อุปาทานหมู่ คืออะไร รู้ไหมว่าเบื้องหลังอาการที่เหมือนจะลี้ลับ จริง ๆ แล้วมีคำอธิบายตามหลักจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ซ่อนอยู่
อุปาทานหมู่ คืออะไร
อุปาทานหมู่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Mass hysteria อุปาทานหมู่จัดเป็นโรคติดต่อทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยส่วนมากจะเกิดในกลุ่มคนที่มีความคิด ความเชื่อ หรือมีลักษณะแวดล้อมบางอย่างร่วมกัน มีการเผชิญปัญหา ความกดดันเดียวกัน จึงก่อให้เกิดอาการทางกายในลักษณะคล้ายกันขึ้นมา โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยทางกายมาเกี่ยวข้อง
อุปาทานหมู่ เกิดกับใครได้บ้าง
ส่วนใหญ่แล้วอุปาทานหมู่มักจะเกิดกับเด็ก วัยรุ่น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักจะเกิดอาการอุปาทานหมู่กับคนที่มีสภาพจิตใจไม่ค่อยมั่นคงได้ง่ายกว่าคนที่มีสภาพจิตใจหนักแน่น
อุปาทานหมู่ เกิดจากอะไร
ทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า การเกิดอุปาทานหมู่ เริ่มจากบุคคลหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด แล้วแสดงอาการออกมา ซึ่งจะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ แสดงอาการตาม ก่อให้เกิดอุปาทานหมู่ขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของการเกิดอุปาทาน ก็เป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุมาจากความกดดัน ความตื่นเต้น ความรู้สึกกลัวบางอย่าง จนทำให้เกิดอาการผิดปกติทางกายภาพ เช่น หายใจเร็วและแรง ร่างกายชักเกร็ง ตัวสั่น ซึ่งอาจเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ ที่มีความกดดัน ความรู้สึกกลัว หรือตื่นเต้นในสถานการณ์เดียวกัน มีอาการแบบเดียวกันด้วยก็ได้
อุปาทานหมู่ อาการเป็นยังไง
เมื่อเกิดอุปาทานหมู่ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง เกร็งท้อง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือหายใจหอบเร็ว ชักเกร็ง เป็นลม หมดสติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว และมักจะตรวจหาสาเหตุของอาการทางกายไม่พบ
ทว่าจิตแพทย์ก็ได้อธิบายว่า เมื่อคนเรารู้สึกตื่นเต้นหรือกลัวในบางสิ่ง ร่างกายจะเกิดภาวะไฮเปอร์ คือหายใจหอบเร็วผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเยอะเกินไป ซึ่งการที่ร่างกายมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าปกติ ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อมีอาการชักเกร็ง มีอาการชา มึนงง และอาจหมดสติได้ในบางคน
อุปาทานหมู่ รักษาได้ไหม
แม้แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของอาการอุปาทานหมู่ไม่ได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วเรามีวิธีรักษาอาการอุปาทานหมู่ที่ทำได้ไม่ยาก ดังนี้เลยค่ะ
1. แยกผู้ป่วยออกจากกัน
พยายามแยกผู้ป่วยคนแรกที่เกิดอาการออกมาจากกลุ่มเพื่อทำการรักษาด้วยการตรวจวิเคราะห์ร่างกายเบื้องต้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ได้พักผ่อนสักพัก อาการก็จะกลับเป็นปกติได้ และหากเป็นไปได้ให้พยายามแยกผู้ป่วยที่มีอาการทั้งหมดออกจากกัน จัดให้ไปอยู่ในห้องที่เงียบสงบเพื่อระงับสติอารมณ์ด้วย
2. รักษาตามอาการที่เป็น
หากสังเกตเห็นผู้ป่วยอุปาทานหมู่มีอาการหายใจแรงผิดปกติ ให้รักษาด้วยการใช้ถุงกระดาษครอบหน้า เพื่อให้เขาหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป ไม่นานอาการหายใจหอบแรงก็จะบรรเทาลงได้เอง
3. รักษาด้วยจิตบำบัด
ทั้งแบบบุคคลและแบบกลุ่ม เมื่ออาการทางกายหายแล้ว แต่สภาพจิตใจยังหวาดกลัว หรือฝังใจเชื่อในเรื่องเดิม ๆ อยู่ ก็อาจกลับมาเป็นอุปาทานหมู่ได้อีกครั้ง ดังนั้นควรมีหน่วยงานด้านจิตวิทยาเข้าไปบำบัด พูดคุยให้ผู้ป่วยเข้าใจสถานการณ์ และอาการที่เป็นอยู่ หรืออาจต้องอาศัยผู้นำชุมชน ผู้นำโรงเรียน เข้ามาแก้ไขความเชื่อนั้น ๆ หรือจัดทำพิธีขอขมาเพื่อลบล้างความผิด เพื่อให้ผู้ป่วยอุปาทานหมู่เกิดความรู้สึกสบายใจก็ได้
อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่าอาการอุปาทานหมู่มีที่มาที่สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งเราก็เชื่อว่าหากทุกคนมีความเข้าใจในอาการนี้ ก็จะมีสติ และลดโอกาสที่จะเกิดอุปาทานหมู่ในครั้งต่อ ๆ ไปได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
psychologytoday
everydayhealth
ได้เห็นจากข่าวกันก็บ่อยที่กลุ่มคน
กลุ่มเด็กนักเรียน ทำพิธีอะไรบางอย่าง แล้วจู่ ๆ ก็เกิดอาการเหมือนผีเข้า
กรีดร้อง ชักเกร็งกันยกคณะ
ซึ่งลักษณะแบบนี้เราจะเรียกว่าอุปาทานหมู่ใช่ไหมคะ
แต่รู้หรือเปล่าว่าอุปาทานหมู่เกิดขึ้นได้อย่างไร อุปาทานหมู่จะเป็นเรื่องลี้ลับไหม มาหาคำอธิบายตามหลักจิตวิทยากัน
อุปาทานหมู่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Mass hysteria อุปาทานหมู่จัดเป็นโรคติดต่อทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดกับบุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยส่วนมากจะเกิดในกลุ่มคนที่มีความคิด ความเชื่อ หรือมีลักษณะแวดล้อมบางอย่างร่วมกัน มีการเผชิญปัญหา ความกดดันเดียวกัน จึงก่อให้เกิดอาการทางกายในลักษณะคล้ายกันขึ้นมา โดยไม่มีอาการเจ็บป่วยทางกายมาเกี่ยวข้อง
อุปาทานหมู่ เกิดกับใครได้บ้าง
ส่วนใหญ่แล้วอุปาทานหมู่มักจะเกิดกับเด็ก วัยรุ่น เพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักจะเกิดอาการอุปาทานหมู่กับคนที่มีสภาพจิตใจไม่ค่อยมั่นคงได้ง่ายกว่าคนที่มีสภาพจิตใจหนักแน่น
อุปาทานหมู่ เกิดจากอะไร
ทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า การเกิดอุปาทานหมู่ เริ่มจากบุคคลหนึ่งเจ็บป่วยหรือมีภาวะเครียด แล้วแสดงอาการออกมา ซึ่งจะเป็นตัวเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ แสดงอาการตาม ก่อให้เกิดอุปาทานหมู่ขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นของการเกิดอุปาทาน ก็เป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุมาจากความกดดัน ความตื่นเต้น ความรู้สึกกลัวบางอย่าง จนทำให้เกิดอาการผิดปกติทางกายภาพ เช่น หายใจเร็วและแรง ร่างกายชักเกร็ง ตัวสั่น ซึ่งอาจเหนี่ยวนำให้คนอื่น ๆ ที่มีความกดดัน ความรู้สึกกลัว หรือตื่นเต้นในสถานการณ์เดียวกัน มีอาการแบบเดียวกันด้วยก็ได้
อุปาทานหมู่ อาการเป็นยังไง
เมื่อเกิดอุปาทานหมู่ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง เกร็งท้อง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือหายใจหอบเร็ว ชักเกร็ง เป็นลม หมดสติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงแค่ชั่วคราว และมักจะตรวจหาสาเหตุของอาการทางกายไม่พบ
ทว่าจิตแพทย์ก็ได้อธิบายว่า เมื่อคนเรารู้สึกตื่นเต้นหรือกลัวในบางสิ่ง ร่างกายจะเกิดภาวะไฮเปอร์ คือหายใจหอบเร็วผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเยอะเกินไป ซึ่งการที่ร่างกายมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าปกติ ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อมีอาการชักเกร็ง มีอาการชา มึนงง และอาจหมดสติได้ในบางคน
อุปาทานหมู่ รักษาได้ไหม
แม้แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของอาการอุปาทานหมู่ไม่ได้ แต่เอาเข้าจริงแล้วเรามีวิธีรักษาอาการอุปาทานหมู่ที่ทำได้ไม่ยาก ดังนี้เลยค่ะ
1. แยกผู้ป่วยออกจากกัน
พยายามแยกผู้ป่วยคนแรกที่เกิดอาการออกมาจากกลุ่มเพื่อทำการรักษาด้วยการตรวจวิเคราะห์ร่างกายเบื้องต้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย ได้พักผ่อนสักพัก อาการก็จะกลับเป็นปกติได้ และหากเป็นไปได้ให้พยายามแยกผู้ป่วยที่มีอาการทั้งหมดออกจากกัน จัดให้ไปอยู่ในห้องที่เงียบสงบเพื่อระงับสติอารมณ์ด้วย
2. รักษาตามอาการที่เป็น
หากสังเกตเห็นผู้ป่วยอุปาทานหมู่มีอาการหายใจแรงผิดปกติ ให้รักษาด้วยการใช้ถุงกระดาษครอบหน้า เพื่อให้เขาหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป ไม่นานอาการหายใจหอบแรงก็จะบรรเทาลงได้เอง
3. รักษาด้วยจิตบำบัด
ทั้งแบบบุคคลและแบบกลุ่ม เมื่ออาการทางกายหายแล้ว แต่สภาพจิตใจยังหวาดกลัว หรือฝังใจเชื่อในเรื่องเดิม ๆ อยู่ ก็อาจกลับมาเป็นอุปาทานหมู่ได้อีกครั้ง ดังนั้นควรมีหน่วยงานด้านจิตวิทยาเข้าไปบำบัด พูดคุยให้ผู้ป่วยเข้าใจสถานการณ์ และอาการที่เป็นอยู่ หรืออาจต้องอาศัยผู้นำชุมชน ผู้นำโรงเรียน เข้ามาแก้ไขความเชื่อนั้น ๆ หรือจัดทำพิธีขอขมาเพื่อลบล้างความผิด เพื่อให้ผู้ป่วยอุปาทานหมู่เกิดความรู้สึกสบายใจก็ได้
อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่าอาการอุปาทานหมู่มีที่มาที่สามารถอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งเราก็เชื่อว่าหากทุกคนมีความเข้าใจในอาการนี้ ก็จะมีสติ และลดโอกาสที่จะเกิดอุปาทานหมู่ในครั้งต่อ ๆ ไปได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
กรมสุขภาพจิต
ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย
psychologytoday
everydayhealth