ชมพู่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นอย่างไร
ชมพู่เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงราว 5-20 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลหรือเทา ลักษณะเรียบหรือขรุขระ มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยวหนา ผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ปนแดงหรือม่วง ส่วนดอกจะออกตามใบ มีชั้นกลีบเลี้ยงจำนวน 4-5 ใบ เรียงติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกบานชั้นกลีบดอกจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมวก ข้างในจะมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก พร้อมอับเกสรสีทองที่ปลายดอก ส่วนสีของดอกจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ชมพู่ โดยมีทั้งดอกสีขาว สีเหลืองชมพู แดง
ผลชมพู่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมฐานกว้าง ผลครึ่งบนด้านขั้วจะค่อนข้างเล็ก แล้วขยายใหญ่ไปทางก้นผล มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ตรงปลาย เมื่อผ่าครึ่งตามยาวผลชมพู่จะมีรูปร่างคล้ายจมูกคนผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อย
1. เป็นผลไม้น้ำตาลน้อย
ชมพู่ทับทิมจันทร์ น้ำหนัก 100 กรัม หรือ 1 ผลขนาดกลาง มีน้ำตาลประมาณ 7.7-7.9 กรัม หรือคิดเป็น 1.9-2 ช้อนชา ส่วนชมพู่มะเหมี่ยว มีน้ำตาล 5.8 กรัม หรือ 1.5 ช้อนชา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม (ประมาณ 1 ผลขนาดกลาง) ชมพู่ทูลเกล้า 1 ผลขนาดใหญ่ น้ำหนัก 100 กรัม มีปริมาณน้ำตาล 7.9 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนชา เท่ากับปริมาณน้ำตาลในชมพู่เพชร ในน้ำหนักเท่ากัน
2. เป็นผลไม้ลดน้ำหนัก
นอกจากชมพู่จะเป็นผลไม้น้ำตาลต่ำแล้ว ยังเป็นผลไม้ลดน้ำหนัก ได้ด้วยเพราะให้พลังงานต่ำนั่นเอง โดยชมพู่ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานราว ๆ 42 กิโลแคลอรี เท่านั้น อีกทั้งชมพู่ยังอุดมไปด้วยน้ำ กากใยอาหาร กินแล้วจะรู้สึกอิ่มได้นาน
3. ช่วยในการขับถ่าย
4. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
5. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
6. อุดมไปด้วยวิตามินบำรุงร่างกาย
ชมพู่เป็นผลไม้ที่มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินอี อีกทั้งยังฉ่ำน้ำ รับประทานแล้วเพิ่มความสดชื่น เติมน้ำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และวิตามินเอก็มีส่วนช่วยบำรุงสายตา ส่วนวิตามินซีก็ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และลดความรุนแรงของโรคหวัด
7. เป็นยาบำรุงร่างกาย
ในประเทศอินเดียใช้ผลชมพู่เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยฟื้นฟูและปกป้องสมองและตับ โดยมีการนำผลชมพู่มาชงหรือแช่น้ำดื่ม
ตามตำรับยาพื้นบ้านทั้งในและต่างประเทศ มีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นชมพู่มาใช้ประโยชน์มากมาย อาทิ
เปลือกชมพู่น้ำดอกไม้
- นำมาใช้เป็นยารักษาวัณโรค แก้อาการติดเชื้อในปาก แก้ปวดท้องและโรคในช่องท้อง ใช้เป็นยาถ่าย และเป็นยาพื้นบ้านรักษากามโรค
เปลือกต้น
- มีสารแทนนินอยู่ประมาณ 7-12.4% ซึ่งสามารถใช้เป็นยาสมานแผล แก้อาเจียน และเป็นยาระบายได้ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาพื้นบ้านในต่างประเทศที่นำเปลือกต้นชมพู่ไปต้มเป็นยาบรรเทาโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการเสียงแหบ
ใบ
- ใช้แก้อาการตาแดง หรือนำใบมาต้มเป็นยาล้างแผลที่เกิดจากการติดเชื้อทางผิวหนัง และมีการนำไปใช้ร่วมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้เบื่ออาหาร แก้ปวดกระดูก เบาหวาน โรคหนองใน แก้กระเพาะอาหารบวมหลังคลอด แก้เจ็บคอ โรคหลอดลมอักเสบ และบรรเทาอาการท้องผูก
เกสร
- ในต่างประเทศนำเกสรของดอกชมพู่มาใช้ลดไข้
เมล็ด
- นำไปใช้แก้ท้องร่วง แก้บิด และโรคหวัด
ราก
- ชาวคิวบาเชื่อว่ารากชมพู่มีประสิทธิภาพในการแก้โรคลมชัก
บทความที่เกี่ยวข้องกับผลไม้เพื่อสุขภาพ
- 7 ผลไม้เคลือบกระเพาะ กินอะไรดีเมื่อแสบท้องกระเพาะอาหาร
- กล้วยน้ำว้า สรรพคุณไม่ธรรมดา เป็นผลไม้มีฤทธิ์เป็นยาที่ควรกินให้ได้ทุกวัน
- 8 ผลไม้แก้เจ็บคอ อร่อยกว่ายายังไม่พอ ยังมีประโยชน์หลากหลาย !
- 10 ผลไม้ให้วิตามินซีสูงปรี๊ด สกัดหวัด เสริมภูมิคุ้มกัน
- ส่องผลไม้ให้พลังงานไม่เกิน 60 กิโลแคลอรี กินเท่านี้สิไม่อ้วน
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 1, 2
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลเวชธานี
Thai PBS
โรงพยาบาลพญาไท
มูลนิธิสุขภาพไทย
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีฯ
kaset today
prayod.com