นี่เราแค่อวบหรืออ้วนแล้ว บางทีแค่ชั่งน้ำหนักอาจบอกได้ไม่ชัดเจน งั้นลองมาเช็กตามหลักเกณฑ์ของศิลปินญี่ปุ่น ที่แยกความต่างให้เห็นทีละส่วนกันไปเลย
น้ำหนักตัวมากก็ไม่ได้แปลว่าอ้วนเสมอไป เพราะรูปร่าง มวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูกของคนเราไม่เท่ากัน แต่ถ้าอยากเช็กรูปร่างตัวเองคร่าว ๆ ว่าเราแค่อวบหรืออ้วนกันแน่ ศิลปินญี่ปุ่นคนหนึ่งเขาก็วาดรูปและชี้ข้อแตกต่างของสาวอวบกับสาวอ้วนเอาไว้ ลองไปเช็กดูไหมว่ารูปร่างแบบนี้ อ้วนหรือแค่อวบเท่านั้น
ภาพจาก ทวิตเตอร์ たると
ภาพนี้เป็นฝีมือการวาดของเจ้าของทวิตเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า たると (ทารูโตะ) ที่แสดงความแตกต่างระหว่างรูปร่างของสาวอวบกับสาวอ้วนแบบไล่ทีละส่วนของร่างกาย และกลายเป็นไวรัลที่สาว ๆ ใช้เป็นเกณฑ์วัดรูปร่างกันแพร่หลาย งั้นเราอย่ารอช้าค่ะ มาดูกันว่ารูปร่างสาวอวบกับสาวอ้วน มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
สาวอวบ
- ใบหน้าได้รูป เห็นโครงหน้าชัดเจน
- สามารถมองเห็นโครงไหปลาร้า
- มีน้ำมีนวล ตัวนุ่มนิ่ม
- ก้นกระชับ เด้ง ไม่หย่อนคล้อย
- มีส่วนเว้าส่วนโค้งน่ามอง
- ขากลมกลึง ไม่มีรอยแตกของเซลลูไลท์
- เท้าสมส่วน ไม่อ้วน ไม่ผอมจนเกินไป
สาวอ้วน
- ใบหน้ากลม
- มองไม่เห็นไหปลาร้า
- มีไขมันใต้รักแร้ จนเห็นก้อนเนื้อที่หลังเป็นชั้น ๆ
- พุงนำนม
- เอวหนา ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้ง
- ต้นขาและขาจะเห็นก้อนไขมัน หรือเซลลูไลท์ค่อนข้างชัด
- เท้าอ้วน กลม
ลองเช็กรูปร่างแล้วจัดอยู่ในหมวดสาวอวบหรืออ้วนกันเอ่ย แต่อย่างไรก็ตาม การวัดรูปร่างแบบนี้เป็นเพียงการวัดคร่าว ๆ จากลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่ตามหลักการแพทย์แล้วหากจะเช็กว่าอ้วนหรือยัง จะมีหลักเกณฑ์ในการวัดหลัก ๆ 3 ข้อ ดังนี้
1. เปรียบเทียบน้ำหนักตัวเฉลี่ยกับส่วนสูง
สาวอวบ
- ใบหน้าได้รูป เห็นโครงหน้าชัดเจน
- สามารถมองเห็นโครงไหปลาร้า
- มีน้ำมีนวล ตัวนุ่มนิ่ม
- ก้นกระชับ เด้ง ไม่หย่อนคล้อย
- มีส่วนเว้าส่วนโค้งน่ามอง
- ขากลมกลึง ไม่มีรอยแตกของเซลลูไลท์
- เท้าสมส่วน ไม่อ้วน ไม่ผอมจนเกินไป
สาวอ้วน
- ใบหน้ากลม
- มองไม่เห็นไหปลาร้า
- มีไขมันใต้รักแร้ จนเห็นก้อนเนื้อที่หลังเป็นชั้น ๆ
- พุงนำนม
- เอวหนา ไม่มีส่วนเว้าส่วนโค้ง
- ต้นขาและขาจะเห็นก้อนไขมัน หรือเซลลูไลท์ค่อนข้างชัด
- เท้าอ้วน กลม
ลองเช็กรูปร่างแล้วจัดอยู่ในหมวดสาวอวบหรืออ้วนกันเอ่ย แต่อย่างไรก็ตาม การวัดรูปร่างแบบนี้เป็นเพียงการวัดคร่าว ๆ จากลักษณะภายนอกเท่านั้น แต่ตามหลักการแพทย์แล้วหากจะเช็กว่าอ้วนหรือยัง จะมีหลักเกณฑ์ในการวัดหลัก ๆ 3 ข้อ ดังนี้
1. เปรียบเทียบน้ำหนักตัวเฉลี่ยกับส่วนสูง
เป็นการหาน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับตัวเราเอง โดยมีสูตร ดังนี้
- ผู้ชาย นำความสูง (เซนติเมตร) ลบ 100 จะได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เช่น ผู้ชายสูง 170 เซนติเมตร ลบด้วย 100 จะได้ผลลัพธ์ 70 ซึ่ง 70 ก็คือน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของชายคนนี้นั่นเอง
- ผู้หญิง นำความสูง (เซนติเมตร) ลบ 110 จะได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เช่น ผู้หญิงสูง 160 เซนติเมตร ลบด้วย 110 จะได้ 50 โดย 50 ก็คือน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของผู้หญิงคนนี้นั่นเอง
2. คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
- ผู้ชาย นำความสูง (เซนติเมตร) ลบ 100 จะได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เช่น ผู้ชายสูง 170 เซนติเมตร ลบด้วย 100 จะได้ผลลัพธ์ 70 ซึ่ง 70 ก็คือน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของชายคนนี้นั่นเอง
- ผู้หญิง นำความสูง (เซนติเมตร) ลบ 110 จะได้น้ำหนักตัวที่เหมาะสม
เช่น ผู้หญิงสูง 160 เซนติเมตร ลบด้วย 110 จะได้ 50 โดย 50 ก็คือน้ำหนักตัวที่เหมาะสมของผู้หญิงคนนี้นั่นเอง
2. คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์ โดยมีสูตร ดังนี้
เช่น คนที่น้ำหนัก 75 กิโลกรัม สูง 170 เซนติเมตร (1.7 เมตร)
จะมีดัชนีมวลกาย = (75 หาร 1.7) แล้ว 1.7 อีกครั้ง = 25.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ซึ่งเราต้องนำตัวเลขดัชนีมวลกายที่คำนวณได้ มาวัดเกณฑ์ตามนี้
- ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป
- ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ
- ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แค่ท้วม ๆ แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน
- ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 >>> คุณอ้วนแล้ว จัดเป็นโรคอ้วนระดับที่ 1
- ค่าที่ได้มากกว่า 30 >>> คุณอ้วนเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความอ้วน
- หาค่า BMI เช็กกันหน่อยว่าอ้วนหรือยัง
3. วัดเส้นรอบเอวและสะโพก
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม (กิโลกรัม) หาร ความสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง
เช่น คนที่น้ำหนัก 75 กิโลกรัม สูง 170 เซนติเมตร (1.7 เมตร)
จะมีดัชนีมวลกาย = (75 หาร 1.7) แล้ว 1.7 อีกครั้ง = 25.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ซึ่งเราต้องนำตัวเลขดัชนีมวลกายที่คำนวณได้ มาวัดเกณฑ์ตามนี้
- ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป
- ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ
- ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แค่ท้วม ๆ แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน
- ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 >>> คุณอ้วนแล้ว จัดเป็นโรคอ้วนระดับที่ 1
- ค่าที่ได้มากกว่า 30 >>> คุณอ้วนเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความอ้วน
- หาค่า BMI เช็กกันหน่อยว่าอ้วนหรือยัง
3. วัดเส้นรอบเอวและสะโพก
โดยการวัดเส้นรอบเอวมาตรฐานจะต้องวัดที่ระดับจุดกึ่งกลางระหว่างใต้ชายโครงและเหนือกระดูกสะโพก โดยมีเกณฑ์การวัด ดังนี้
ผู้ชาย ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว (90 เซนติเมตร) ถือว่าอ้วนลงพุง
ผู้หญิง ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว (80 เซนติเมตร) ถือว่าอ้วนลงพุง
ค่าสัดส่วนเอวและสะโพก = เส้นรอบเอว (เมตร) หาร เส้นรอบสะโพกที่ยาวที่สุด
กรณีผู้ใหญ่เพศชาย ถ้าเกิน 1.0 ถือว่าอ้วนลงพุง และผู้ใหญ่เพศหญิง ถ้าเกิน 0.8 ถือว่าอ้วนลงพุง
ถ้าอยากรู้ว่าอ้วนจนเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือยัง ก็ต้องวัดตามหลักเกณฑ์ 3 ข้อ ดังข้างต้นนะคะ และทางที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเลือด เพื่อเช็กระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นการวัดที่สามารถบอกปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ในร่างกายได้ค่อนข้างแน่นอนที่สุด เพราะบางคนมีรูปร่างผอมก็จริง แต่พุงใหญ่ มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าคนอ้วนบางคนด้วยซ้ำ หรือคนผอม ๆ บางคนก็มีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักเกินมาตรฐานไม่ว่าจะเกินไปนิดหน่อยหรือเกินไปมาก ก็ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเท่าไร เพราะความอ้วนนำโรคภัยมาเยือนได้หลายอย่าง ดังนั้น ถ้าเช็กแล้วว่าตัวเองเริ่มอวบ มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานไปแล้ว ก็อย่าละเลยการลดน้ำหนักด้วยล่ะ
- คนอ้วนระวังไว้ แค่น้ำหนักเกินก็เสี่ยงตาย 8 โรคอันตรายจะถามหา !
ขอบคุณข้อมูลจาก
soranews24
หมอชาวบ้าน
ผู้ชาย ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว (90 เซนติเมตร) ถือว่าอ้วนลงพุง
ผู้หญิง ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว (80 เซนติเมตร) ถือว่าอ้วนลงพุง
ค่าสัดส่วนเอวและสะโพก = เส้นรอบเอว (เมตร) หาร เส้นรอบสะโพกที่ยาวที่สุด
กรณีผู้ใหญ่เพศชาย ถ้าเกิน 1.0 ถือว่าอ้วนลงพุง และผู้ใหญ่เพศหญิง ถ้าเกิน 0.8 ถือว่าอ้วนลงพุง
ถ้าอยากรู้ว่าอ้วนจนเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือยัง ก็ต้องวัดตามหลักเกณฑ์ 3 ข้อ ดังข้างต้นนะคะ และทางที่ดีที่สุดคือการตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเลือด เพื่อเช็กระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นการวัดที่สามารถบอกปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ในร่างกายได้ค่อนข้างแน่นอนที่สุด เพราะบางคนมีรูปร่างผอมก็จริง แต่พุงใหญ่ มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่าคนอ้วนบางคนด้วยซ้ำ หรือคนผอม ๆ บางคนก็มีระดับน้ำตาลในเลือดค่อนข้างมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักเกินมาตรฐานไม่ว่าจะเกินไปนิดหน่อยหรือเกินไปมาก ก็ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพเท่าไร เพราะความอ้วนนำโรคภัยมาเยือนได้หลายอย่าง ดังนั้น ถ้าเช็กแล้วว่าตัวเองเริ่มอวบ มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานไปแล้ว ก็อย่าละเลยการลดน้ำหนักด้วยล่ะ
- คนอ้วนระวังไว้ แค่น้ำหนักเกินก็เสี่ยงตาย 8 โรคอันตรายจะถามหา !
ขอบคุณข้อมูลจาก
soranews24
หมอชาวบ้าน