เช็กอาการต่อมหมวกไตล้า ภัยเงียบของวัยทำงาน หมดไฟ อ่อนเพลียง่าย อยากกินแต่ของหวาน ๆ อาจเพราะต่อมหมวกไตอ่อนแอ
ถ้าช่วงนี้รู้สึกเหนื่อย ๆ ไม่ค่อยมีแรง ไม่อยากตื่นนอนเลยในตอนเช้า แถมยังง่วงงุนทุกบ่าย แต่ดันมาสดชื่นตอนช่วงเย็น ๆ เป็นต้นไป พร้อมมีอาการซึม ๆ อึน ๆ มากขึ้นทุกวัน แถมบางคนยังอ้วนขึ้นเพราะติดกินหวาน กินอาหารเค็ม ๆ ทำให้ลดน้ำหนักไม่ลง ออกกำลังกายก็แล้วแต่ก็ยังไม่ผอม เอ๊ะ ! อาการชักแปลก ๆ หรือว่าอวัยวะข้างในอย่างต่อมหมวกไตกำลังงอแง มีอาการต่อมหมวกไตล้า หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Adrenal Fatigue
ภาวะต่อมหมวกไตล้า คือ อาการผิดปกติของร่างกายโดยมีความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้น จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ถูกลืม เนื่องจากโดยส่วนมากแล้วภาวะนี้จะไม่ค่อยได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที
ทั้งนี้ ต่อมหมวกไตมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียด หรือที่เรียกว่า คอร์ติซอล (Cortisol) เมื่อร่างกายเครียด ต่อมหมวกไตก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่ง พญ.ชนิดา ขวัญฐิตินันท์ แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายว่า ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมาเพื่อปรับสมดุลร่างกาย แต่หากร่างกายมีความเครียดอย่างต่อเนื่อง ต่อมหมวกไตก็อาจจะเกิดอาการล้าได้
ต่อมหมวกไตล้า เกิดจากสาเหตุอะไร
หากจะกล่าวว่าอาการต่อมหมวกไตล้าเกิดจากความเครียดเป็นหลักก็ว่าได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายมีความเครียดตลอดเวลา ต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลออกมาเพื่อสู้กับภาวะความเครียดนั้น ซึ่งหากคอร์ติซอลหลั่งออกมามากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ในการสลายและทำลายล้าง ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว และเมื่อต่อมหมวกไตต้องหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ต่อมหมวกไตเข้าสู่ภาวะอ่อนล้าได้
และนอกจากความเครียดที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจแล้ว ทุกวันนี้เรายังมีความเครียดทางกายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือที่เรียกว่า Physical Stress ซึ่งได้แก่
- ความเครียดจากการนอนดึก
- ความเครียดจากการไม่รับประทานอาหารเช้า
- ความเครียดที่เกิดจากการรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมาก
- ความเครียดที่เกิดจากมลภาวะในอากาศ ในน้ำ หรือสารพิษที่เจือปนมากับอาหาร เป็นต้น
หากจะกล่าวว่าอาการต่อมหมวกไตล้าเกิดจากความเครียดเป็นหลักก็ว่าได้ เนื่องจากเมื่อร่างกายมีความเครียดตลอดเวลา ต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลออกมาเพื่อสู้กับภาวะความเครียดนั้น ซึ่งหากคอร์ติซอลหลั่งออกมามากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ในการสลายและทำลายล้าง ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว และเมื่อต่อมหมวกไตต้องหลั่งคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ต่อมหมวกไตเข้าสู่ภาวะอ่อนล้าได้
และนอกจากความเครียดที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจแล้ว ทุกวันนี้เรายังมีความเครียดทางกายที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่งผลเสียต่อสุขภาพ หรือที่เรียกว่า Physical Stress ซึ่งได้แก่
- ความเครียดจากการนอนดึก
- ความเครียดจากการไม่รับประทานอาหารเช้า
- ความเครียดที่เกิดจากการรับประทานของหวานหรือน้ำตาลมาก
- ความเครียดที่เกิดจากมลภาวะในอากาศ ในน้ำ หรือสารพิษที่เจือปนมากับอาหาร เป็นต้น
ต่อมหมวกไตล้า อาการเป็นอย่างไร
เช็กอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้ดังนี้
- ตื่นยาก ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น แม้นอนหลับเพียงพอแล้วก็ยังรู้สึกเหนื่อยล้า
- อ่อนเพลีย รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน แอบงีบแล้วก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น
- รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นในตอนเย็น เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานผิดปกติ
- อยากกินของหวาน ของเค็ม รู้สึกสดชื่นขึ้นเมื่อได้กินของหวาน
เช็กอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้า ได้ดังนี้
- ตื่นยาก ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น แม้นอนหลับเพียงพอแล้วก็ยังรู้สึกเหนื่อยล้า
- อ่อนเพลีย รู้สึกง่วงเหงาหาวนอนทั้งวัน แอบงีบแล้วก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้น
- รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นในตอนเย็น เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานผิดปกติ
- อยากกินของหวาน ของเค็ม รู้สึกสดชื่นขึ้นเมื่อได้กินของหวาน
- ง่วงแต่นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ
- อารมณ์ทางเพศลดน้อยลง
- ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ท้องผูก
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า เพราะภาวะต่อมหมวกไตล้าทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
- เครียด เบื่อ โกรธง่าย โมโหง่าย
- อารมณ์ทางเพศลดน้อยลง
- ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ภูมิแพ้กำเริบบ่อย ๆ
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ท้องผูก
- วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า เพราะภาวะต่อมหมวกไตล้าทำให้ความดันโลหิตต่ำลง
- เครียด เบื่อ โกรธง่าย โมโหง่าย
- ผิวแห้งและแพ้ง่าย
- ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ แม้จะคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำก็ตาม
- ความจำลดลง ขี้หลงขี้ลืม
- ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่ทำ
- ไม่มีแรง หรือพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน
- ป่วยบ่อย หายป่วยช้า เพราะภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ แม้จะคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำก็ตาม
- ความจำลดลง ขี้หลงขี้ลืม
- ไม่มีสมาธิกับสิ่งที่ทำ
- ไม่มีแรง หรือพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน
- ป่วยบ่อย หายป่วยช้า เพราะภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
หากมีอาการเหล่านี้หลาย ๆ ข้อ มาสักระยะเวลาหนึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ เผื่อพบว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้า จะได้รักษาให้กลับมาเป็นปกตินะคะ
ต่อมหมวกไตล้า ตรวจได้ยังไง
นอกจากอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้าแล้ว การวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตล้ายังสามารถตรวจได้จากการตรวจเลือด เพื่อเช็กระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและฮอร์โมน DHEA ว่าอยู่ในระดับที่สมดุลหรือไม่
ต่อมหมวกไตล้า ตรวจได้ยังไง
นอกจากอาการของภาวะต่อมหมวกไตล้าแล้ว การวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตล้ายังสามารถตรวจได้จากการตรวจเลือด เพื่อเช็กระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและฮอร์โมน DHEA ว่าอยู่ในระดับที่สมดุลหรือไม่
ต่อมหมวกไตล้า รักษาอย่างไร
วิธีรักษาอาการต่อมหมวกไตล้า หลัก ๆ จะเป็นการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อลดความเครียดที่มีอยู่ โดยคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า มีดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน และควรเข้านอนให้เร็วขึ้น และเป็นเวลา
2. รับประทานอาหารเช้าก่อนเวลา 10.00 น.
3. รับประทานมื้ออาหารเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง โดยอาจจะแบ่งอาหารออกเป็น 6 มื้อ
4. ออกกำลังกายแบบปานกลาง สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น โยคะ วิ่งจ๊อกกิ้งในสวน เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจทำให้ต่อมหมวกไตล้ามากขึ้น
วิธีรักษาอาการต่อมหมวกไตล้า หลัก ๆ จะเป็นการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อลดความเครียดที่มีอยู่ โดยคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า มีดังนี้
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน และควรเข้านอนให้เร็วขึ้น และเป็นเวลา
2. รับประทานอาหารเช้าก่อนเวลา 10.00 น.
3. รับประทานมื้ออาหารเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง โดยอาจจะแบ่งอาหารออกเป็น 6 มื้อ
4. ออกกำลังกายแบบปานกลาง สัปดาห์ละ 3 วัน เช่น โยคะ วิ่งจ๊อกกิ้งในสวน เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจทำให้ต่อมหมวกไตล้ามากขึ้น
5. คลายเครียดด้วยการไปเที่ยวพักผ่อน หรือหางานอดิเรกทำ
6. ฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก หรือนั่งสมาธิ
7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานโปรตีนให้มากขึ้น และลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
8. ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
9. แพทย์อาจให้วิตามินเพื่อช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
10. รักษาด้วยการให้ยาหรือฮอร์โมนตัวอื่น ๆ เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต
ทั้งนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยก็ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายกลับมาสดชื่น แข็งแรง และเป็นปกติในเร็ววัน
- 14 วิธีคลายเครียด สูตรลัดทันใจใน 2 นาที น่าลองสุด ๆ
- 9 วิธีหายใจคลายเครียด จัดไปให้หายกังวลใน 10 นาที !
- 7 ท่าโยคะคลายเครียด งานเข้าจนเพลีย วิธีนี้ล่ะช่วยได้ !
6. ฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก หรือนั่งสมาธิ
7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานโปรตีนให้มากขึ้น และลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
8. ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
9. แพทย์อาจให้วิตามินเพื่อช่วยลดการอักเสบของร่างกาย
10. รักษาด้วยการให้ยาหรือฮอร์โมนตัวอื่น ๆ เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไต
ทั้งนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมอาจใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งผู้ป่วยก็ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายกลับมาสดชื่น แข็งแรง และเป็นปกติในเร็ววัน
- 14 วิธีคลายเครียด สูตรลัดทันใจใน 2 นาที น่าลองสุด ๆ
- 9 วิธีหายใจคลายเครียด จัดไปให้หายกังวลใน 10 นาที !
- 7 ท่าโยคะคลายเครียด งานเข้าจนเพลีย วิธีนี้ล่ะช่วยได้ !
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561
ขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลพญาไท
โรงพยาบาลสมิติเวช
สมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วน กรุงเทพ
โรงพยาบาลพญาไท
โรงพยาบาลสมิติเวช
สมาคมแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพและส่งเสริมการศึกษาโรคอ้วน กรุงเทพ