โรคเบาหวาน รักษาได้ด้วยวิถีธรรมชาติ ต้อนรับสุขภาพดีและลดน้ำตาลในเลือดได้ด้วยสมุนไพรสรรพคุณเลอค่า
เรื่องใหญ่ที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือระดับน้ำตาลในเลือด
ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานขึ้นตา หรือแม้แต่โรคหัวใจและหลอดเลือด
ดังนั้นนอกจากจะรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้ว ผู้ป่วยหลาย ๆ คน
ก็ยังเสาะหาวิธีควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อร่างกาย
ซึ่งอีกหนทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือการรับประทานสมุนไพร
เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องโรคเบาหวานได้แล้วก็ยังได้ของแถมเป็นสุขภาพที่ดีอีกด้วย อย่างเช่นสมุนไพรทั้ง 15 ชนิดนี้ที่สามารถรักษาอาการของโรคเบาหวาน
พร้อมพ่วงด้วยประโยชน์เพื่อสุขภาพดี ๆ อีกมากมาย
1. มะระขี้นก
มะระขี้นก สมุนไพรไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด เรียกว่าเป็นสมุนไพรที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างแท้จริง ด้วยเพราะสารซาแรนติน (Charantin) ในผลมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ต้านอาการของโรคเบาหวาน และช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน เพิ่มความทนทานต่อกลูโคสของร่างกาย และช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้มะระขี้นกยังช่วยยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) อันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ขณะที่การรับประทานมะระขี้นกเป็นประจำก็สามารถชะลอความผิดปกติของไต และความเสื่อมของเส้นประสาทในร่างกายจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมเป็นเวลานาน ไม่เพียงเท่านั้นยังชะลอการเกิดโรคต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานด้วย นอกจากนี้มะระขี้นกยังมีคุณประโยชน์ดี ๆ ต่อร่างกายอีกมากมาย และสามารถนำมารับประทานได้แบบสด ๆ เป็นผักเคียงน้ำพริกได้เลย ดีแบบนี้ไม่หามาลองก็คงจะไม่ได้แล้วล่ะ
1. มะระขี้นก
มะระขี้นก สมุนไพรไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด เรียกว่าเป็นสมุนไพรที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างแท้จริง ด้วยเพราะสารซาแรนติน (Charantin) ในผลมะระขี้นกที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ต้านอาการของโรคเบาหวาน และช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลินจากตับอ่อน เพิ่มความทนทานต่อกลูโคสของร่างกาย และช่วยเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในเลือด
นอกจากนี้มะระขี้นกยังช่วยยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase) อันเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ขณะที่การรับประทานมะระขี้นกเป็นประจำก็สามารถชะลอความผิดปกติของไต และความเสื่อมของเส้นประสาทในร่างกายจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมเป็นเวลานาน ไม่เพียงเท่านั้นยังชะลอการเกิดโรคต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานด้วย นอกจากนี้มะระขี้นกยังมีคุณประโยชน์ดี ๆ ต่อร่างกายอีกมากมาย และสามารถนำมารับประทานได้แบบสด ๆ เป็นผักเคียงน้ำพริกได้เลย ดีแบบนี้ไม่หามาลองก็คงจะไม่ได้แล้วล่ะ
2. ตดหมูตดหมา
แม้ว่าชื่ออาจจะแปลกไปสักนิด แต่สรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่มีบกพร่องเลยแม้แต่น้อย โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดของใบตดหมูตดหมาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการเพิ่มการหลั่งของอินซูลินในร่างกาย อีกทั้งสมุนไพรชนิดนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกเพียบ และลดไขมันในเลือดได้ ขณะที่สรรพคุณทางยาพื้นบ้านก็ยังมีอีกไม่น้อย ไม่ว่าจะช่วยล้างพิษ แก้ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายพยาธิ แก้อ่อนเพลีย ตกเลือด หรือแม้แต่แก้ปวดเมื่อยก็ช่วยได้เช่นกัน เป็นสมุนไพรพื้นบ้านไทยที่นำมาใช้แล้วไม่ผิดหวัง
3. อบเชย
อบเชย หรือซินนามอน (Cinnamon) เป็นสมุนไพรอีกชนิดที่มีสารสำคัญในการช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคที่เกี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย โดยแค่เพียงโรยผงอบเชยลงในอาหารที่รับประทานก็ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้วล่ะค่ะ
4. เห็ดหลินจือ
อีกหนึ่งสุดยอดสมุนไพรจีนล้ำค่าที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยา ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งเท่านั้น แต่ยังมีคุณกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย เนื่องจากในเห็ดหลินจือมีสารในกลุ่มโพลีแซกคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน อีกทั้งยังช่วยให้น้ำตาลที่อยู่ในเลือดถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
สมุนไพรรสชาติขมอีกชนิดที่อยากให้คุณได้ลอง เพราะเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่อยู่ในตำรับยาไทย ช่วยบำรุงหัวใจ ลดไข้ และช่วยให้เจริญอาหาร ที่สำคัญมีการศึกษาแล้วว่าบอระเพ็ดมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่พบผลข้างเคียงอันตรายใด ๆ อีกด้วย ทว่าอาจจะรับประทานยากเพราะขม แต่อย่าลืมนะว่าหวานเป็นลมขมเป็นยา
6. ตำลึง
ตำลึง สมุนไพรที่ถูกนำมาใช้รักษาเบาหวานนานนับพันปี โดยตำราแพทย์แผนอายุรเวทระบุไว้ว่า ตำลึงสามารถใช้ในการรักษาโรคเบาหวานได้แทบจะทุกส่วนของต้น ไม่ว่าจะเป็นราก เถา หรือใบ อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีพอ ๆ กับโสม แค่เพียงรับประทานตำลึงเพียงวันละ 50 กรัม ติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน ก็สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติได้
7. มะเขือพวง
มะเขือพวงที่คนไทยนิยมใส่ลงในอาหารไทยหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน พะแนง หรือในน้ำพริกต่าง ๆ นอกจากสรรพคุณทางยาพื้นบ้านของไทยแล้ว มะเขือพวงก็ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย โดยมีการศึกษากับหนูทดลองพบว่า น้ำมะเขือพวงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ขณะที่สรรพคุณในการช่วยย่อยอาหารก็เด่นไม่เป็นรองใคร หากคราวหน้าเจอมะเขือพวงในอาหารอย่าเขี่ยทิ้งล่ะ
8. ชาเขียว
สารโพลีฟีนอลในชาเขียวเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระอันทรงพลังที่ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย โดยสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยส่งเสริมการทำงานของอินซูลิน แถมยังเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยในการลดน้ำหนัก แต่ก็ควรจะดื่มชาเขียวแท้ ๆ นะคะ แบบที่เติมน้ำตาลเยอะ ๆ นั้นเลี่ยงให้ไกลเลยโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ไม่งั้นอาจจะได้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาแทน
9. กระเทียม
สารอัลซิลิน (allicin) ที่มีในกระเทียมนอกจากจะมีสรรพคุณลดความดันโลหิตและลดไขมันในเลือดได้แล้ว ก็ยังมีฤทธิ์ต่อต้านโรคเบาหวาน อีกทั้งมีการศึกษาพบว่าเอทานอลที่อยู่ในกระเทียมสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มการหลั่งของอินซูลินได้ ซึ่งถ้าอยากให้ได้ประโยชน์จากกระเทียมแบบเน้น ๆ อย่างนี้ก็ควรจะรับประทานกระเทียมแบบสด ๆ เพราะกระเทียมที่ผ่านความร้อนแล้วจะมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่ากระเทียมสดค่ะ
10. ว่านหางจระเข้
ไม่เพียงแต่ช่วยลดการบวม อาการอักเสบ และช่วยสมานแผลได้เท่านั้น แต่ว่านหางจระเข้ยังเป็นสมุนไพรที่เหมาะจะใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย เพราะมีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าน้ำของว่านหางจระเข้สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้ก็ยังช่วยลดระดับไขมันในเลือด และสรรพคุณพื้นฐานของว่านหางจระเข้ที่ช่วยลดอาการบวมและรักษาแผลก็ยังสามารถใช้กับผู้ป่วยเบาหวานได้ด้วย เพราะผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดบาดแผลมักจะมีปัญหาแผลหายช้าทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
11. ขมิ้น
สมุนไพรที่ให้สีเหลืองสดใสนี้ นอกจากจะช่วยลดอาการอักเสบได้แล้วก็ยังสามารถชะลอการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยพบว่าคนที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานหากรับประทานอาหารที่มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในขมิ้นติดต่อกันเป็นประจำ จะช่วยให้ความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นเพราะสารเคอร์คูมินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลัง จึงช่วยป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายได้นั่นเอง
12. ขิง
ขิงมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งศึกษากับหนูทดลองพบว่า หนูที่ได้กินสารสกัดจากขิงวันละ 250 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ผลที่ได้รับคือ ระดับกลูโคสในเลือดของหนูลดลง รวมทั้งยังช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ทั้งนี้ก็ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณอินซูลินด้วย
13. กระเจี๊ยบเขียว
พืชพื้นเมืองของเอธิโอเปียที่เป็นหนึ่งในผักเคียงในจานน้ำพริกของคนไทยอย่างกระเจี๊ยบเขียว เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณค่าทางโภชนาการสูงลิบ อีกทั้งยังมีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีไฟเบอร์สูง โดยเฉพาะไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้สามารถช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ยังหารับประทานไม่ยากเลยล่ะค่ะ
14. โสม
ด้วยสรรพคุณอันน่าอัศจรรย์อย่างการเพิ่มภูมิคุ้มกัน และต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้โสมเป็นสมุนไพรที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นสมุนไพรล้ำค่า โดยมีการค้นพบว่าการรับประทานโสมสามารถช่วยชะลอการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มการทำงานของเซลล์ ช่วยให้เซลล์สามารถดึงเอากลูโคสไปใช้งานได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 15-20% เลยทีเดียว
15. ผักเชียงดา
สมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวานแบบพื้นบ้านมานานนับพันปี นอกจากคุณประโยชน์ในการช่วยเสริมกำลังแล้ว ผักเชียงดายังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยเจ้าผักชนิดนี้จะนำเอาน้ำตาลในร่างกายไปเผาผลาญมากขึ้น อีกทั้งยังเข้าไปฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อนที่เสียหายจากการถูกน้ำตาลทำลาย ซึ่งเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 ทั้งนี้ยังช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน แถมยังเพิ่มการหลั่งอินซูลินได้อีกด้วยล่ะ ดีแบบนี้ขอบอกว่าผักเชียงดานั้นมีให้รับประทานง่าย ๆ แบบแคปซูลกันแล้ว ลองหามารับประทานกันได้ค่ะ
แม้ว่าการใช้สมุนไพรจะช่วยรักษาอาการเบาหวานได้ แต่ก็อย่าลืมว่าสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย หากคิดจะใช้สมุนไพรควบคู่กับการรักษาละก็ ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรก่อนจะดีที่สุดค่ะ
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คลังข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
diabetes.co.uk
healthunlocked.com
rd.com
healthline.com