บริจาคเลือด ไม่ใช่เพียงแค่การให้เลือด แต่เป็นการให้โอกาสมีชีวิตใหม่แก่ผู้ป่วยที่ต้องการเลือดเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้รับสิทธิประโยชน์ของการบริจาคเลือด ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน มาดูกันว่าการบริจาคเลือดครั้งหนึ่ง จะมอบอะไรให้เราบ้าง และถ้าบริจาคหลายครั้งจะได้รักษาพยาบาลฟรีจริงไหม
นอกจากหยดเลือดของเราจะช่วยต่อชีวิตคนอื่นได้แล้ว เรายังได้สุขภาพดีกลับมาอีกด้วย
บริจาคเลือดดีต่อสุขภาพหลายอย่าง
ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่
ลดความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง
ได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ทราบหมู่เลือดของตัวเอง
บริจาคเลือดได้สิทธิอะไรบ้าง
รักษาฟรีจริงไหม
-
ผู้บริจาคโลหิต 1 ครั้งขึ้นไป : ช่วยเหลือค่าห้องพิเศษ และค่าอาหารพิเศษ ตามสิทธิพื้นฐานที่สามารถเบิกได้ก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บ 50%
-
ผู้บริจาคโลหิต 18 ครั้งขึ้นไป : ช่วยเหลือค่าห้องพิเศษ และค่าอาหารพิเศษ เรียกเก็บ 50% ของอัตราที่กำหนดไว้
ประกอบด้วย 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
-
ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป : ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด คลอดบุตร เสีย 50% จากอัตราที่กำหนด ยกเว้นการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์พิเศษไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ยังคงต้องชำระค่ารักษาประเภทผู้ป่วยสามัญ
- ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป : ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด คลอดบุตร เสีย 50% จากอัตราที่กำหนด ยกเว้นการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์พิเศษไม่สามารถใช้สิทธิได้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องชำระค่ารักษาประเภทผู้ป่วยสามัญ
- ต้องใช้สิทธิพื้นฐานของตัวเองก่อน เช่น บัตรทอง บัตรข้าราชการ ประกันสังคม ส่วนเกินของสิทธิที่มี จึงใช้สิทธิส่วนลดผู้บริจาคโลหิตได้
- สามารถใช้สิทธิได้เมื่อเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น
- ผู้บริจาคโลหิตต้องเป็นคนใช้สิทธิเอง เนื่องจากเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่สามารถโอนให้ผู้อื่นได้
- ผู้ใช้สิทธิต้องมีหนังสือรับรองจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โดยสามารถนำบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตหรือบัตรประจำตัวประชาชนมาขอหนังสือรับรองได้เมื่อรู้วันนอนโรงพยาบาลที่แน่นอนได้ที่
◆ กทม. : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภาชาดไทย ชั้น 1 ในวัน-เวลาราชการ
◆ ต่างจังหวัด : ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ ในวัน-เวลาราชการ
ทั้งนี้ หนังสือรับรองสามารถใช้ลดหย่อนการรักษาพยาบาลได้เป็นครั้ง ๆ ไป
สิทธิประโยชน์
บริจาคเลือด รพ.ศิริราช
เงื่อนไขการใช้สิทธิ
1. ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับส่วนลด ได้แก่ ค่าหัตถการ ค่าผ่าตัด ค่าบริการวิสัญญี ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจทางรังสีวิทยา ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ทั่วไป และค่าบริการอื่น ๆ (อ้างอิงตามรายการที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้เบิกได้)
2. ค่ารักษาพยาบาลที่ไม่ได้รับส่วนลด คือ การบริการรักษาพยาบาล ณ คลินิกพิเศษ, ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ทั่วไป และค่าบริการอื่น ๆ ที่เบิกไม่ได้ตามรายการของกรมบัญชีกลาง, ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค, การตรวจพิเศษที่จำเป็นต้องส่งไปทำที่อื่นที่ไม่มีบริการในคณะฯ
3. ผู้บริจาคโลหิตที่ใช้สิทธิข้าราชการได้ส่วนลดส่วนเกินเพดานสิทธิ เฉพาะรายการที่กรมบัญชีกลางกำหนดให้เบิกได้
4. สิทธิประโยชน์ของผู้บริจาคโลหิตจะเริ่มภายหลังจากการบริจาคโลหิตครบจำนวนครั้งที่กำหนดไว้แล้ว 30 วัน
5. สิทธิประโยชน์ของผู้บริจาคโลหิตถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนต่อให้บุคคลอื่นไม่ได้
6. กรณีผู้บริจาคโลหิตมีสิทธิรักษาพยาบาลอื่น ๆ เช่น สิทธิต้นสังกัดจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกันสังคม บัตรทอง ประกันชีวิต ให้พิจารณาใช้สิทธิดังกล่าวก่อน แล้วจึงใช้สิทธิผู้บริจาคโลหิต
หากใครเคยบริจาคโลหิตกับหน่วยงานหรือโรงพยาบาลอื่น ๆ สามารถสอบถามถึงสิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานนั้น ๆ ได้โดยตรง
บทความที่เกี่ยวข้องกับบริจาคเลือด
- เตรียมร่างกายให้พร้อม...ก่อนไปบริจาคโลหิต
- บริจาคเลือด 1 ครั้ง เผาผลาญได้ตั้ง 650 แคลอรี เฮ้ยจริงดิ !
- กัญชาอยู่ในเลือดกี่วัน กิน-ใช้-สูบกัญชา กัญชง กระท่อม บริจาคเลือดได้ไหม
- กรุ๊ปเลือดบี กับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ ที่อาจเสี่ยงกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น
- กรุ๊ปเลือด O เช็กให้ไว เราเสี่ยงป่วยโรคอะไรมากกว่าหมู่เลือดอื่น
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย (1), (2), โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล