โรคที่มียุงเป็นพาหะ นอกจากโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา หรือโรคเท้าช้างแล้ว ยังมียุงอีกหลายชนิดที่ก่อโรคได้ด้วยนะ
แม้ยุงจะเป็นสัตว์ตัวกะจิ๊ดเดียว แต่พิษสงไม่ธรรมดา และยุงบางชนิดยังอันตรายต่อชีวิตเรามาก โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากยุงลาย อย่างโรคไข้เลือดออก ทุกคนรู้กันดีว่าโรคนี้มีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่นอกจากยุงลายแล้ว ยุงอีกหลายชนิดก็สามารถก่อโรคในคนได้เหมือนกัน เราเลยอยากให้ทุกคนมารู้จัก
โรคที่มียุงเป็นพาหะ ว่ามีโรคอะไรบ้าง...
ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดประมาณ 2-6 มิลลิเมตร ลำตัวสีดำสลับขาว ขาเป็นปล้องสีดำสลับกับสีขาวอย่างเห็นได้ชัด พฤติกรรมของยุงลายจะมีความว่องไวและชอบอยู่ใกล้ชิดกับคนมากกว่ายุงชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้เวลาที่ยุงลายออกหากินมักจะเป็นช่วงกลางวัน ส่วนโรคที่เกิดจากยุงลาย มีดังนี้
* ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกมีพาหะเป็นยุงลาย ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี และเมื่อยุงลายที่มีเชื้อมากัดเรา เราก็อาจป่วยโรคไข้เลือดออกได้ ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตพอประมาณ ยิ่งถ้าเราไม่รู้เท่าทันอาการไข้เลือดออก และถึงมือคุณหมอช้าเกินไป
ดังนั้น หากใครมีไข้สูงลอย 39-40 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ มีอาการเลือดออก มีจุดเลือดออกตามตัว หรือกดเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาด้วย ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจไม่ได้ป่วยไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ แต่มีแนวโน้มเป็นโรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต
* โรคชิคุนกุนยา
อีกหนึ่งโรคติดต่อที่ระบาดมากพอ ๆ กับโรคไข้เลือดออก โดยโรคชิคุนกุนยาเรียกได้อีกชื่อว่า โรคปวดข้อยุงลาย บอกได้ชัดเจนว่า โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เกิดจากเชื้อไวรัส RNA และหากป่วยขึ้นมาจะก่อให้เกิดอาการอักเสบของข้อ มีอาการปวดข้อมาก ร่วมกับไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
ชิคุนกุนยา โรคติดต่อจากยุงลาย อาการคล้ายไข้เลือดออก
* ไวรัสซิกา
ไวรัสซิกาเกิดจากเชื้อไวรัสซิกา โดยมียุงลายเป็นพาหะ อาการไวรัสซิกาอาจไม่รุนแรงในคนปกติ แต่มีอันตรายมากกับหญิงตั้งครรภ์ เพราะเชื้อไวรัสซิกาอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ โดยเป็นเหตุให้ทารกมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ
ไวรัสซิกา โรคติดต่อไร้วัคซีนป้องกัน ภัยเงียบจากยุงลาย
ลักษณะของยุงก้นปล่องจะมีลายสีอ่อนและสีเข้มบนปีก อีกลักษณะเด่นของยุงก้นปล่องคือจะยกก้นทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นผิว ในขณะที่ดูดเลือด และมักจะออกหากินตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ โดยเจ้ายุงก้นปล่องก็เป็นพาหะนำโรค ดังนี้
* มาลาเรีย
ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า มีพาหะเป็นยุงก้นปล่อง โดยยุงชนิดนี้จะพบได้มากบริเวณป่า-เขา พื้นที่ตะเข็บชายแดน เพราะมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่แถว ๆ เขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยอาการไข้มาลาเรียจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น สลับร้อน เหงื่อออกมาก จากนั้นอาการจะดีขึ้น ก่อนจะกลับมาป่วยใหม่อีกครั้ง ซึ่งถ้าไปเที่ยวป่า เขา มาแล้วมีอาการดังข้างต้น ควรรีบพบแพทย์โดยด่วนนะคะ
ไข้มาลาเรีย โรคติดต่ออันตราย ป่วยได้เพราะยุง !
ยุงรำคาญเป็นยุงสีน้ำตาลอ่อน เพาะพันธุ์มากในแหล่งน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คู คลอง และบ่อต่าง ๆ แต่จะพบมากในบริเวณท้องนา เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์หลักของยุงรำคาญ ยุงชนิดนี้จึงพบได้มากในแถวชนบท และไม่เพียงแต่ทำให้รำคาญตามชื่อเท่านั้น ยุงรำคาญยังเป็นพาหะของโรคด้วย
* โรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้สมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอี (JE) ที่สมอง โดยผู้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการป่วยแสดงออกมาก็ได้ เพราะสถิติโรคนี้ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือ ผู้ติดเชื้อ 300 คน อาจป่วยโรคไข้สมองอักเสบ 1 คน เท่านั้น แต่ถ้าหากป่วยไข้สมองอักเสบ จะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย โดยระยะเวลาในการดำเนินโรคจะอยู่ที่ 1-7 วัน หลังจากนั้นจะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง เลอะเลือน ซึม เพ้อคลั่ง ชัก หมดสติ มือสั่น หรืออัมพาต ทว่าหากมีอาการรุนแรงก็อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะยังมีความผิดปกติทางสมองเหลืออยู่ เช่น เกร็ง อัมพาต ชัก ปัญญาอ่อน หงุดหงิดง่าย หรือพูดไม่ชัด เป็นต้น
จัดเป็นยุงชนิดที่มีความสวยงามอยู่ในตัว โดยยุงลายเสือจะมีลายสีเหลืองขาวสลับดำ คล้ายลายของเสือโคร่ง หรือยุงลายเสือบางชนิดจะมีลายออกสีเขียวคล้ายตุ๊กแก ทั้งนี้ยุงลายเสือชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ และแหล่งที่มีพืชน้ำพวกจอกและผักตบชวาอยู่ อย่างไรก็ตาม ยุงลายเสือ หรือยุงเสือ เป็นพาหะของโรค ดังนี้
* โรคเท้าช้าง
ภาพจาก emedicine.medscape.com
ยุงที่เป็นพาหะของโรคเท้าช้างก็จะมีทั้งยุงลายเสือและยุงรำคาญ โดยสาเหตุของโรคเท้าช้างเกิดจากพยาธิตัวกลมที่หากยุงที่มีพยาธิเหล่านี้มากัดเรา เชื้อของโรคเท้าช้างจะย้ายจากตัวยุงมาที่เรา และชอนไชเข้าสู่ผิวหนังบริเวณที่ถูกยุงกัด
ทั้งนี้อาการของโรคเท้าช้างจะมีไข้สูงเฉียบพลัน หลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยมักจะพบการอักเสบบริเวณ ขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อน้ำเชื้ออสุจิ หรือเต้านม โดยจะมีอาการบวมแดงจากการอักเสบ มีน้ำเหลืองคั่ง และมีก้อนขรุขระอยู่ด้านในเนื้อ โดยเฉพาะอาการบวมโตบริเวณขา จึงเรียกโรคนี้ว่า เท้าช้าง
โรคเท้าช้าง ระวังให้ดี โรคติดต่อนี้มียุงเป็นพาหะ
ได้รู้กันไปแล้วว่ายุงเป็นพาหะของโรคหลายโรค และยุงหลายชนิดก็ก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน ดังนั้นคงจะดีที่สุดหากเราเรียนรู้ที่จะกำจัดลูกน้ำยุงลาย และป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกยุงกัด โดยวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายกับวิธีป้องกันยุงกัดก็มี ดังนี้
วิธีกำจัดลูกน้ำ
ใครเสี่ยงโดนยุงกัดบ้าง
วิธีป้องกันยุงกัด