อยากให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้น ทำได้ไหม แล้วต้องทำยังไงถึงจะปลอดภัยและได้ผล ลองมาดูกันค่ะสาว ๆ
ประจำเดือนสำหรับผู้หญิง ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าจะต้องมาทุกเดือนตามวงจรของร่างกาย แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่เราอยากแทรกแซงวงจรนั้นให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นเพราะมีสิ่งสำคัญต้องทำ ว่าแต่จะมีวิธีทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นบ้างไหม ลองมาไขคำตอบกันค่ะ
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ประจำเดือน คือเลือดและเยื่อบุมดลูกที่ไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อน (ตั้งครรภ์) ซึ่งถ้าไม่มีการใช้งานก็จะหลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ส่วนใหญ่วงจรนี้จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน แต่ละรอบจะมีเลือดประจำเดือนออกมา 3-7 วัน ก่อนจะมีการสร้างเนื้อเยื่อโพรงมดลูกใหม่เพื่อให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อนจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ และหากไม่มีการปฏิสนธิก็จะเกิดประจำเดือนอีกครั้ง วนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนถึงวัยหมดประจำเดือน
ในทางการแพทย์ การเร่งประจำเดือนให้มาเร็วกว่าเดิมต้องกระตุ้นการตกไข่ ทว่าวงจรประจำเดือนอยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนเพศที่หลั่งจากต่อมใต้สมองอีกที ดังนั้นการทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นจึงอาจเป็นไปได้ยาก เพราะในแต่ละคนก็จะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกับระดับฮอร์โมนเพศและการตกไข่ เช่น ความแข็งแรง ความเครียด การพักผ่อน อาหารการกิน ดังนั้นจึงไม่มีวิธีทำให้ประจำเดือนมาเร็วขึ้นกว่าปกติได้ ยกเว้นหากมีความผิดปกติของรอบเดือนและระดับฮอร์โมน เช่น เป็นผลข้างเคียงจากยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ทว่ายาคุมฉุกเฉินควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เหมือนกัน
- ยาคุมฉุกเฉิน ก่อนคิดจะกิน รู้ 11 เรื่องนี้ครบหรือยัง
อยากให้ประจำเดือนมาเร็ว เลื่อนประจำเดือนให้มาช้าง่ายกว่า
หากอยากเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า โดยใช้ยาเลื่อนประจำเดือน ซึ่งมีตัวยาสำคัญคือ นอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) ในขนาด 5 มิลลิกรัม ยานี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน มีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน จึงช่วยเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลงได้ราว ๆ 1 สัปดาห์
นอกจากนี้ตัวยายังช่วยบรรเทาอาการ PMS หรือใช้รักษาภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้ด้วย โดยควรกินยาเลื่อนประจำเดือนอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่ประจำเดือนจะมา และไม่ควรใช้นานเกิน 2 สัปดาห์ และหลังจากหยุดยาเลื่อนประจำเดือนแล้ว ประจำเดือนจะมาภายใน 2-3 วัน
ทั้งนี้ยาเลื่อนประจำเดือนอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
* รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
* ประจำเดือนมาถี่ มากะปริบกะปรอย หรือไม่มาเลย
* ปวดศีรษะ
* คัดตึงเต้านม
* คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
อย่างไรก็ตาม การจะเลื่อนประจำเดือนด้วยยาเลื่อนประจำเดือนควรศึกษารายละเอียดและวิธีใช้ให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพและลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
- ยาเลื่อนประจำเดือน กินอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามา แชนแนล
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
หากอยากเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า โดยใช้ยาเลื่อนประจำเดือน ซึ่งมีตัวยาสำคัญคือ นอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) ในขนาด 5 มิลลิกรัม ยานี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน มีผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน จึงช่วยเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลงได้ราว ๆ 1 สัปดาห์
นอกจากนี้ตัวยายังช่วยบรรเทาอาการ PMS หรือใช้รักษาภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้ด้วย โดยควรกินยาเลื่อนประจำเดือนอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันที่ประจำเดือนจะมา และไม่ควรใช้นานเกิน 2 สัปดาห์ และหลังจากหยุดยาเลื่อนประจำเดือนแล้ว ประจำเดือนจะมาภายใน 2-3 วัน
ทั้งนี้ยาเลื่อนประจำเดือนอาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้
* รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
* ประจำเดือนมาถี่ มากะปริบกะปรอย หรือไม่มาเลย
* ปวดศีรษะ
* คัดตึงเต้านม
* คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
อย่างไรก็ตาม การจะเลื่อนประจำเดือนด้วยยาเลื่อนประจำเดือนควรศึกษารายละเอียดและวิธีใช้ให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพและลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
- ยาเลื่อนประจำเดือน กินอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
รามา แชนแนล
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา