โรคหัด คืออะไร
โรคหัด เกิดจากสาเหตุอะไร
โรคหัด ติดต่อได้ทางไหน
โรคหัด ติดต่อกันผ่านทางอากาศ เช่น การไอ จาม หรือแม้แต่การพูดคุยในระยะใกล้ชิด รวมทั้งการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำมูก เสมหะของผู้ป่วยโรคหัดโดยตรง เนื่องจากไวรัสที่อาศัยอยู่ในลำคอของผู้ป่วยยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้นานถึง 4 วัน หลังมีอาการผื่นขึ้น ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบว่าตัวเองมีเชื้อโรคหัดอยู่ในตัว เลยไม่ได้ระวังในการพูดคุย ไอ จาม
ที่สำคัญก็คือ ไวรัสที่ลอยออกมาสามารถอยู่ในอากาศได้นานถึง 2 ชั่วโมง ทำให้ติดต่อกันง่ายมาก หากอยู่ในพื้นที่ปิดหรืออยู่ในบ้านเดียวกัน มีโอกาสติดเชื้อได้มากถึง 90% สูงกว่าไข้หวัดใหญ่ที่มีอัตราการติดต่ออยู่ที่ 15-30%
โรคหัด ระยะฟักตัวกี่วัน
โรคหัด อาการเป็นยังไง
ผื่นลักษณะแบบไหน
ระยะเริ่มต้น หรือช่วงเป็นไข้
ระยะออกผื่นหัด
ออกหัดรักษายังไง
เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคหัดโดยตรง จึงใช้วิธีรักษาตามอาการทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอขับเสมหะ ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้แพทย์อาจให้วิตามินเอเสริมกับผู้ป่วยด้วย โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์
ในกรณีที่มีอาการท้องเสียเป็นภาวะแทรกซ้อน สามารถรับประทานน้ำเกลือแร่โออาร์เอส เพื่อบรรเทาอาการได้
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคนี้โดยปกติไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะแต่อย่างใด เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นว่ามีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่แพทย์อาจต้องสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ
โรคหัด กี่วันหาย
โรคหัด อันตรายไหม
โรคหัด ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก อายุ 0-3 ขวบ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค และเด็กที่ขาดสารอาหาร เพราะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ส่งผลให้เสียชีวิตได้ โดยอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนี้
สำหรับโรคหัดในผู้ใหญ่ หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง มักหายจากโรคได้เอง แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ขาดสารอาหาร คนที่ป่วยด้วยโรคระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้สูงกว่าคนทั่วไป
ส่วนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หากไม่เคยฉีดวัคซีนโรคหัดมาก่อน จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด คือก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของอายุครรภ์ ซึ่งทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักตัวน้อย
โรคหัด ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดพบได้ประมาณ 30% โดยอาการที่มักพบได้ก็อย่างเช่น
-
ท้องเสีย อาเจียน ทำให้ขาดน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด
-
ตาแดง ตาแฉะ
-
ปอดบวม หลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบติดเชื้อ
-
หูชั้นกลางอักเสบ ทำให้ปวดหู
-
กล่องเสียงอักเสบ
-
สมองอักเสบ
-
การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
นอกจากนี้ยังมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่พบได้บ้างแต่ไม่บ่อยนัก เช่น สมองอักเสบ ไวรัสตับอักเสบ ตาเหล่ เป็นต้น
วิธีดูแลตัวเองเมื่อป่วยโรคหัด
-
พักผ่อนอยู่ในบ้าน ไม่ควรออกไปที่สาธารณะ หยุดเรียน หยุดงาน เป็นเวลาอย่างน้อย 4 วัน หลังจากผื่นเริ่มปรากฏ
-
แยกตัวเองออกจากคนในบ้าน หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือไม่เคยได้รับวัคซีนโรคหัด
-
รับประทานยารักษาตามที่แพทย์สั่ง
-
รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
-
หากมีอาการหนักขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียว หรือหายใจเหนื่อยหอบ ซึม ชัก ควรรีบมาพบแพทย์
โรคหัด ป้องกันอย่างไร มีวัคซีนไหม
โรคหัดป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งรวมมากับวัคซีนโรคคางทูมและหัดเยอรมันในเข็มเดียว ป้องกันได้ 3 โรค โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ฉีดวัคซีน 2 เข็มกับเด็ก ดังนี้
- เข็มที่ 1 ฉีดตอนอายุ 9-12 เดือน
- เข็มที่ 2 ฉีดตอนอายุ 2 ขวบครึ่ง
สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดได้ 2 เข็ม โดยแต่ละเข็มต้องห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
ใครไม่สามารถฉีดวัคซีนโรคหัดได้
-
หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้น หากผู้หญิงฉีดวัคซีนชนิดนี้แล้วควรต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 28 วัน หลังได้รับวัคซีน
-
ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แล้วยังไม่ได้รับการรักษา
-
ผู้ที่มีประวัติแพ้เจลาตินหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) อย่างรุนแรง
-
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอหรือบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับยาต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว และผู้ที่รับยาสเตียรอยด์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน
-
ผู้ที่เคยแพ้วัคซีนรุนแรง (Anaphylaxis)
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อ
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (1), (2), สมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค