เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม 2568 ทำได้หลายวิธี มาเช็กกันว่าเริ่มย้ายสิทธิได้เมื่อไหร่ แล้วต้องรอกี่วันถึงสามารถใช้สิทธิที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ มนุษย์เงินเดือนหรือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ที่มีอาการเจ็บป่วย สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรักษาพยาบาลได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ โรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น แต่ในกรณีที่เราไม่สะดวกไปใช้โรงพยาบาลแห่งเดิมในปี 2568 และต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมแห่งใหม่จะต้องทำอย่างไรถึงย้ายสิทธิได้ ลองมาเช็กรายละเอียด เงื่อนไข และวิธีย้ายโรงพยาบาลประกันสังคม ที่ด้านล่างนี้ คนที่สามารถย้ายสิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้ประกันตนตาม ประกันสังคม มาตรา 33 หรือ ประกันสังคม มาตรา 39 ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารักษาพยาบาล กรณีที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 สิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตนแล้ว จะยังสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลต่อไปได้อีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลอื่น ในปี 2568 สามารถดำเนินการยื่นขอย้ายสิทธิการรักษาได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568 โดยทั่วไปจะสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ปีละครั้งในช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคมของปีถัดไป ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ยกเว้นกรณีมีเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่ทำงาน ย้ายที่อยู่อาศัย กรณีนี้เราสามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ตลอดทั้งปี โดยต้องยื่นเรื่องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ย้ายที่ทำงานหรือย้ายที่อยู่อาศัย เราสามารถเลือกโรงพยาบาลได้จากรายชื่อที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งจะมีการอัปเดตข้อมูลอยู่เสมอที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม โดยมีเงื่อนไขในการเลือกสถานพยาบาล ดังนี้ เป็นสถานพยาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่ทำงานอยู่ หรืออยู่ในเขตที่พักอาศัยอยู่จริง หรือพักอาศัยในเขตจังหวัดรอยต่อเท่านั้น สถานพยาบาลยังเปิดรับผู้ประกันตนรายใหม่ ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือสอบถามจากสถานพยาบาลแห่งนั้นโดยตรง ทั้งนี้ หากสถานพยาบาลรับผู้ประกันตนเต็มจำนวนแล้วจะไม่สามารถรับเพิ่มได้อีก ผู้ประกันตนสามารถดำเนินการย้ายโรงพยาบาลได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ 4 วิธี คือ ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนไปยื่นแบบเลือกโรงพยาบาล (สปส.9-02) ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ กรณีไม่สะดวกไปยื่นแบบที่สำนักงานประกันสังคม เราสามารถยื่นขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ในข้อถัด ๆ ไป แอดไลน์ @ssothai ของสำนักงานประกันสังคม แล้วเลือก "ข้อมูลของคุณ" กรอกข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบ หรือถ้ายังไม่เป็นสมาชิกให้สมัครสมาชิก เลือกเมนู "เปลี่ยนโรงพยาบาล" เลือกสาเหตุที่เปลี่ยนโรงพยาบาล เลือกโรงพยาบาลใหม่ที่ต้องการ อ่านหลักเกณฑ์การเลือกสถานพยาบาลให้ครบถ้วน กดยอมรับข้อตกลง และกด "ยืนยัน" ยื่นเรื่องเรียบร้อย รอผลภายใน 2 วัน เข้าเว็บไซต์ sso.go.th กรอกข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบ (ใช้ Username และ Password เดียวกับที่ลงทะเบียนผ่านไลน์สำนักงานประกันสังคม) หรือถ้ายังไม่เคยลงทะเบียนให้เลือก "สมัครสมาชิก" หรือเลือกเข้าสู่ระบบผ่านแอปฯ ThaiD เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วจะมาที่หน้าตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน ให้เราเลือก "ขอเปลี่ยนสถานพยาบาล" กรอกข้อมูลสถานพยาบาลที่ต้องการย้ายสิทธิไป และกดยอมรับข้อตกลง ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO+ ของสำนักงานประกันสังคม จากนั้นลงชื่อเข้าสู่ระบบ (ถ้ายังไม่เคยลงทะเบียนให้ลงทะเบียนก่อน) กดภาพสี่เหลี่ยมตรงมุมบนซ้ายของแอปฯ เลือก "เปลี่ยนโรงพยาบาล" เลือกเหตุผลในการเปลี่ยนสถานพยาบาล เลือกสถานพยาบาลแห่งใหม่ที่ต้องการ อ่านหลักเกณฑ์การเลือกสถานพยาบาลให้ครบถ้วน กดยอมรับข้อตกลง และกด "ยืนยัน" ผู้ที่ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม : ใช้แบบฟอร์ม สปส.9-02 และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ที่เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมออนไลน์ : ไม่ต้องยื่นเอกสารใด ๆ สามารถกรอกข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย เมื่อเรายื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาลแล้ว ทางสำนักงานประกันสังคมจะกำหนดวันที่เริ่มมีสิทธิรับบริการทางการแพทย์ ดังนี้ กรณีสำนักงานประกันสังคมรับเอกสารขอเปลี่ยนโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 (ก่อน 16.30 น. ของวันที่ 15) เราจะสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 16 ของเดือนนั้น กรณีสำนักงานประกันสังคมรับเอกสารขอเปลี่ยนโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือน (ก่อน 16.30 น. ของวันสุดท้ายของเดือน) เราจะสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งใหม่ได้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป ผู้ประกันตนมาตรา 33 : สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งผลการเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 39 : สำนักงานประกันสังคมจะแจ้งผลการเปลี่ยนสถานพยาบาลทางข้อความ (SMS) ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้กับสำนักงานประกันสังคม จากข้อมูล ณ วันที่ 3 มกราคม 2568 ยังมีโรงพยาบาลที่เปิดรับผู้ประกันตนประกันสังคมอยู่ทั้งสิ้น 97 แห่ง ดังนี้ อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลจะปิดรับผู้ประกันตนเมื่อรับเต็มจำนวนแล้ว สามารถเช็กข้อมูลอัปเดตได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม มีหลายสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ อาทิ สถานะการเป็นผู้ประกันตนไม่เข้าเงื่อนไข : เช่น เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 จึงไม่สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 แต่ถ้าส่งเงินสมทบไม่ครบตามเงื่อนไข หรือสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตนไปแล้ว ข้อมูลส่วนตัวไม่ถูกต้อง : ควรตรวจสอบชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน และข้อมูลอื่น ๆ ให้ถูกต้องก่อนทำรายการ อยู่นอกเวลาที่ให้เปลี่ยนโรงพยาบาล : หากต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมประจำปีจะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ของปีปัจจุบัน - 31 มีนาคม ของปีถัดไป นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารถย้ายโรงพยาบาลได้ ยกเว้นมีการย้ายบ้าน ย้ายที่ทำงาน จึงสามารถเลือกเปลี่ยนโรงพยาบาลระหว่างปีได้ โรงพยาบาลใหม่ที่ต้องการย้ายไปไม่เปิดรับคนเพิ่ม : หากโรงพยาบาลที่เราต้องการย้ายไปรักษาเปิดรับผู้ประกันตนเต็มจำนวนแล้ว เราจะไม่สามารถย้ายสิทธิไปได้ ต้องเลือกโรงพยาบาลแห่งอื่นแทน ระบบขัดข้อง : ช่วงที่ทำรายการเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมผ่านออนไลน์อาจเป็นช่วงที่ระบบกำลังปรับปรุงอยู่ แนะนำให้รอสักพักหรือรอวันถัดไป แล้วเข้าทำรายการใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้ หากไม่สามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ หรือมีข้อสงสัยใด ๆ แนะนำให้สอบถามข้อมูลที่สำนักงานประกันสังคม หรือโทร. 1506 ตรวจสุขภาพประกันสังคมฟรี ตรวจอะไรบ้าง เช็กเลย...ใช้สิทธิอย่างไร มีประกันสังคมใช้บัตรทองได้ไหม อยากเปลี่ยนมาใช้สิทธิบัตรทองต้องทำยังไง ? ประกันสังคม ทำฟันอะไรได้บ้าง สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้ ! ประกันสังคม ใช้สิทธิต่างโรงพยาบาลได้ไหม เข้า รพ. เอกชน ได้หรือเปล่า ? ประกันสังคม จ่ายเท่าไหร่ คุ้มครองอะไรบ้าง สรุปทุกสิทธิและวิธีเช็กสิทธิประกันสังคม มาตรา 33, 39, 40 ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานประกันสังคม, เฟซบุ๊ก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - Social Security Office
แสดงความคิดเห็น