บริจาคเลือดถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะช่วยให้ผู้บริจาคได้รู้จักการเสียสละ และเกิดจิตกุศลที่คิดจะช่วยต่อชีวิตให้เพื่อนมนุษย์ แต่สำหรับคนที่กำลังป่วย ท้องเสีย กินยาบางชนิด เมนส์มาบริจาคเลือดได้ไหม มาเช็กข้อมูลกัน

หากใครมีความตั้งใจอันเป็นกุศลอยากจะบริจาคโลหิต แต่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองจะสามารถบริจาคได้หรือไม่ หรือต้องเตรียมร่างกายก่อนบริจาคเลือดอย่างไร หลังบริจาคเลือดห้ามอะไรบ้าง กระปุกดอทคอมได้รวบรวมข้อมูลสำคัญมาบอกแล้ว เพื่อให้การบริจาคโลหิตของคุณเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อตัวผู้ให้และผู้รับ
เช็กคุณสมบัติของผู้บริจาคเลือด

บริจาคเลือด อายุเท่าไร ใครบริจาคโลหิตได้บ้าง
นี่คือคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่สามารถบริจาคเลือดได้
1. ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. ต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์
◆ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
◆ ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกที่อายุเกิน 55-60 ปี ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์และพยาบาล
◆ ผู้บริจาคโลหิตที่มีอายุ 60-65 ปี และเคยบริจาคเป็นประจำมาตลอด สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน
◆ ผู้บริจาคโลหิตที่มีอายุ 65-70 ปี และเคยบริจาคเป็นประจำมาตลอด สามารถบริจาคได้ทุก 6 เดือน และต้องมีการตรวจนับจำนวนของเม็ดเลือดทุกชนิดทุกครั้ง (ไม่รับบริจาคในหน่วยเคลื่อนที่)
3. ต้องมีสุขภาพแข็งแรง ไม่อยู่ระหว่างไม่สบาย ไม่มีอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น อ่อนเพลียจากการอดนอน มึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารอื่น ๆ
4. นอนพักผ่อนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
5. ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยารักษาโรคบางอย่าง
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
7. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา
8. น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
9. กรณีมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ภูมิแพ้ ฯลฯ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน เพราะบางโรคสามารถบริจาคได้ บางโรคไม่สามารถบริจาคได้ เช่น โรคมะเร็ง
เป็นเมนส์บริจาคเลือดได้ไหม
จากข้อมูลปัจจุบันผู้หญิงที่มีประจำเดือนสามารถบริจาคโลหิตได้ ถ้าขณะนั้นมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ประจำเดือนไม่ได้มามากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลีย ปวดท้อง และตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้หญิงที่ 12.5 กรัม/เดซิลิตร
อาการป่วยกับการบริจาคโลหิต
สำหรับคนที่มีอาการป่วยดังต่อไปนี้ หรือเพิ่งฉีดวัคซีนมา ควรศึกษาข้อมูลก่อนไปบริจาคเลือด ดังนี้
1. ต้องไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา
2. หากเคยป่วยเป็นโรคตับอักเสบก่อนอายุ 11 ขวบ สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ถ้าป่วยหลังอายุ 11 ขวบ ซึ่งมักมีสาเหตุจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ต้องงดบริจาคโลหิตถาวร
3. กรณีคู่รักหรือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ควรงดบริจาคโลหิตในช่วง 1 ปี
4. หากเคยตรวจพบว่าเป็นพาหะของโรคตับอักเสบ ต้องงดบริจาคโลหิตถาวร
5. ต้องไม่เคยเป็นโรคมาลาเรียในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และต้องไม่เคยเข้าไปในพื้นที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา
6. ไม่ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ไข้ซิกา โควิด 19 หรือชิคุนกุนยา ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมา
7. กรณีเพิ่งฉีดวัคซีน
◆ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ป้องกันบาดทะยัก : ถ้าหลังฉีดวัคซีน 24 ชั่วโมง ไม่มีอาการข้างเคียง และบาดแผลหายดีแล้ว บริจาคโลหิตได้
◆ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ไวรัสตับอักเสบ เอ : ถ้าหลังฉีดวัคซีน 24 ชั่วโมง ไม่มีอาการข้างเคียง และบาดแผลหายดีแล้ว บริจาคโลหิตได้
◆ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี : สามารถบริจาคโลหิตได้หลังฉีดวัคซีนมาแล้ว 21 วัน
◆ วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และงูสวัด : หลังฉีดวัคซีน 4 สัปดาห์ ถ้าไม่มีอาการข้างเคียงสามารถบริจาคโลหิตได้
ข้อควรรู้ก่อนบริจาคเลือดที่หลายคนพลาดไป
1. เรื่องการใช้ยาต่าง ๆ
◆ หากกินยาปฏิชีวนะ ยาแก้อักเสบ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน จึงสามารถบริจาคโลหิตได้
◆ คนที่กินยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดข้อ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน
◆ คนที่เคยใช้ยารักษาหรือป้องกันโรค HIV ให้งดบริจาคโลหิต 1 ปี เพื่อติดตามผลการตรวจการติดเชื้อ หากผลตรวจเป็นลบสามารถบริจาคโลหิตได้
2. คนที่เพิ่งอุดฟัน ขูดหินปูน ให้เว้นระยะ 3 วันก่อนบริจาคเลือด ส่วนคนที่ถอนฟัน รักษารากฟัน ให้เว้นระยะ 7 วัน
3. คนที่เพิ่งเจาะหู ผิวหนัง สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ให้เว้นระยะ 4 เดือน
4. คนที่เพิ่งผ่าตัดเล็ก ให้เว้นระยะ 7 วัน ในกรณีผ่าตัดใหญ่ ให้เว้นระยะ 6 เดือน จึงค่อยบริจาคเลือด
5. คนที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือสเต็มเซลล์ ให้งดบริจาคโลหิตถาวร
6. คนที่เคยถูกเข็มเปื้อนเลือดตำในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ให้งดบริจาคโลหิต 1 ปี
7. ถ้ามีประวัติใช้สารเสพติด ต้องงดบริจาคโลหิตถาวร
เตรียมตัวก่อนบริจาคเลือดยังไง

หลังจากตรวจสอบคุณสมบัติข้างต้นแล้วพบว่าเราสามารถบริจาคโลหิตได้ ก่อนเดินทางไปยังศูนย์รับบริจาคก็ควรเตรียมร่างกายก่อนบริจาคเลือด ดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต แต่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ ภายใน 6 ชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
3. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน ก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง
5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
6. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
• ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค
• ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่า เรามีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ ดังนั้น อย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่จะตอบคำถาม
• ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน
• ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต
• ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว
![บริจาคเลือด บริจาคเลือด สภากาชาดไทย]()
• เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี
• ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะไม่มีผื่นคันหรือรอยเขียวช้ำ
• ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
• ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
• ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
• ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก
• หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
• หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
• ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูง จนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
หลังบริจาคเลือด ดูแลร่างกายอย่างไร
![บริจาคเลือด หลังบริจาคเลือดห้ามอะไร]()
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต
2. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต แต่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ ภายใน 6 ชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
3. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน ก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต
4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง
5. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
6. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
ขั้นตอนการบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทย
• ขั้นตอนที่ 1 กรอกแบบฟอร์มผู้บริจาคโลหิต ควรให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริงของผู้บริจาค
• ขั้นตอนที่ 2 ตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต และความเข้มโลหิต
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์จะสอบถามประวัติผู้บริจาคเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นว่า เรามีสุขภาพพร้อมที่จะบริจาคโลหิตหรือไม่ ดังนั้น อย่าปิดบังข้อมูลเรื่องสุขภาพ หรือเขินอายที่จะตอบคำถาม
• ขั้นตอนที่ 3 ลงทะเบียนรับหมายเลขถุงบรรจุโลหิต ที่เคาน์เตอร์ทะเบียน
• ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต
• ขั้นตอนที่ 5 พักรับประทานอาหารว่าง/เครื่องดื่ม หลังจากบริจาคโลหิตแล้ว

สิ่งที่ควรทำ ขณะบริจาคโลหิต
• เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี
• ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะไม่มีผื่นคันหรือรอยเขียวช้ำ
• ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
• ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
• ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
• ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก
• หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
• หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำและรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง
• ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูง จนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
หลังบริจาคเลือด ดูแลร่างกายอย่างไร

เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวไว หลังบริจาคเลือดแล้ว เราควรดูแลตัวเอง ดังนี้
1. ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
2. ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
3. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
4. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
หลังบริจาคเลือดห้ามอะไรบ้าง
1. งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนัก ๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
2. หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ
3. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟต์ บันไดเลื่อน เพราะอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
4. ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
บริจาคเลือดได้ที่ไหนบ้าง
![บริจาคเลือด บริจาคเลือดได้ที่ไหน]()
ภาพจาก : KPhrom/Shutterstock
ศูนย์รับบริจาคโลหิตมีอยู่หลายแห่งกระจายทุกจังหวัด เช่น
◆ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
◆ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) 7 แห่ง ได้แก่
• สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค)
• ห้องรับบริจาคโลหิต เดอะมอลล์ 4 สาขา (บางแค, บางกะปิ, งามวงศ์วาน, ท่าพระ)
• ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม
• บ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)
◆ โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพฯ 8 แห่ง ได้แก่
• โรงพยาบาลรามาธิบดี
• โรงพยาบาลสิรินธร
• โรงพยาบาลตำรวจ
• โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
• กรมแพทย์ทหารเรือ
• โรงพยาบาลราชวิถี
• สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฏเกล้า
• โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
• คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
◆ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา และภูเก็ต
◆ โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ
◆ หน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตตามพื้นที่ต่าง ๆ
ทั้งนี้ อย่าลืมตรวจสอบคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตให้ชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถบริจาคได้อย่างปลอดภัยและโลหิตของเราจะมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับผู้รับ อย่างไรก็ตาม หากใครมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยรับบริจาคโลหิตได้โดยตรง
• อัปเดต ! จุดรับบริจาคเลือด มีที่ไหนบ้าง จากลิสต์ศูนย์บริจาคโลหิตทั่วไทย
• บริจาคเลือด ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง บริจาคหลายครั้งได้รักษาฟรีจริงไหม ?
• รู้หรือไม่ สิทธิพิเศษสำหรับผู้บริจาคโลหิต ช่วยค่ารักษาพยาบาลได้ด้วยนะ
• บริจาคเลือด 1 ครั้ง เผาผลาญได้ตั้ง 650 แคลอรี เฮ้ยจริงดิ !
• 14 มิถุนายน วันผู้บริจาคโลหิตโลก...ขอบคุณผู้ต่อชีวิตให้เพื่อนมนุษย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : สภากาชาดไทย (1), (2), (3), คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
สิ่งที่ควรทำหลังบริจาคเลือด
1. ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อซ กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิต เพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
2. ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
3. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
4. รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
หลังบริจาคเลือดห้ามอะไรบ้าง
1. งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนัก ๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
2. หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมาก ๆ
3. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงลิฟต์ บันไดเลื่อน เพราะอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนและเป็นลมได้
4. ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
บริจาคเลือดได้ที่ไหนบ้าง

ภาพจาก : KPhrom/Shutterstock
◆ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
◆ หน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ (Fixed Station) 7 แห่ง ได้แก่
• สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม (บางแค)
• ห้องรับบริจาคโลหิต เดอะมอลล์ 4 สาขา (บางแค, บางกะปิ, งามวงศ์วาน, ท่าพระ)
• ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรียม
• บ้านทรงไทย (ย่านวงศ์สว่าง)
◆ โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพฯ 8 แห่ง ได้แก่
• โรงพยาบาลรามาธิบดี
• โรงพยาบาลสิรินธร
• โรงพยาบาลตำรวจ
• โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
• กรมแพทย์ทหารเรือ
• โรงพยาบาลราชวิถี
• สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฏเกล้า
• โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
• คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
◆ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา และภูเก็ต
◆ โรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ
◆ หน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตตามพื้นที่ต่าง ๆ
ทั้งนี้ อย่าลืมตรวจสอบคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิตให้ชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถบริจาคได้อย่างปลอดภัยและโลหิตของเราจะมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับผู้รับ อย่างไรก็ตาม หากใครมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยรับบริจาคโลหิตได้โดยตรง
บทความที่เกี่ยวข้องกับบริจาคเลือด
• อัปเดต ! จุดรับบริจาคเลือด มีที่ไหนบ้าง จากลิสต์ศูนย์บริจาคโลหิตทั่วไทย
• บริจาคเลือด ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง บริจาคหลายครั้งได้รักษาฟรีจริงไหม ?
• รู้หรือไม่ สิทธิพิเศษสำหรับผู้บริจาคโลหิต ช่วยค่ารักษาพยาบาลได้ด้วยนะ
• บริจาคเลือด 1 ครั้ง เผาผลาญได้ตั้ง 650 แคลอรี เฮ้ยจริงดิ !
• 14 มิถุนายน วันผู้บริจาคโลหิตโลก...ขอบคุณผู้ต่อชีวิตให้เพื่อนมนุษย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : สภากาชาดไทย (1), (2), (3), คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี