น้ำมันปลา ช่วยอะไร ต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร เลือกซื้อยี่ห้อไหนดี ปี 2568

           น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลา ความแตกต่างนี้ไม่ได้มีแค่ชื่อที่ฟังดูคล้ายกันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงแหล่งที่มา สารอาหาร และประโยชน์ที่ได้รับอีกด้วย
น้ำมันปลา

           น้ำมันปลา ยี่ห้อไหนดี ปี 2568 ใครกำลังอยากได้ประโยชน์ของน้ำมันปลามาช่วยดูแลสุขภาพ อยากชวนมาทำความเข้าใจให้เคลียร์ก่อนไปหาซื้อ เพราะหลายคนมักสับสนระหว่าง น้ำมันปลา และ น้ำมันตับปลา คิดว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่จริง ๆ เป็นสารอาหารคนละส่วน และให้ประโยชน์แตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนรายละเอียดจะเป็นยังไง มาเริ่มอ่านกันเลย

น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลายังไง

น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลายังไง

           น้ำมันปลา (Fish oil) คือ น้ำมันที่สกัดจากส่วนต่าง ๆ เช่น เนื้อปลา หนังปลา หางของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาแอนโชวี่ จึงอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ EPA และ DHA ซึ่งดีต่อสุขภาพสมอง หัวใจ และมีส่วนช่วยลดการอักเสบ

          ในขณะที่น้ำมันตับปลา (Cod Liver oil) คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดไขมันจากตับของปลาทะเลน้ำลึกเพียงส่วนเดียว มักนิยมใช้ปลาค็อด ซึ่งจะให้ไขมันโอเมก้า 3 เช่นกัน แต่จะน้อยกว่าในน้ำมันปลา ทว่าสิ่งที่จะได้เพิ่มจากน้ำมันตับปลาไปด้วยก็คือ วิตามินเอและวิตามินดีในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งช่วยดูแลสุขภาพดวงตา กระดูก และระบบภูมิคุ้มกันของเราได้

          จะเห็นได้ว่าน้ำมันปลา สรรพคุณหลัก ๆ คือ มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นสารอาหารที่หลายคนให้ความสำคัญในยุคปัจจุบัน เราจึงจะมาเจาะลึกกันถึงประโยชน์ของน้ำมันปลา รวมถึงวิธีการเลือกซื้อและยี่ห้อที่น่าสนใจในปี 2568 กันต่อ

น้ำมันปลา ช่วยอะไร
ประโยชน์ดี ๆ จากโอเมก้า 3

น้ำมันปลาช่วยอะไร

          ประโยชน์ของน้ำมันปลา มาจากกรดไขมันโอเมก้า 3 ดีต่อสุขภาพหลายประการ เช่น

  • เสริมสร้างการทำงานของสมองและระบบประสาท ช่วยเรื่องการจดจำ จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม 

  • มีส่วนช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE)

  • มีส่วนช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือไขมันตัวร้าย จึงลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นส่วนประกอบของเรตินาและจอประสาท การได้รับโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอมีส่วนช่วยในเรื่องการมองเห็น ลดอาการตาแห้งและลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อม

  • ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและลดการอักเสบของผิวหนัง

          อย่างไรก็ตาม ร่างกายเราไม่สามารถผลิตกรดไขมันโอเมก้า 3 ขึ้นมาเองได้ จึงต้องรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น ปลาทะเล หอยนางรม เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลา เพื่อให้ได้รับโอเมก้า 3 อย่างน้อย 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

น้ำมันปลา ควรเลือกซื้ออย่างไร

วิธีเลือกซื้อน้ำมันปลา

          มาติวกันก่อนว่า ถ้าจะซื้อน้ำมันปลามารับประทาน ควรพิจารณาอะไรบ้าง เช่น

  • ควรเลือกซื้อน้ำมันปลาที่มาจากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาแซลมอน จากแหล่งธรรมชาติ

  • ควรเลือกซื้อน้ำมันปลาที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง โดยเฉพาะ EPA และ DHA ที่ควรมีมากกว่า 250 มิลลิกรัมขึ้นไป ซึ่งเป็นปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน 

  • ควรเลือกน้ำมันปลาที่ผ่านการกลั่นโมเลกุลเพื่อลดสารพิษ เช่น ปรอทและโลหะหนัก หรือผ่านการทดสอบและรับรองว่าปราศจากสารปนเปื้อน

  • น้ำมันปลามีหลายรูปแบบ เช่น ซอฟต์เจล แคปซูล และแบบน้ำ ควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการ คือ

    • แบบซอฟต์เจล : เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะกลืนง่าย ลื่นคอ ไม่ค่อยมีกลิ่นคาว และบางยี่ห้ออาจเคลือบสารพิเศษที่ช่วยให้ซอฟต์เจลแตกตัวในลำไส้เล็ก ทำให้ได้ประโยชน์จากน้ำมันปลาเต็มที่ แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าแบบอื่น

    • แบบแคปซูล : เม็ดมีขนาดเล็กกว่าซอฟต์เจล ราคาถูกกว่า แต่อาจมีกลิ่นคาวมากกว่าซอฟต์เจล และแคปซูลอาจแตกตัวในกระเพาะอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ เรอ แน่นท้องได้

    • แบบน้ำ : เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบกลืนยาเม็ด สามารถปรับปริมาณการรับประทานได้ตามต้องการ แต่มีรสชาติคาวกว่าแบบอื่น และไม่สะดวกต่อการพกพา อีกทั้งอาจสูญเสียคุณค่าทางอาหารไปบ้าง เพราะตัวน้ำมันปลาสัมผัสกับอากาศโดยตรง

  • ถ้าไม่ชอบกลิ่นคาวของน้ำมันปลา ลองมองหาน้ำมันปลาสูตรไร้กลิ่น

  • เลือกซื้อน้ำมันปลาที่ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่มีสารเติมแต่งต่าง ๆ ไม่มีสีสังเคราะห์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้สารเคมี

  • พิจารณาส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ผสมมาในน้ำมันปลาว่าเป็นสารอาหารที่เราต้องการ หรือมีอาการแพ้อาหารเหล่านี้หรือไม่ เนื่องจากบางยี่ห้ออาจเติมวิตามินอี กรดไขมันโอเมก้า 9 หรือมีส่วนผสมของน้ำมันถั่วเหลือง กลูเตน เป็นต้น

  • ตรวจสอบสินค้าว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน มีเลข อย. หรือได้มาตรฐาน GMP, HACCP หรือผ่านการรับรองจากองค์กรสากล 

  • สภาพผลิตภัณฑ์ต้องสมบูรณ์ ฝาปิดสนิท บรรจุภัณฑ์ไม่ฉีกขาดหรือชำรุด ระบุวันผลิตและวันหมดอายุชัดเจน

           ลองเลือกพิจารณาน้ำมันปลาตามข้อมูลคร่าว ๆ ข้างต้นเสร็จแล้ว เรามาต่อกันที่น้ำมันปลายี่ห้อมาแรงในปี 2568 เลยดีกว่า

น้ำมันปลายี่ห้อไหนดี ปี 2568

          น้ำมันปลายี่ห้อต่อไปนี้ กำลังได้รับความนิยมในตลาด ลองมาดูรีวิวกันเลย

1. น้ำมันปลา Swisse Odourless Fish Oil

น้ำมันปลา Swisse

ภาพจาก : Swisse Thailand

          น้ำมันปลาชนิดไร้กลิ่นจากสวิสเซ แบรนด์อาหารเสริมจากออสเตรเลีย ตัวนี้เป็นแคปซูลแบบนิ่ม รับประทานง่าย และไม่มีกลิ่นคาวปลาให้ต้องกังวล ใน 1 แคปซูล อัดน้ำมันปลามาให้ 1,000 มิลลิกรัม ประกอบด้วย EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม จัดว่าเป็นน้ำมันปลาที่ให้กรดไขมันโอเมก้า 3 สูงตามมาตรฐาน

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1-3 แคปซูล หลังอาหารและดื่มน้ำตามมาก ๆ 

  • ราคาปกติ : 1,200 บาท (บรรจุ 200 แคปซูล)

2. น้ำมันปลา Amsel Fish Oil Mini Caps 500 mg

น้ำมันปลา Amsel

ภาพจาก: amselnutraceutical.com

          น้ำมันปลาขนาด 500 มิลลิกรัม ยี่ห้อ Amsel จุดเด่นคือบรรจุมาในแคปซูลแบบนิ่ม เม็ดเล็ก ง่ายต่อการรับประทาน ใน 1 แคปซูลจะให้ EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม และแม้จะไม่ใช่สูตรไร้กลิ่นคาวปลา แต่ก็ถือว่ามีกลิ่นคาวปลาน้อยมาก กลืนไม่ยากจนเกินไป

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร

  • ราคาปกติ : 400 บาท (บรรจุ 75 แคปซูล)

3. น้ำมันปลา Kirkland Signature Fish Oil

น้ำมันปลา Kirkland

ภาพจาก : shopee

          น้ำมันปลาขวดใหญ่บึ้ม ยี่ห้อ Kirkland Signature จากสหรัฐอเมริกา มาในรูปแคปซูลซอฟต์เจลที่อัดน้ำมันปลาจากปลาทะเลน้ำในลึกแหล่งธรรมชาติมาแน่น ๆ 1,000 มิลลิกรัม ให้ EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม ขวดนี้เป็นสูตรไร้กลูเตน ไม่แต่งสี ไม่ปรุงแต่งรสชาติเทียม จึงไม่มีรสชาติ และกลิ่นคาวปลาก็ค่อนข้างน้อย แถมบรรจุมาให้ถึง 400 แคปซูล กินยาว ๆ ได้เลย

  • วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 ซอฟต์เจล วันละ 2 ครั้ง พร้อมมื้ออาหาร 

  • ราคาประมาณ : 960 บาท (บรรจุ 400 ซอฟต์เจล)

4. น้ำมันปลา Omega 3 Triple CEO Factory x 3C

น้ำมันปลา CEO Factory

ภาพจาก : CEO Factory

          น้ำมันปลาจากแบรนด์ CEO Factory ยี่ห้อนี้ผลิตที่ประเทศเกาหลี และเป็นน้ำมันปลาที่ให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว โดยใน 1 แคปซูลจะได้น้ำมันปลาในรูปเอทิลเอสเตอร์เข้มข้น 1,400 มิลลิกรัม มี EPA 540 มิลลิกรัม DHA 360 มิลลิกรัม และ DL-Alpha-Tocopherol 6 มิลลิกรัม และเขายังแต่งกลิ่นเลมอนมาช่วยให้รับประทานง่ายขึ้นด้วย

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร

  • ราคาปกติ : 1,190 บาท (บรรจุ 60 แคปซูล)

5. น้ำมันปลา GNC Fish Oil 734/266

น้ำมันปลา GNC

ภาพจาก : GNC

          อีกหนึ่งยี่ห้อน้ำมันปลาที่ให้กรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เพราะสกัดมาจากเนื้อปลาทะเลหลายชนิด โดยใน 1 แคปซูล มีน้ำมันปลา 1,333.333 มิลลิกรัม ให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม แบ่งเป็น EPA ตามเลขบนผลิตภัณฑ์ คือ 734 มิลลิกรัม และ DHA 266 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังเป็นสูตรปราศจากคาวปลา และเป็นแคปซูลนิ่มชนิดเคลือบฟิล์มแบบเอนเทอริกที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหารอีกด้วย

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล 

  • ราคาปกติ : 2,500 บาท (บรรจุ 60 แคปซูล)

6. น้ำมันปลา HERBALIFE

น้ำมันปลา Herbalife

ภาพจาก : herbalife.com

          น้ำมันปลายี่ห้อเฮอร์บาไลฟ์ ที่มาในรูปแบบแคปซูลซอฟต์เจล ประกอบด้วยน้ำมันปลา 758 มิลลิกรัม ให้กรดไขมัน EPA 185 มิลลิกรัม และ DHA 128 มิลลิกรัม ซึ่งก็ถือว่าให้โอเมก้า 3 สูงกว่าทั่วไปเล็กน้อย และยังมีวิตามินอีเสริมมาด้วย เวลารับประทานจะได้กลิ่นสมุนไพรบนแคปซูลอย่างน้ำมันไทม์ น้ำมันกานพลู และน้ำมันเปปเปอร์มินต์ ช่วยกลบกลิ่นคาวปลาให้รับประทานง่ายขึ้น

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร

  • ราคาปกติ : 2,500 บาท (บรรจุ 60 แคปซูล)

7. น้ำมันปลา Giffarine Fish Oil 4X

น้ำมันปลากิฟฟารีน

ภาพจาก : giffarine.com

          ถ้าใครต้องการกรดไขมัน DHA มากเป็นพิเศษ ลองหยิบน้ำมันปลากิฟฟารีนขวดนี้ที่มี DHA 500 มิลลิกรัม EPA 100 มิลลิกรัม โดยใน 1 แคปซูลจะได้น้ำมันปลาขนาด 1,000 มิลลิกรัม มาพิจารณาก็ได้ ส่วนกลิ่นและรสชาติเท่าที่มีรีวิวก็จัดว่ากินไม่ยาก มีกลิ่นคาวปลาค่อนข้างน้อย

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หลังอาหาร

  • ราคาปกติ : 620 บาท (บรรจุ 30 แคปซูล)

8. น้ำมันปลา DR.PONG DAILY OMEGA-3 ODOURLESS FISH OIL 1000 MG WITH VITAMIN E

น้ำมันปลา Dr.Pong

ภาพจาก : drpong.store

          แบรนด์อาหารเสริมที่กำลังมาแรงอย่าง Dr. Pong ก็มีน้ำมันปลาเช่นกัน เป็นสูตรที่ปราศจากกลิ่นคาวและผสมกลิ่นมินต์ให้รับประทานง่าย อีกทั้งยังเพิ่มวิตามินอีมาให้ด้วย โดยใน 1 แคปซูลจะประกอบไปด้วยน้ำมันปลา 1,000 มิลลิกรัม ซึ่งให้ EPA 180 มิลลิกรัม และ DHA 120 มิลลิกรัม พร้อมด้วยวิตามินอีอีก 15 หน่วยสากล และเป็นอีกแบรนด์ที่ชอบจัดโปรฯ บ่อย ๆ ด้วยนะ

  • วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร

  • ราคาปกติ : 1,000 บาท (บรรจุ 75 แคปซูล)

น้ำมันปลา ควรกินตอนไหนดี

น้ำมันปลาควรกินตอนไหน

          ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานน้ำมันปลาพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ควรอ่านวิธีรับประทานบนฉลากผลิตภัณฑ์แต่ละยี่ห้อแล้วกินตามนั้น เพื่อให้น้ำมันปลาปล่อยประสิทธิภาพออกมาได้เต็มที่ ที่สำคัญอย่าลืมอ่านข้อควรระวังก่อนรับประทานน้ำมันปลาด้วย

สิ่งที่ต้องระวังก่อนกินน้ำมันปลา

         น้ำมันปลาอาจไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน หรือในบางคนก็ควรต้องระวัง เช่น 

  • ผู้ที่แพ้ปลาทะเล ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำมันปลา 

  • ผู้ที่แพ้อาหารบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง กลูเตน เจลาติน ควรระวังการรับประทานน้ำมันปลา เพราะบางยี่ห้อมีส่วนผสมของอาหารเหล่านี้

  • ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำไม่ควรรับประทานน้ำมันปลา เพราะอาจทำให้ระดับความดันโลหิตลดลง

  • ควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวกับความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือดและผู้ที่มีประวัติการชัก

  • ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดทุกชนิด เช่น Warfarin หรือแอสไพริน

  • น้ำมันปลาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ หรือเรอมีกลิ่นคาวปลา จึงควรเริ่มกินในปริมาณน้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณเมื่อไม่มีอาการผิดปกติ

  • ควรเก็บน้ำมันปลาในที่ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดหรือความชื้น เพื่อป้องกันน้ำมันปลาเสื่อมประสิทธิภาพ

  • ในรายที่รับประทานน้ำมันปลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากต้องได้รับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานก่อนรับการผ่าตัดอย่างน้อย 15 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดแข็งตัวช้า

  • เด็ก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานน้ำมันปลา 

  • ไม่ควรรับประทานน้ำมันปลาเพื่อหวังผลในการป้องกันและรักษาโรค

          อาหารเสริมน้ำมันปลามีวางจำหน่ายหลากหลายยี่ห้อ ดังนั้น ลองพิจารณาจากรีวิวข้างต้นไปคร่าว ๆ ก็ได้ หากสนใจยี่ห้อไหนเป็นพิเศษ สามารถไปเลือกหาหรือปรึกษาเภสัชกรให้ช่วยแนะนำอีกทางก็จะยิ่งดี

บทความที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปลา

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : Swisse Thailand, amselnutraceutical.com, shopee, CEO Factory, GNC, herbalife.com, giffarine.com, drpong.store
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
น้ำมันปลา ช่วยอะไร ต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร เลือกซื้อยี่ห้อไหนดี ปี 2568 อัปเดตล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 15:41:27
TOP
x close