
ประโยชน์ของ Zinc
ธาตุสังกะสีที่ดีต่อสุขภาพ

ธาตุสังกะสี หรือ Zinc สามารถช่วยในเรื่องสุขภาพได้ดังนี้
-
เป็นธาตุที่มีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดขาว จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
-
มีการศึกษาพบว่า Zinc ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสหวัด โดยลดระยะเวลาการเป็นหวัดให้สั้นลงได้
-
ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงพัฒนาการด้านเพศ
-
เป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างเชื้ออสุจิและช่วยให้ฮอร์โมนเพศสมดุล ทั้งยังมีบทบาทช่วยให้ต่อมลูกหมากที่โตฝ่อลง
-
มีส่วนควบคุมการแสดงออกของสารพันธุกรรม ช่วยในการแบ่งเซลล์
-
ช่วยให้เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายตอบสนองได้ดี
-
มีส่วนช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยรักษาบาดแผลให้หายเร็วขึ้น
-
ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนในเนื้อเยื่อ ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
-
ส่งเสริมการทำงานของวิตามินเอ ให้ร่างกายนำวิตามินเอไปใช้ได้ดีขึ้น
-
ช่วยในกระบวนการสร้างเสริมเซลล์ผิวใหม่ และรักษาสมดุลของน้ำมันใต้ผิวหนัง
-
ช่วยลดสิวที่เกิดจากการอุดตันของไขมันใต้ผิวหนัง
-
ช่วยรักษาสมดุลของระบบประสาทสมอง ทำให้รู้สึกตื่นตัว สดชื่น
-
เป็นองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ
-
ช่วยในการเจริญเติบโตของเส้นผมและเล็บ เสริมความแข็งแรงให้เส้นผมและเล็บที่อ่อนแอ นอกจากนี้ Zinc ยังช่วยลดความมันบนหนังศีรษะ ทำให้ผมหลุดร่วงน้อยลงด้วย
ปริมาณ Zinc ที่ควรได้รับต่อวัน
จากข้อมูลปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ของสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ร่างกายคนเราควรได้รับสังกะสีอย่างพอเพียงตามช่วงอายุ ดังนี้
-
อายุ 6-11 เดือน : 3 มิลลิกรัมต่อวัน
-
อายุ 1-3 ขวบ : 4 มิลลิกรัมต่อวัน
-
อายุ 4-5 ขวบ : 5 มิลลิกรัมต่อวัน
-
อายุ 6-8 ขวบ : 6 มิลลิกรัมต่อวัน
-
อายุ 9 ขวบ - 12 ปี : 8 มิลลิกรัมต่อวัน
-
อายุ 13-15 ปี : 11 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศชาย และ 9 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศหญิง
-
อายุ 16-18 ปี : 11 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศชาย และ 9 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศหญิง
-
อายุ 19-71 ปี : 9-10 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศชาย และ 8-9 มิลลิกรัมต่อวัน ในเพศหญิง
-
หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรได้รับ Zinc ในปริมาณที่มากกว่าปกติ คือเพิ่มไปอีก 2 มิลลิกรัม ในหญิงตั้งครรภ์ และเพิ่มอีก 3 มิลลิกรัม ในหญิงให้นมบุตร
ถ้าร่างกายขาด Zinc จะเป็นไรไหม

ได้รับ Zinc มากเกินไป
อันตรายหรือเปล่า
การได้รับธาตุสังกะสีเกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวันก็อาจเสี่ยงให้โทษ ดังนี้
-
หากรับซิงก์มากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม จะส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
-
หากรับซิงก์เกินกว่า 200 มิลลิกรัม จะก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
-
หากได้รับซิงก์ในปริมาณสูงเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันเป็นเวลานาน ซิงก์จะเข้าไปแทนที่ทองแดงและเหล็กในเลือด เพิ่มความเสี่ยงโรคโลหิตจางได้
-
หากได้รับซิงก์เกิน 325-650 มิลลิกรัม จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อท้องเกร็ง ท้องร่วง ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ และในคนที่ตั้งครรภ์อาจเสี่ยงต่อภาวะทารกพิการหรือเสียชีวิตได้
-
หากได้รับซิงก์มากกว่า 4,000 มิลลิกรัม อาจถึงแก่ชีวิตได้
ทั้งนี้ หากเรารับธาตุสังกะสีจากการรับประทานอาหารที่มีสังกะสีสูง ส่วนมากก็จะได้รับซิงก์ไม่เกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน อีกทั้งยังจะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกหลากหลายชนิดด้วยนะคะ ว่าแล้วก็มาดูกันเลย อาหารที่มีสังกะสีสูงมีอะไรบ้าง
อาหารที่มีสังกะสีสูง มีอะไรบ้าง
1. หอยนางรม

2. เนื้อแดง

3. ไข่

อาหารเบสิกอย่างไข่ก็มีสังกะสีสูง มีวิตามินบี โคลีน ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาทและสมอง และเป็นอาหารใกล้ตัวที่กินง่าย ทำได้หลายเมนู แถมประโยชน์ของไข่ก็ยังดีต่อสุขภาพหลายด้านเลยด้วย
4. นม

อีกหนึ่งอาหารที่มีสังกะสีสูงและค่อนข้างรับประทานง่ายก็คือนมนี่แหละค่ะ หรือจะรับสังกะสีจากโยเกิร์ตก็ได้เช่นกัน มาพร้อมแคลเซียมและวิตามินดี ใครสะดวกรับประทานแบบไหนก็จัดไปเพื่อเพิ่มซิงก์ให้ร่างกายได้เลย
5. โฮลเกรน

6. เห็ด

นอกจากเห็ดจะมีซิงก์แล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินเค โปรตีน แคลเซียม โพแทสเซียม ทองแดง แมงกานีส และยังเป็นแหล่งที่ดีของไฟเบอร์ด้วย
7. เมล็ดพืช

8. มันชนิดต่าง ๆ

9. ดาร์กช็อกโกแลต

ดาร์กช็อกโกแลตที่หลายคนชอบกิน รู้ไหมคะว่าก็มีสังกะสีที่เราต้องการด้วยเหมือนกัน และบอกเลยว่ายิ่งกินดาร์กช็อกโกแลตที่ยิ่งเข้มข้น ยิ่งขมเท่าไร ปริมาณสังกะสีก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น