โรคซึมเศร้า กับโรคไบโพลาร์ โรคซึ่งเกิดจากสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่ปกติเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วมีจุดสังเกตแตกต่างกันที่ควรรู้
จะเห็นได้ว่าภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ แต่ภาวะซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์จะมีความรุนแรงมากกว่าโรคซึมเศร้า ทั้งยังมีแนวโน้มกระทบไปถึงความสามารถในการทำงาน การใช้ชีวิตในสังคม และความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวอีกด้วย โดยเราสามารถจำแนกความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าระหว่างโรคซึมเศร้ากับโรคไบโพลาร์ได้ดังนี้
อาการโรคซึมเศร้าที่ควรสังเกต
1. รู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้าทุกวัน และเกือบจะทั้งวัน
2. รู้สึกเบื่อกับทุกอย่างรอบตัวเป็นประจำ
3. เบื่ออาหาร
4. นอนไม่หลับ
5. กระวนกระวาย หรือมีอาการซึม ๆ เนือย ๆ ไร้เรี่ยวแรง
6. รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เหมือนร่างกายอ่อนแอลง
7. รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ
8. มีอาการใจลอย ไม่มีสมาธิ
9. เบื่อชีวิต มีบางช่วงที่รู้สึกอยากตาย
ถ้ามีความรู้สึกเบื่อเศร้าอย่างอาการข้างต้นติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับจนผอมลง และเกิดความรู้สึกอยากตายมากขึ้น ลักษณะนี้อาจเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
อาการของภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์ที่ควรสังเกต
1. มักเกิดอาการซึมเศร้าครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน อีกทั้งยังมีอาการเป็นพัก ๆ เดี๋ยวเศร้าเดี๋ยวปกติวนไปมาหลายครั้ง
2. ความคิดช้าลง พฤติกรรมต่าง ๆ ก็ช้าลงเช่นกัน
3. นอนมากขึ้น
4. เจริญอาหารมากขึ้น
5. รู้สึกโดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ เหมือนกลายเป็นคนไร้ค่า
6. มองโลกในแง่ร้ายไปหมด รู้สึกว่าโลกไม่สดใส ไม่มีอะไรน่าสนุก ไม่ร่าเริง
7. มีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง
8. ตกอยู่ในสภาวะหลงผิด อารมณ์ผิดปกติจนอาจควบคุมความประพฤติของตัวเองไม่ได้
9. กลายเป็นคนมีปัญหากับสังคม รู้สึกว่าคนรอบข้างไม่เป็นมิตร ไม่สนใจตน
10. มีประวัติติดยาเสพติด หรือเคยกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
11. มีประวัติโรคไบโพลาร์หรือโรคซึมเศร้าในครอบครัว
จริง
ๆ แล้วภาวะโรคซึมเศร้ายังมีอาการขาดสมาธิ หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องเดิม ๆ
ไม่อยากสังสรรค์หรือออกสังคม ร้องไห้ง่ายโดยไม่มีสาเหตุ
รวมทั้งอาจมีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุร่วมด้วย
ทว่าอาการข้างต้นเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์ที่มีความแตกต่างจากอาการโรคซึมเศร้า
(Major depressive disorder) นั่นเองนะคะ
ดังนั้นสามารถใช้ข้อสังเกตของอาการเหล่านี้แยกโรคไบโพลาร์กับโรคซึมเศร้าได้คร่าว
ๆ เลย
นอกจากนี้จุดเด่นที่ทำให้โรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์มีความแตกต่างกันก็คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเบื่อหน่ายและเศร้าแทบจะตลอดเวลา ทว่าผู้ป่วยโรคไบโพลาร์อาจมีภาวะซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ บุคลิกของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะสลับสับเปลี่ยนกันเหมือนเป็นคนละคนอีกด้วยล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- โรงพยาบาลมนารมย์
- kanchanapisek.or.th
- ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ
โรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์
เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตายจำนวนไม่น้อย ซึ่ง ณ
ตอนนี้อาจมีหลายคนยังสับสนระหว่างอาการโรคซึมเศร้ากับอาการโรคไบโพลาร์กันอยู่บ้าง
ดังนั้นเรามาไขความกระจ่างระหว่างโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ให้ชัดเจนไปเลยน่าจะดี
เพราะการดำเนินโรคและแนวทางการรักษาของทั้ง 2
โรคนี้มีความแตกต่างกันอยู่นะคะ
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) คือ โรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองมีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย
จิตใจ และความคิด รู้สึกท้อแท้ หงอยเหงา เบื่อหน่าย ไม่สนุกสนานกับชีวิต
นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นกลางดึก ฝันร้ายบ่อยครั้ง
ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการทำงานลดลง
และอาจตกอยู่ในภาวะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าจนอยากฆ่าตัวตายได้
แต่จุดเด่นของโรคซึมเศร้าอยู่ที่อารมณ์เบื่อเศร้าจะค่อนข้างชัดเจน
โรคไบโพลาร์ (Bipolar) ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์สองขั้ว คือ ภาวะแมเนีย (Mania) และภาวะซึมเศร้า กล่าวคือ ไบโพลาร์จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งสนุกสนานครื้นเครง
รื่นเริง สลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง
เราจึงเรียกไบโพลาร์ว่าโรคเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
บ้างก็เรียกโรคอารมณ์แปรปรวนนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์ แต่ภาวะซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์จะมีความรุนแรงมากกว่าโรคซึมเศร้า ทั้งยังมีแนวโน้มกระทบไปถึงความสามารถในการทำงาน การใช้ชีวิตในสังคม และความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวอีกด้วย โดยเราสามารถจำแนกความแตกต่างของภาวะซึมเศร้าระหว่างโรคซึมเศร้ากับโรคไบโพลาร์ได้ดังนี้
1. รู้สึกกลุ้มใจ ซึมเศร้าทุกวัน และเกือบจะทั้งวัน
2. รู้สึกเบื่อกับทุกอย่างรอบตัวเป็นประจำ
3. เบื่ออาหาร
4. นอนไม่หลับ
5. กระวนกระวาย หรือมีอาการซึม ๆ เนือย ๆ ไร้เรี่ยวแรง
6. รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เหนื่อยง่าย เหมือนร่างกายอ่อนแอลง
7. รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ
8. มีอาการใจลอย ไม่มีสมาธิ
9. เบื่อชีวิต มีบางช่วงที่รู้สึกอยากตาย
ถ้ามีความรู้สึกเบื่อเศร้าอย่างอาการข้างต้นติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ ร่วมกับอาการกินไม่ได้นอนไม่หลับจนผอมลง และเกิดความรู้สึกอยากตายมากขึ้น ลักษณะนี้อาจเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
อาการของภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาร์ที่ควรสังเกต
1. มักเกิดอาการซึมเศร้าครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน อีกทั้งยังมีอาการเป็นพัก ๆ เดี๋ยวเศร้าเดี๋ยวปกติวนไปมาหลายครั้ง
2. ความคิดช้าลง พฤติกรรมต่าง ๆ ก็ช้าลงเช่นกัน
3. นอนมากขึ้น
4. เจริญอาหารมากขึ้น
5. รู้สึกโดดเดี่ยว ขาดกำลังใจ เหมือนกลายเป็นคนไร้ค่า
6. มองโลกในแง่ร้ายไปหมด รู้สึกว่าโลกไม่สดใส ไม่มีอะไรน่าสนุก ไม่ร่าเริง
7. มีอาการวิตกกังวลอย่างรุนแรง
8. ตกอยู่ในสภาวะหลงผิด อารมณ์ผิดปกติจนอาจควบคุมความประพฤติของตัวเองไม่ได้
9. กลายเป็นคนมีปัญหากับสังคม รู้สึกว่าคนรอบข้างไม่เป็นมิตร ไม่สนใจตน
10. มีประวัติติดยาเสพติด หรือเคยกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
11. มีประวัติโรคไบโพลาร์หรือโรคซึมเศร้าในครอบครัว
นอกจากนี้จุดเด่นที่ทำให้โรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์มีความแตกต่างกันก็คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเบื่อหน่ายและเศร้าแทบจะตลอดเวลา ทว่าผู้ป่วยโรคไบโพลาร์อาจมีภาวะซึมเศร้าสลับกับอารมณ์ร่าเริงเกินปกติ บุคลิกของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะสลับสับเปลี่ยนกันเหมือนเป็นคนละคนอีกด้วยล่ะ
ลองมาทำความรู้จักทั้งโรคซึมเศร้า และโรคไบโพลาร์ ให้ชัดเจนกันมากขึ้น
- เช็ก ! แบบทดสอบโรคซึมเศร้า ดูว่าเราเสี่ยงป่วยหรือไม่ ?
- โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชที่ต้องรีบรักษา
- 13 วิธีเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้า ทำได้ง่ายจนคุณคาดไม่ถึง
- รู้จัก โรคไบโพลาร์ Bipolar คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
- โรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวชที่ต้องรีบรักษา
- 13 วิธีเอาชนะอารมณ์ซึมเศร้า ทำได้ง่ายจนคุณคาดไม่ถึง
- รู้จัก โรคไบโพลาร์ Bipolar คนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
- โรงพยาบาลมนารมย์
- kanchanapisek.or.th
- ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ