มะเร็งหัวใจ คืออะไร อัตราการพบโรคมีมากเท่าไร
มะเร็งหัวใจ มีกี่ชนิด
1. มะเร็งหัวใจปฐมภูมิ (Primary cardiac cancer)
เป็นมะเร็งชนิดที่เกิดจากเนื้อเยื่อหัวใจโดยตรง ซึ่งเกิดได้กับเนื้อเยื่อทุกส่วนของหัวใจ เช่น เนื้อเยื่อที่กล้ามเนื้อหัวใจ เนื้อเยื่อที่เยื่อหุ้มหัวใจ เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุหัวใจ เนื้อเยื่อพังผืด เนื้อเยื่อระบบประสาท เนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น โดยเป็นมะเร็งหัวใจชนิดที่พบได้น้อยมาก และมักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก
2. มะเร็งหัวใจทุติยภูมิ (Secondary cardiac cancer หรือ Metastatic cardiac cancer)
มะเร็งหัวใจเกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคมะเร็งหัวใจที่เกิดในหัวใจโดยตรงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่ แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากรังสีหรือสารพิษชนิดใดชนิดหนึ่ง จนก่อให้เกิดเซลล์เนื้อร้ายที่หัวใจ เช่น บริเวณผิวหนังชั้นกลาง ตรงเซลล์ผนังหลอดเลือด หรือเกิดที่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่อาจเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ
แต่อย่างไรก็ดี มะเร็งหัวใจก็อาจเกิดขึ้นหลังจากการเป็นมะเร็งอวัยวะอื่น ๆ ตามที่บอกไปข้างต้นด้วยนะคะ และยังพบว่า มะเร็งหัวใจอาจสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ได้ด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งหัวใจ มักมีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้มาก่อน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่ากรรมพันธุ์มีผลต่อความเสี่ยงโรคนี้จริงไหม
มะเร็งหัวใจ ใครเสี่ยงบ้าง
มะเร็งหัวใจ อาการเป็นอย่างไร
อาการมะเร็งหัวใจ ผู้ป่วยมักจะมีอาการแสดงดังนี้
- หน้าบวม คอบวม หลอดเลือดดำที่คอโป่ง (กรณีเกิดมะเร็งที่หัวใจห้องขวาบน)
- หายใจไม่เต็มปอด
- เหนื่อยมาก อ่อนเพลีย หมดแรง
- เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ (กรณีเกิดมะเร็งที่หัวใจห้องซ้าย)
- หัวใจเต้นเร็ว
- เจ็บหน้าอก
- หน้ามืด วิงเวียน
- หมดสติ
- หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
มะเร็งหัวใจ วินิจฉัยได้อย่างไร
ตรวจแบบไหนถึงจะเจอ
มะเร็งหัวใจ สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจหัวใจด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น
- การตรวจเอคโคหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
- การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง CT Scan
- การตรวจหัวใจด้วยวิธี MRI
- การสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization with Coronary Angiography)
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography)
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา
มะเร็งหัวใจ รักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง
มะเร็งหัวใจที่เกิดกับหัวใจโดยตรง คือมีเนื้อร้ายเกิดในผนังชั้นกลางของหัวใจ เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ ที่เรียกว่า Angiosarcoma และ Rhabdomyosarcoma มักจะมีการตอบสนองไม่ค่อยดีต่อการฉายแสง หรือเคมีบำบัด ดังนั้นในกรณีที่มะเร็งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำการผ่าตัดได้ เช่น บริเวณผนังหัวใจด้านขวาบนและขวาล่าง ส่วนใหญ่แพทย์จึงแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกให้หมด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดนั้นทำได้ยาก เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก
แต่หากมะเร็งลุกลามมาที่หลอดเลือดแดงหัวใจก็จำเป็นต้องผ่าตัดด้วยการต่อทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือเลือกวิธีผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจให้ผู้ป่วยแทน หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษาค่ะ
มะเร็งหัวใจ ป้องกันได้ไหม
บทความที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
- มะเร็งปอด แสนร้ายกาจ ไม่สูบบุหรี่ก็ถึงฆาตเพราะโรคนี้ได้
- 12 สัญญาณมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช็กให้เป็น สังเกตเห็น รักษาได้
- มะเร็งต่อมไทรอยด์ พบตั้งแต่ก้อนยังน้อย โอกาสหายก็มาก เช็กอาการก่อนเป็นหนัก !
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ รีบเช็กก่อนลุกลาม อาการเป็นยังไง !
- มะเร็งรังไข่ อาการเป็นอย่างไร รู้ไว้ เฝ้าระวัง สังเกตตัวเอง
- มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดจากอะไร ประจำเดือนมามากเช็กให้ไว ก่อนลุกลาม