ปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดหาง่าย
มีอยู่ทั่วไทย
ปลาตะเพียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Java barb หรือ Silver barb ส่วนในภาษาไทยยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนเงิน เป็นปลาน้ำจืดพื้นเมืองของไทยชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มักมีอยู่มากตามแม่น้ำ บึง ลำคลอง หนอง หรือแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในบริเวณน้ำไหลก็จะพบปลาตะเพียนค่อนข้างชุก
ลักษณะทั่วไปของปลาตะเพียนจะมีลำตัวแบนข้าง ลำตัวมีสีเงินแวววาว มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 29-31 เกล็ด หัวเล็ก ปากเล็ก ริมฝีปากโค้งยกสูง ความยาวจากสุดหัวจรดปลายหางจะประมาณ 2.5 เท่าของความสูง แต่ถ้าโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร
คุณค่าทางโภชนาการ
ของปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนสดน้ำหนัก 100 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
-
พลังงาน 110 กิโลแคลอรี
-
น้ำ 74.7 กรัม
-
โปรตีน 20.4 กรัม
-
ไขมัน 3.2 กรัม
-
กรดไขมันโอเมก้า 3 0.24 กรัม
-
คาร์โบไฮเดรต 0.1 กรัม
-
เถ้า 1.60 กรัม
-
แคลเซียม 117 มิลลิกรัม
-
ฟอสฟอรัส 236 มิลลิกรัม
-
ธาตุเหล็ก 5.6 มิลลิกรัม
-
ไทอะมิน (วิตามินบี 1) 0.03 มิลลิกรัม
-
ไรโบฟลาวิน (วิตามินบี 2) 0.01 มิลลิกรัม
-
ไนอะซิน (วิตามินบี 3) 2.7 มิลลิกรัม
-
คอเลสเตอรอล 63 มิลลิกรัม
ปลาตะเพียน ประโยชน์ดียังไง
ปลาตะเพียนเป็นแหล่งของโปรตีน มีแร่ธาตุและวิตามินหลากหลายชนิด เช่น วิตามินบี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก จึงช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด และป้องกันภาวะโลหิตจางได้
นอกจากนี้ปลาตะเพียนยังมีวิตามินดีสูง ช่วยดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น พร้อมกับช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน โดยทางสำนักโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า การรับประทานปลาตะเพียน 2 ช้อนโต๊ะ จะได้รับวิตามินดีเทียบเท่าปริมาณที่แนะนำใน 1 วัน
แม้ปลาตะเพียนจะเป็นปลาน้ำจืด แต่ก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่ด้วยนะคะ โดยเนื้อสด 100 กรัม จะให้โอเมก้า 3 ได้ราว ๆ 0.24 กรัม การรับประทานปลาตะเพียนจึงช่วยพัฒนาสมองและการจดจำ แถมยังมีประโยชน์ต่อระบบประสาท และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อีกทาง
ปลาตะเพียน เมนูไหนก็อร่อย
หลายคนสงสัยว่าปลาตะเพียนทำเมนูไหนได้บ้าง วันนี้เราเลยยกเมนูปลาตะเพียนบางส่วนมาแนะนำ