หลายคนไม่เคยขูดหินปูนแลย และคิดว่าหินปูนไม่ใช่สิ่งที่เราต้องสนใจ แต่ในระยะยาวหินปูนอาจสร้างปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่คิดอีกนะ
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเราต้องขูดหินปูน ทั้ง ๆ ที่หินปูนก็ดูจะสร้างปัญหาสุขภาพฟันไม่เท่าไร แค่อาจทำให้ฟันเป็นคราบเหลืองก็เท่านั้น แต่ก็อย่าเพิ่งคิดชะล่าใจค่ะ เพราะการปล่อยให้หินปูนเกาะฟันสะสมไปเรื่อย ๆ อาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะ
หินปูน เกิดจากอะไร
หินปูนหรือเรียกอีกอย่างว่า หินน้ำลาย คือสิ่งที่ติดอยู่ตามฟันของเรา เกิดมาจากขี้ฟัน เศษอาหาร โปรตีนที่สะสมและจับกับเชื้อโรคในช่องปาก แล้วตกตะกอนเป็นคราบแข็งตามผิวฟัน ซอกเหงือก และขอบฟัน ซึ่งคราบเหล่านี้จะเกาะฟันอย่างแน่นหนา ไม่สามารถกำจัดออกด้วยการแปรงฟันได้ ต้องใช้เครื่องมือทันตแพทย์เท่านั้น และไม่ควรนำไม้หรือของแข็งมาเซาะหินปูนออกเองเด็ดขาด ทั้งนี้ หากมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีเลือดออกตามไรฟัน เสียวฟัน หรือรู้สึกฟันเหลืองผิดปกติ นี่คือสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาขูดหินปูน
หินปูน อันตรายไหม
คราบหินปูนยิ่งปล่อยให้มีการสะสมไว้นาน ๆ จะยิ่งเกาะตัวหนา ซึ่งนอกจากจะทำให้ฟันเหลืองแล้ว ยังอาจสร้างปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยหินปูนจะปล่อยสารที่เป็นกรดออกมา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้
1. เลือดออกขณะแปรงฟัน จากการแปรงฟันแรงเกินไป เพราะคิดว่าคราบหินปูนกำจัดเองได้
2. เหงือกบวม เพราะการแปรงฟันแรงเช่นกัน
3. ฟันเหลือง จากคราบหินปูนที่สะสมบนผิวฟัน
4. มีกลิ่นปาก จากการสะสมของขี้ฟัน แบคทีเรีย และน้ำลายที่รวมตัวกันเป็นหินปูน
5. เหงือกร่น หากปล่อยให้หินปูนสะสมปริมาณมาก หินปูนอาจดันลงไปที่เหงือก ทำให้เหงือกร่นได้
6. ฟันโยก เมื่อกรดจากหินปูนกัดกร่อนผิวฟันนาน ๆ อาจมีปัญหาฟันโยก เนื่องจากกระดูกที่รองรับรากฟันอาจค่อย ๆ ละลาย
7. ฟันผุ กรดจากหินปูนอาจกัดกร่อนฟันให้เป็นร่องหรือที่เรียกว่าฟันผุได้ด้วย และฟันผุก็อาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้
- 7 โรคอันตรายจากฟันผุ เบาหวานก็มา โรคหัวใจก็มี
8. เหงือกอักเสบ เพราะกรดและจุลินทรีย์อาจกัดกร่อนเหงือกได้
- เหงือกอักเสบ อันตรายกว่าที่คิด !
9. โรคปริทันต์ หินปูนที่สะสมมานาน ไม่ได้รับการกำจัดออก อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคปริทันต์ได้
- วิธีรักษาโรครำมะนาด หรือรำปริทันต์ คืนความสุขสู่ฟันกันเถอะ !
ขูดหินปูน เจ็บไหม
อ๊ะ ๆ ถ้าสงสัยว่าขูดหินปูนเขาทำกันยังไง เจ็บไหม ลองมาดูขั้นตอนการขูดหินปูนกันเลย
- ตรวจสุขภาพฟัน
- ขูดหินปูนด้วยเครื่องมือแพทย์ที่จะช่วยกระเทาะเอาตัวหินปูนออกจากผิวฟัน ซึ่งจะไม่โดนผิวฟันและเนื้อฟันโดยตรง ดังนั้นไม่ต้องกังวลไป
- ขัดทำความสะอาดฟันด้วยยาสีฟัน
- ขัดฟันด้วยไหม
- บ้วนปาก
- เคลือบฟลูออไรด์
ทั้งนี้ทุกขั้นตอนจะทำโดยทันตแพทย์ และการขูดหินปูนไม่เจ็บอย่างที่คิดไว้นะคะ ไม่ได้ทำให้ฟันห่างหรือเนื้อฟันบางลงด้วย เพียงแต่ในระหว่างขูดหินปูนอาจมีอาการเสียวฟันเล็กน้อย ซึ่งหากอาการเป็นมาก แพทย์ก็จะให้ยาชาเพื่อลดอาการเสียวฟัน เห็นไหมล่ะว่าการขูดหินปูนไม่ได้น่ากลัวเลย
ขูดหินปูน ควรทำบ่อยแค่ไหน
เพื่อสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี เราควรขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือน แต่สำหรับคนที่เป็นโรคปริทันต์ แนะนำให้ขูดหินปูนทุก ๆ 3-4 เดือน
ขูดหินปูน ก็มีข้อควรระวังด้วยนะ
การทำทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยบางโรคก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน เช่น โรคดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำหรือผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามร่างกาย
2. โรคไตและคนที่มีประวัติเคยล้างไต ที่ได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว
3. คนที่มีประวัติผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และใช้ยาละลายลิ่มเลือด
4. โรคหัวใจ เพราะอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อย ใจสั่น
5. โรคหอบหืดที่มีอาการหอบเหนื่อย ต้องพ่นยาประจำและได้รับยาสเตียรอยด์
6. โรคลมชัก ซึ่งทันตแพทย์จะขอดูประวัติการกินยาและอาการที่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนทำทันตกรรมใด ๆ ก็ตาม
7. โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดอาการความดันโลหิตสูงขึ้นขณะทำฟัน
8. โรคเบาหวาน เพราะแผลอาจหายยากจากการขูดหินปูน
9. ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ไม่ควรขูดหินปูน เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ควรแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งก่อนรับบริการ เพื่อป้องกันและเตรียมความพร้อมหากอาการกำเริบระหว่างทำฟัน และลดความเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง
หินปูนป้องกันได้
วิธีป้องกันหินปูนสามารถทำได้ง่าย ๆ ตามนี้
- แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน หรือควรบ้วนปากทุกครั้งหลังดื่มหรือกินอาหารรสชาติหวานทุกชนิด
- ตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
รู้อย่างนี้แล้วรีบไปขูดหินปูนกันดีกว่า เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีเนอะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลสุขุมวิท, โรงพยาบาลจุฬารันต์ 3 อินเตอร์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
หินปูน เกิดจากอะไร
หินปูนหรือเรียกอีกอย่างว่า หินน้ำลาย คือสิ่งที่ติดอยู่ตามฟันของเรา เกิดมาจากขี้ฟัน เศษอาหาร โปรตีนที่สะสมและจับกับเชื้อโรคในช่องปาก แล้วตกตะกอนเป็นคราบแข็งตามผิวฟัน ซอกเหงือก และขอบฟัน ซึ่งคราบเหล่านี้จะเกาะฟันอย่างแน่นหนา ไม่สามารถกำจัดออกด้วยการแปรงฟันได้ ต้องใช้เครื่องมือทันตแพทย์เท่านั้น และไม่ควรนำไม้หรือของแข็งมาเซาะหินปูนออกเองเด็ดขาด ทั้งนี้ หากมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีเลือดออกตามไรฟัน เสียวฟัน หรือรู้สึกฟันเหลืองผิดปกติ นี่คือสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาขูดหินปูน
หินปูน อันตรายไหม
คราบหินปูนยิ่งปล่อยให้มีการสะสมไว้นาน ๆ จะยิ่งเกาะตัวหนา ซึ่งนอกจากจะทำให้ฟันเหลืองแล้ว ยังอาจสร้างปัญหาสุขภาพช่องปาก โดยหินปูนจะปล่อยสารที่เป็นกรดออกมา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้
1. เลือดออกขณะแปรงฟัน จากการแปรงฟันแรงเกินไป เพราะคิดว่าคราบหินปูนกำจัดเองได้
2. เหงือกบวม เพราะการแปรงฟันแรงเช่นกัน
3. ฟันเหลือง จากคราบหินปูนที่สะสมบนผิวฟัน
4. มีกลิ่นปาก จากการสะสมของขี้ฟัน แบคทีเรีย และน้ำลายที่รวมตัวกันเป็นหินปูน
5. เหงือกร่น หากปล่อยให้หินปูนสะสมปริมาณมาก หินปูนอาจดันลงไปที่เหงือก ทำให้เหงือกร่นได้
6. ฟันโยก เมื่อกรดจากหินปูนกัดกร่อนผิวฟันนาน ๆ อาจมีปัญหาฟันโยก เนื่องจากกระดูกที่รองรับรากฟันอาจค่อย ๆ ละลาย
7. ฟันผุ กรดจากหินปูนอาจกัดกร่อนฟันให้เป็นร่องหรือที่เรียกว่าฟันผุได้ด้วย และฟันผุก็อาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้
- 7 โรคอันตรายจากฟันผุ เบาหวานก็มา โรคหัวใจก็มี
8. เหงือกอักเสบ เพราะกรดและจุลินทรีย์อาจกัดกร่อนเหงือกได้
- เหงือกอักเสบ อันตรายกว่าที่คิด !
9. โรคปริทันต์ หินปูนที่สะสมมานาน ไม่ได้รับการกำจัดออก อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคปริทันต์ได้
- วิธีรักษาโรครำมะนาด หรือรำปริทันต์ คืนความสุขสู่ฟันกันเถอะ !
ขูดหินปูน เจ็บไหม
อ๊ะ ๆ ถ้าสงสัยว่าขูดหินปูนเขาทำกันยังไง เจ็บไหม ลองมาดูขั้นตอนการขูดหินปูนกันเลย
- ตรวจสุขภาพฟัน
- ขูดหินปูนด้วยเครื่องมือแพทย์ที่จะช่วยกระเทาะเอาตัวหินปูนออกจากผิวฟัน ซึ่งจะไม่โดนผิวฟันและเนื้อฟันโดยตรง ดังนั้นไม่ต้องกังวลไป
- ขัดทำความสะอาดฟันด้วยยาสีฟัน
- ขัดฟันด้วยไหม
- บ้วนปาก
- เคลือบฟลูออไรด์
ทั้งนี้ทุกขั้นตอนจะทำโดยทันตแพทย์ และการขูดหินปูนไม่เจ็บอย่างที่คิดไว้นะคะ ไม่ได้ทำให้ฟันห่างหรือเนื้อฟันบางลงด้วย เพียงแต่ในระหว่างขูดหินปูนอาจมีอาการเสียวฟันเล็กน้อย ซึ่งหากอาการเป็นมาก แพทย์ก็จะให้ยาชาเพื่อลดอาการเสียวฟัน เห็นไหมล่ะว่าการขูดหินปูนไม่ได้น่ากลัวเลย
ขูดหินปูน ควรทำบ่อยแค่ไหน
เพื่อสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี เราควรขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือน แต่สำหรับคนที่เป็นโรคปริทันต์ แนะนำให้ขูดหินปูนทุก ๆ 3-4 เดือน
ขูดหินปูน ก็มีข้อควรระวังด้วยนะ
การทำทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยบางโรคก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน เช่น โรคดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำหรือผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามร่างกาย
2. โรคไตและคนที่มีประวัติเคยล้างไต ที่ได้รับยาป้องกันเลือดแข็งตัว
3. คนที่มีประวัติผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และใช้ยาละลายลิ่มเลือด
4. โรคหัวใจ เพราะอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบ เหนื่อย ใจสั่น
5. โรคหอบหืดที่มีอาการหอบเหนื่อย ต้องพ่นยาประจำและได้รับยาสเตียรอยด์
6. โรคลมชัก ซึ่งทันตแพทย์จะขอดูประวัติการกินยาและอาการที่เป็นครั้งสุดท้ายก่อนทำทันตกรรมใด ๆ ก็ตาม
7. โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดอาการความดันโลหิตสูงขึ้นขณะทำฟัน
8. โรคเบาหวาน เพราะแผลอาจหายยากจากการขูดหินปูน
9. ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ไม่ควรขูดหินปูน เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ควรแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งก่อนรับบริการ เพื่อป้องกันและเตรียมความพร้อมหากอาการกำเริบระหว่างทำฟัน และลดความเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วยเอง
หินปูนป้องกันได้
วิธีป้องกันหินปูนสามารถทำได้ง่าย ๆ ตามนี้
- แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
- บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานของหวาน หรือควรบ้วนปากทุกครั้งหลังดื่มหรือกินอาหารรสชาติหวานทุกชนิด
- ตรวจสุขภาพฟันทุก ๆ 6 เดือน
รู้อย่างนี้แล้วรีบไปขูดหินปูนกันดีกว่า เพื่อสุขภาพปากและฟันที่ดีเนอะ
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 ตุลาคม 2563
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลสุขุมวิท, โรงพยาบาลจุฬารันต์ 3 อินเตอร์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข