กัญชา กัญชง ปลดล็อกแล้วต้องรู้ ปลูก-สูบ-ขาย-ใช้ แบบไหนผิด-ไม่ผิดกฎหมาย


ภาพจาก : เฟซบุ๊ก FDA Thai
ทั้งนี้ เมื่อตำรวจตรวจพบจะยังไม่ดำเนินคดีในทันที เนื่องจากไม่เป็นความผิดซึ่งหน้า ตำรวจจะทำการยึดสารสกัดนั้นส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาค่าสาร THC รวมทั้งสืบเสาะแหล่งที่มา และตรวจหลักฐานการขออนุญาต หากพบว่าผิดกฎหมาย จึงจะเรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีภายหลัง
หลังจากกัญชาและกัญชงถูกปลดล็อกพ้นจากยาเสพติด จะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ดังนั้นนอกจากประชาชนทั่วไปจะสามารถปลูกกัญชาได้แล้ว การเสพ การสูบ การบริโภค กัญชา-กัญชง ก็ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่การสูบ หรือเสพกัญชา-กัญชงก็ยังจะถูกควบคุมดูแลอยู่นะคะ โดยมีข้อกำหนด เช่น
- ห้ามสูบกัญชาในที่สาธารณะ
- การกระทำให้เกิดกลิ่นหรือควันกัญชา กัญชง จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่หรืออาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือเป็นเหตุรำคาญ เจ้าพนักงานท้องถิ่น สามารถระงับเหตุและตรวจสอบได้ตามกฎหมาย โดยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
- ห้ามสูบกัญชาแบบม้วน เพราะไม่มีอากรแสตมป์ของกรมสรรพสามิตติดไว้อย่างถูกต้องเหมือนกับบุหรี่
- เสพแล้วต้องไม่ขับรถ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร
- ห้ามใช้กัญชาในส่วนที่มีสาร THC เกิน 0.2% ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดในกฎหมายปลดล็อกจากยาเสพติด หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษตามกฎหมายยาเสพติด
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์หลัก ๆ ในการปลดล็อกครั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ การดูแลสุขภาพ และการใช้ตามวิถีชีวิตทั่วไป สอดคล้องกับทางด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ที่กล่าวไว้ว่า ไม่เคยรณรงค์ให้มีการสูบกัญชาเพื่อผ่อนคลายใด ๆ เพราะไม่ได้อยู่ในเป้าหมายที่จะนำกัญชาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และการนำมาสูบไม่เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นโทษด้วย
โดยหลังจากนี้ก็จะมี พ.ร.บ. กัญชา กัญชง ออกมากำหนดอย่างชัดเจนด้วยว่าทำอะไรได้ไม่ได้บ้าง ซึ่งระหว่างที่รอร่างกฎหมาย รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้กัญชาและกัญชงไปช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อน

ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ผิดกฎหมาย
- การขายส่วนของพืชกัญชา กัญชง ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- การขายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หากเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ
- ผู้จําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนําผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจําหน่าย
ต้องขออนุญาต
- การขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ยังต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- การขายสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
- การจําหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาหรือกัญชง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ผลิตอาหารต้องทำตาม พ.ร.บ.อาหาร, ผลิตยาต้องทำตาม พ.ร.บ.ยา เป็นต้น
ผิดกฎหมาย
- การขายกัญชา-กัญชง ให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เพื่อนำไปบริโภค หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
- ห้ามจำหน่ายกัญชาแบบมวน หรือนำกัญชาไปมวนแล้วขายเหมือนบุหรี่ เพราะกรมสรรพสามิตยังไม่อนุญาต
- การโฆษณากัญชาในสื่อวิทยุ โทรทัศน์
โดยขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างเสนอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง เพื่อให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

- สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
- สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% จะจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
- เปลือก ลําต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
- เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
- ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
- สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
- กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาที่มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ําหนักแห้ง

ภาพจาก : AChanFoto / Shutterstock.com
สามารถนำใบกัญชาที่ซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. มาปรุงอาหารขายได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่สถานประกอบการ ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย ดังนี้
1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น
- อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
5. แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ
- "เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน"
- "หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที"
- "ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน"
- "อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล"
6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค
ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์กรมอนามัย
นอกจากนี้ ผู้ผลิตต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือขออนุญาตใช้ฉลากอาหารเพื่อรับเลขสารบบอาหาร และผลิตภัณฑ์นั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานและแสดงคำเตือนตามที่กำหนดด้วยนะคะ

ภาพจาก : เฟซบุ๊ก FDA Thai

กรณีอาหาร : ไม่สามารถนำเข้าได้ เพราะอาหารที่มีส่วนผสมของสารสกัดกัญชา จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ. 2564 ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท
กรณีเครื่องสำอาง : ไม่สามารถนำเข้าได้ โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามความใน พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
กรณีนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น : เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น
บทความที่เกี่ยวข้องกัญชา กัญชง
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 17 มิถุนายน 2565
ขอบคุณภาพจาก : เฟซบุ๊ก FDA Thai
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) (1), (2), (3) ฐานเศรษฐกิจ, hfocus.org, กรุงเทพธุรกิจ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เฟซบุ๊ก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ