จะว่าเป็นคนซุ่มซ่ามเดินชนนั่นชนนี่ก็ไม่ใช่ แต่บนร่างกายปรากฏรอยช้ำหลายแห่งจนน่าตกใจ เอ๊ะ...ตกลงเราป่วยโรคอะไรอยู่หรือเปล่า
รอยช้ำไม่ทราบสาเหตุที่ปรากฏบนผิวหนังของเรา เป็นรอยช้ำตรงแขนบ้าง รอยช้ำตรงขาเป็นจ้ำ ๆ บ้าง หลายคนก็นึกเอะใจว่ารอยช้ำตามตัวเกิดจากอะไรกันแน่ เพราะบางทีรอยช้ำก็เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ไปเดินชนหรือกระแทกกับอะไรเลย หรือรอยช้ำตามแขนตามขาที่เกิดขึ้นจะเป็นสัญญาณบอกโรคที่เป็นอยู่ มาดูกันว่ารอยช้ำบนร่างกายเป็นอาการของโรคอะไรบ้าง
1. เดินชนสิ่งของไม่รู้ตัว
หากรอยช้ำเป็นรอยออกเขียว ๆ และเป็นรอยช้ำเพียง 1-2 จุด บนร่างกาย กดลงไปแล้วเจ็บเบา ๆ อาจเป็นรอยฟกช้ำธรรมดาที่เราเดินไปชนสิ่งของหรือเดินไปกระแทกกับของแข็งโดยไม่รู้ตัว ซึ่งรอยช้ำเหล่านี้เกิดจากการที่เส้นเลือดฝอยแตก แต่ใน 4-7 วันรอยช้ำก็จะหายไปได้เอง
2. ขาดสารอาหาร
โดยเฉพาะวิตามิน C และวิตามิน K ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญสำหรับหลอดเลือดและเส้นเลือด ดังนั้นหากขาดวิตามินทั้งสองชนิดนี้ไป หรือร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นเหตุให้เส้นเลือดเปราะบางกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดรอยช้ำได้ง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้รอยช้ำที่เกิดขึ้นจะเป็นรอยช้ำที่กดไม่เจ็บ ซึ่งหากมีรอยช้ำหลายจุดบนร่างกาย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการต่อไป
3. อายุมากขึ้น
คนชราที่ร่างกายเสื่อมถอยไปตามวัย ผิวหนังก็จะบางลงจนสูญเสียไขมันและคอลลาเจนที่ช่วยปกป้องเส้นเลือด และนี่ก็เป็นเหตุให้เส้นเลือดเปราะแตกได้ง่ายขึ้น ทำให้เมื่อเลือดออกที่ผิวหนังแล้วก็จะเห็นเป็นรอยคล้ำได้ชัดเจน
4. ออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหักโหมเกินไปก็อาจทำให้เกิดรอยฟกช้ำขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่ร่างกายก็ไม่ได้ไปกระแทกกับอะไรเลยด้วยซ้ำ เพราะการใช้กล้ามเนื้อออกกำลังกายหนัก ๆ อาจทำให้เส้นเลือดฝอยฉีกขาดได้ง่าย กลายเป็นรอยฟกช้ำดำเขียวขึ้นเป็นจ้ำ ๆ ตามแขน ขา เป็นต้น ซึ่งถ้าพักการออกกำลังกายไประยะเวลาหนึ่ง อาการช้ำก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง
5. ใช้ยาสเตียรอยด์
คนที่ต้องใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์รักษาอาการป่วย หากใช้ยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานผลข้างเคียงจากยาอาจจะทำให้เส้นเลือดฝอยเปราะบางและแตกง่าย จึงเกิดรอยฟกช้ำตามร่างกายได้บ่อย ๆ
หากมีรอยช้ำเป็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ ในผิวหนัง กดแล้วไม่เจ็บ กดแล้วรอยไม่จางหาย ไม่มีอาการคัน และจำนวนรอยช้ำมีอยู่หลายจุดด้วยกัน อาจต้องสงสัยว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดอีกที
6. เกล็ดเลือดต่ำ
หากมีรอยช้ำเป็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ ในผิวหนัง กดแล้วไม่เจ็บ กดแล้วรอยไม่จางหาย ไม่มีอาการคัน และจำนวนรอยช้ำมีอยู่หลายจุดด้วยกัน อาจต้องสงสัยว่ามีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดอีกที
7. เลือดออกใต้ผิวหนัง (Ecchymosis)
ภาวะนี้เกิดจากมีเลือดออกใต้ผิวหนัง จากความผิดปกติของกลไกการห้ามเลือดของร่างกาย ลักษณะเป็นรอยจ้ำ กดแล้วไม่หาย สามารถคลำได้ ก้อนแข็งเป็นไต และอาจมีอาการกดเจ็บได้ ซึ่งถ้ามีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ ซีด ข้อบวม ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เลือดออกง่าย หยุดยาก ตาพร่ามัว ปัสสาวะ-อุจจาระมีเลือดปน หรือมีก้อนที่คอ รักแร้ ขาหนีบ (ตามต่อมน้ำเหลือง) ก็ควรรีบไปพบแพทย์ให้ไว
8. โรคไข้เลือดออก
หากกล่าวถึงจุดเลือดออก เราก็พอจะนึกถึงโรคอีกโรคหนึ่งได้ นั่นก็คือโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งถ้ามีทั้งจุดเลือดออกตามร่างกายและมีไข้สูงร่วมด้วย ก็ควรรีบไปพบแพทย์ด่วนเลยนะคะ
- ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
รอยช้ำจ้ำเขียวที่ไม่ทราบสาเหตุอาจเป็นสัญญาณของโรคไขกระดูกบกพร่อง อันเป็นเหตุให้เซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จนแสดงอาการทางร่างกายเป็นรอยช้ำตามตัวหลาย ๆ จุด ลองมาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
- ทำความรู้จักโรคไขกระดูกบกพร่อง-ไขกระดูกฝ่อ ต้นตอจุดช้ำตามตัว
- ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
9. โรคไขกระดูกบกพร่อง
รอยช้ำจ้ำเขียวที่ไม่ทราบสาเหตุอาจเป็นสัญญาณของโรคไขกระดูกบกพร่อง อันเป็นเหตุให้เซลล์เม็ดเลือดทำงานผิดปกติ จนแสดงอาการทางร่างกายเป็นรอยช้ำตามตัวหลาย ๆ จุด ลองมาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ
- ทำความรู้จักโรคไขกระดูกบกพร่อง-ไขกระดูกฝ่อ ต้นตอจุดช้ำตามตัว
10. โรคฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลียเป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีโปรตีนที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวน้อยผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หยุดยาก จึงอาจจะพบรอยช้ำเลือดตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งจากสถิติแล้วจะพบโรคฮีโมฟีเลียในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ทั้งนี้ฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ชนิดหนึ่งด้วยนะ
- โรคฮีโมฟีเลีย เลือดออกง่าย ไม่ระวังอาจอันตรายถึงชีวิต !
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นภาวะที่ร่างกายมีแต่ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว และตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวที่ไม่สร้างเป็นเม็ดเลือดแดงเหล่านี้ก็จะเบียดไขกระดูก ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดได้ตามปกติ ทำให้มีภาวะซีด เลือดออกง่าย ติดเชื้อง่าย ซึ่งถ้าอยู่ ๆ มีจ้ำเลือดขึ้นตามร่างกายและรอยช้ำเลือดนั้นไม่ยอมหาย ก็ต้องลองไปปรึกษาแพทย์แล้วล่ะค่ะ
- รู้จักมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย
11. มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นภาวะที่ร่างกายมีแต่ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว และตัวอ่อนเม็ดเลือดขาวที่ไม่สร้างเป็นเม็ดเลือดแดงเหล่านี้ก็จะเบียดไขกระดูก ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดได้ตามปกติ ทำให้มีภาวะซีด เลือดออกง่าย ติดเชื้อง่าย ซึ่งถ้าอยู่ ๆ มีจ้ำเลือดขึ้นตามร่างกายและรอยช้ำเลือดนั้นไม่ยอมหาย ก็ต้องลองไปปรึกษาแพทย์แล้วล่ะค่ะ
12. ลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำ (VTE)
การอุดตันของลิ่มเลือดในเส้นเลือดของร่างกายอาจเป็นสาเหตุของรอยช้ำ จ้ำเลือดที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมาในร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งถ้ามีรอยช้ำนานเกิน 1 สัปดาห์ พร้อมมีอาการบวม โดยเฉพาะที่ขา และกดเจ็บ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนจะดีกว่า
ร่องรอยที่แสดงความผิดปกติของร่างกาย หากเกิดขึ้นเมื่อไรก็อย่านิ่งนอนใจหรือปล่อยผ่านเด็ดขาดนะคะ เพราะรอยช้ำเล็ก ๆ เพียงไม่กี่จุด อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว แต่หากรอยช้ำที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความซุ่มซ่ามของเราเอง เคสนี้เราก็มีวิธีแก้ฟกช้ำมาฝาก
- 7 วิธีรักษารอยช้ำให้หายไว ฟกช้ำดำเขียว แก้ยังไงดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย
prevention
ร่องรอยที่แสดงความผิดปกติของร่างกาย หากเกิดขึ้นเมื่อไรก็อย่านิ่งนอนใจหรือปล่อยผ่านเด็ดขาดนะคะ เพราะรอยช้ำเล็ก ๆ เพียงไม่กี่จุด อาจเป็นสัญญาณของโรคที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว แต่หากรอยช้ำที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความซุ่มซ่ามของเราเอง เคสนี้เราก็มีวิธีแก้ฟกช้ำมาฝาก
- 7 วิธีรักษารอยช้ำให้หายไว ฟกช้ำดำเขียว แก้ยังไงดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เฟซบุ๊ก สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย
prevention