะดุด บางครั้งลัดดาวคีบอาหารดิบใส่ลงในกระชอน แล้วจึงใช้ตะเกียบมาคีบอาหารสุกเข้าปากอย่างไม่รู้ตัว นอกจากนี้ลัดดาวยังจุ่มอาหารที่ลวกสุกแล้วในไข่ดิบด้วย โดยเข้าใจว่าจะทำให้อาหารมีรสชาติมากยิ่งขึ้น
หลังจากกลับบ้านลัดดาวรู้สึกถึงความไม่ปกติของในท้อง แต่ไม่เอะใจเพราะคิดว่าอาหารที่เลือกกินวันนี้สด สุก และสะอาดแล้ว จนในที่สุดกลางดึก ลัดดาวมีอาการไข้ คลื่นไส้ และถ่ายท้องหลายครั้งจนกระทั่งซูบและเพลียกับอาการอาหารเป็นพิษที่กระหน่ำอย่างรุนแรงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น



ทางที่จะปลอดภัยจากจุลินทรีย์นี้ก็คือ ลวกตะเกียบก่อนจะใช้ตะเกียบคืบอาหารสุกเพื่อบริโภคก็จะปลอดภัย

ข้อแนะนำการจุ่มไข่ (ดิบ) จึงควรผ่านความร้อนซ้ำอีกครั้งจนกระทั่งไข่สุกก่อนการบริโภค รสชาติอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่เพื่อความปลอดภัยก็ควรจะหลีกเลี่ยงครับ
หากใส่ใจในเรื่องของอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ สักนิด ชีวิตก็จะปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสียครับ
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
