โรคจิตเภท คืออะไร
โรคจิตเภท เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคจิตเภท เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและด้านจิตใจ ดังนี้
-
ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และโครงสร้างของสมองบางส่วนที่ผิดไปจากปกติเล็กน้อย
-
ความเครียดในชีวิตประจำวัน ความกดดัน การจู้จี้ บังคับ หรือแม้แต่การปล่อยปละละเลย ก็ส่งผลต่ออารมณ์และทำให้โรคจิตเภทกำเริบได้
-
กรรมพันธุ์ โดยพบว่ายิ่งมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือดมากเท่าไร ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น เช่น พี่และน้องแท้ ๆ จะเสี่ยงเป็นจิตเภท 9% หรือหากมีประวัติพ่อหรือแม่ป่วย ลูกจะเสี่ยงเป็นโรคนี้ 13%
โรคจิตเภท อาการเป็นอย่างไร
1. กลุ่มอาการด้านบวก
2. กลุ่มอาการด้านลบ
จะเป็นภาวะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ลดน้อยลงจากสิ่งที่คนทั่วไปมี เช่น พูดน้อย พูดไม่รู้เรื่อง ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์ หน้าตาเฉยเมย ไร้อารมณ์ ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว ซึม ไม่ชอบแสดงออก ขาดการดูแลตัวเอง ไม่นอนในเวลากลางคืน
อย่างไรก็ตาม อาการจิตเภทอาจจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ เผยมาทีละอาการ เช่น เริ่มมีอาการสับสน มีความคิดแปลก ๆ ไม่อยู่ในความเป็นจริง ไม่สุงสิงกับใคร เริ่มหวาดระแวง มีปัญหาการนอนหลับ และอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนเริ่มมีปัญหาด้านการเรียน การทำงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ หรือบางคนอาจมีอาการอย่างเฉียบพลันทันทีก็ได้เช่นกัน
โรคจิตเภท รักษาหายไหม
หากมีอาการป่วยแล้วไม่ได้รักษาจะไม่สามารถหายเองได้ จนอาจนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว อาละวาด ทำร้ายคนอื่น ดังนั้นญาติควรพาผู้ป่วยไปพบจิตแพทย์ ซึ่งจิตแพทย์จะมีวิธีการรักษาหลากหลายแนวทาง ได้แก่
-
การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง จะได้ควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ แต่หากใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาใช้การช็อกไฟฟ้า
-
การฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น ฝึกการเข้าสังคม และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
-
การทำจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง รับรู้และเข้าใจปัญหาของตนเองมากขึ้น
-
ครอบครัวบำบัด เพื่อแนะแนวทางให้ญาติดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
-
การบำบัดแบบกลุ่ม โดยจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย ญาติ เพื่อนของผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทคือ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมให้โรคสงบและไม่กำเริบจนกระทบกับการใช้ชีวิต เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่จะต้องรักษาแบบประคับประคองไปเรื่อย ๆ ไม่หายขาด
ญาติควรดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างไร
กำลังใจสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเวชให้อาการดีขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติ ๆ ดังนี้
-
หมั่นเอาใจใส่ คอยดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
-
ทำความเข้าใจผู้ป่วย โดยไม่ควรใช้คำพูดจารุนแรงหรือใช้อารมณ์กับผู้ป่วย
-
กระตุ้น แต่ไม่บังคับ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่น ให้ดูแลรักษาสุขอนามัยของตัวเอง ช่วยทำงานบ้านอย่างง่าย ๆ ไม่บังคับ ไม่ตำหนิติเตียนโดยไม่จำเป็น หรือปล่อยปละละเลยผู้ป่วยจนเกินไป
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคจิตเวช
- โรคทางจิตเวช หรืออาการป่วยทางจิต มีอะไรบ้าง ทำไมคนยุคนี้ป่วยกันเยอะ ?
- เช็ก 11 สัญญาณเตือนป่วยจิตเวช มีอาการเหล่านี้พบแพทย์เถอะ
- 8 โรควิตกกังวลที่คนป่วยกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน
- โรคซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้าที่ต้องรีบรักษา
- โรคใคร่เด็ก Pedophilia อาการจิตป่วยอันตราย สังเกตให้ไวก่อนลูกหลานตกเป็นเหยื่อ
- เช็กสัญญาณโรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) หัวร้อนง่าย อะไรก็ไม่ทันใจ เราป่วยอยู่ไหมนะ
- ปัญหาสุขภาพจิต