กัญชา กลายเป็นสมุนไพรที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น หลังถูกปลดล็อกให้พ้นจากยาเสพติด แต่หลายคนมีความกังวลอยู่ว่า หากใช้กัญชา ไม่ว่าจะในรูปแบบการรับประทานอาหารที่ผสมกัญชา สูบกัญชา หรือใช้กัญชาเป็นยารักษาโรค สารที่อยู่ในกัญชาจะตกค้างในร่างกาย ในปัสสาวะ หรือในเลือด ได้นานแค่ไหน แล้วจะส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่ งั้นลองมาไขข้อสงสัยกันเลย
สารสำคัญในกัญชามีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ สาร CBD (Cannabidiol) และสาร THC (Tetrahydrocannabinol) โดยสาร CBD มีฤทธิ์ช่วยให้คลายความกังวล ลดความเศร้า และเป็นกลุ่มสารที่ไม่ทำให้เกิดอาการทางจิตประสาท จึงถูกนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น ทำให้ผู้ป่วยอยากอาหาร ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
ในขณะที่สาร THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หากรับเข้าร่างกายด้วยการสูบ สารตัวนี้จะแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที และจะออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทได้สูงสุดถึง 1 ชั่วโมง ส่งผลให้มีอาการเซื่องซึมลงอย่างช้า ๆ อาจรู้สึกเคลิ้ม ใจสั่นได้ แต่บางคนที่ไวต่อสารในกัญชาก็จะมีอาการดังกล่าวอย่างรวดเร็ว
แต่ในกรณีกินกัญชาที่ผสมในอาหารจะออกฤทธิ์ช้ากว่าการสูบ คืออาจนานกว่า 1 ชั่วโมงหรือมากกว่าถึงจะมีอาการผิดปกติ ทำให้หลายคนไม่ระวัง บริโภคอาหารผสมกัญชาซ้ำไปอีก กลายเป็นรับประทานมากไป จึงมีโอกาสพบผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาเกินขนาดจนเป็นอันตรายได้
แต่โดยทั่วไปแล้ว ในกรณีเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยใช้กัญชามาก่อน สาร THC ในกัญชาประมาณ 90% จะถูกขับออกจากร่างกายภายในเวลา 5 วัน ผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่หากใช้กัญชาบ่อย ๆ เช่น สูบเป็นประจำ ใช้กัญชาเป็นยามาโดยตลอด หรือติดกัญชางอมแงม โอกาสที่สารกัญชาจะอยู่ในร่างกายก็จะนานขึ้น เนื่องจากมีการตกค้างอยู่ตามส่วนต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะ เลือด เส้นผม หรือเล็บ รวมไปถึงสารคัดหลั่งอย่างน้ำลายและเหงื่อ
ทั้งนี้ ถ้าตรวจหาสาร THC ในปัสสาวะ เลือด หรืออวัยวะต่าง ๆ ก็จะพบปริมาณสาร THC และมีระยะเวลาที่ตกค้างแตกต่างกันไป โดยวิธีที่นิยมตรวจหาสารกัญชามากที่สุดคือการตรวจทางปัสสาวะ เพราะสารในกัญชาจะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกาย และถูกขับออกมาทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ จึงมักมีปริมาณสารเสพติดหรือสารที่ถูกย่อยสลายสูงกว่าวิธีอื่น ๆ อีกทั้งการเก็บปัสสาวะก็ยังทำได้ง่ายด้วยบทความที่เกี่ยวข้องกับกัญชา
- กัญชาในอาหาร กินแล้วจะเมาไหม กินได้แค่ไหนไม่อันตรายต่อสุขภาพ
- หมอเผยสาเหตุ ทำไมกัญชาแบบกิน อันตรายกว่าแบบสูบ กระบวนการเล็ก ๆ ที่คิดไม่ถึง
- เมนูกัญชา ย้ำมือใหม่ควรรู้ก่อนลองชิม ไม่งั้นอาจเสี่ยงแพ้รุนแรง จะทำขายต้องทำไง
- สาวเปิดใจ หลังเกือบตายจากต้มมะระใส่กัญชา กินไปไม่รู้ว่าแพ้ พร้อมฝากถึงแม่ค้าที่ใส่ทั้งใบ
- เมากัญชาแก้อย่างไร สังเกตแบบไหนว่ามีอาการแพ้กัญชา
- กัญชา กัญชง ปลดล็อกแล้วต้องรู้ ปลูก-สูบ-ขาย-ใช้ แบบไหนผิด-ไม่ผิดกฎหมาย
- กัญชา กับสรรพคุณทางยาและประโยชน์ในการรักษาโรค
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 25 มิถุนายน 2565
ขอบคุณข้อมูลจาก : กองควบคุมวัตถุเสพติด, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, Thai PBS, Youtube CANNHEALTH, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ThaiPBS, กรมสุขภาพจิต