ก้างปลาติดคอ ทำไงดี มาดูวิธีแก้อาการก้างปลาติดคอเบื้องต้นที่คุณเองก็ทำได้
ในกรณีที่ก้างปลามีขนาดไม่ใหญ่มาก และติดคอไม่ลึกมากนัก การดื่มน้ำกลั้วคออาจช่วยให้ก้างปลาที่ติดคออยู่หลุดไปได้
แต่หากดื่มน้ำแล้วก้างปลายังไม่หลุดสักที อาจต้องลองวิธีอื่น
เพราะหากฝืนดื่มน้ำต่อไปอีกเรื่อย ๆ
อาจจะทำให้รู้สึกจุกเพราะดื่มน้ำมากเกินไปก็เป็นได้ค่ะ
เมื่อก้างติดคอ หลาย ๆ คนก็พยายามที่จะทำทุกวิถีทางให้ก้างหลุดออกมา จนอาจจะทำผิดวิธี และพาลทำให้อาการหนักกว่าเดิม และจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากรู้ตัวว่าก้างปลาติดคอ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วล้วง หรือยืดคอ เพราะอาจจะทำให้ก้างปลาที่ติดอยู่ในคอหลุดลงไปในหลอดอาหารและเป็นอันตรายกับหลอดอาหารได้
- ห้ามนำสิ่งของแหย่ลงไปในคอเพื่อเขี่ยก้างปลาออก เพราะอาจจะทำให้สิ่งของเหล่านั้นหลุดลงไปในคอและยิ่งเป็นอันตรายกว่าเดิม
- เลี่ยงการนวดหรือบีบบริเวณคอด้านนอก เพราะนั้นอาจจะยิ่งทำให้ก้างปลาทิ่มเข้าไปในคอลึกขึ้น และไม่สามารถนำออกมาได้ อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าเดิมด้วย
- อย่าปล่อยให้ก้างติดคอนานเกินไป เพราะยิ่งติดนานเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น
ถ้าลองวิธีแก้ก้างปลาติดคอเบื้องต้นแล้วหายก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากใครยังรู้สึกระคายคออยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าก้างคอหลุดไปหรือยัง กรณีนี้ก็ควรไปพบแพทย์ด้วยเหมือนกัน เพราะบางทีก้างปลาหลุดไปแล้ว แต่แผลจากก้างปลายังอยู่ ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บคอได้ และควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีด้วย
ปลา น่าจะเป็นอาหารจานโปรดของใครหลาย ๆ คน
เพราะนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้วก็ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย
ไม่ว่าจะนำไปตุ๋น ต้ม นึ่ง ทอด ก็เหมาะทั้งนั้น แต่ก็ต้องยอมรับนะว่า
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเวลารับประทานปลาก็คือเจ้าก้างชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ที่ต้องคอยสังเกตดี
ๆ นี่ล่ะเพราะถ้าเผลอกินเข้าไปแล้วเคี้ยวละเอียดก็อาจจะไม่เป็นอะไร
แต่ถ้าโชคร้าย ก้างปลาดันไปติดคอ ทำให้รู้สึกเจ็บ จะกลืนน้ำลายก็คงลำบาก
อยากจะเอาออกก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
วันนี้เราก็เลยหยิบเอาวิธีแก้ก้างปลาติดคอมาฝาก จะได้ไม่ต้องทนเจ็บ
หรือปล่อยให้เป็นปัญหาสุขภาพต่อไป
ดื่มน้ำมาก ๆ
ไอเบา ๆ
หากดื่มน้ำแล้วยังรู้สึกว่าก้างปลาติดคออยู่ ลองไอเบา ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ก้างปลาหลุดออกก็ได้ แต่วิธีนี้อาจได้ผลกับก้างปลาชิ้นเล็ก และติดคอแบบตื้น ๆ
พบแพทย์
ในกรณีที่ดื่มน้ำก็แล้ว ลองไอก็แล้ว แต่ก้างปลายังไม่หลุดสักที ยังระคายคออย่างต่อเนื่อง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจคอ และให้แพทย์ช่วยคีบก้างปลาออกให้จะดีกว่า เพราะหากปล่อยให้ก้างปลาติดคอนาน ๆ อาจทำให้เกิดแผลที่คอบริเวณนั้น เพิ่มโอกาสติดเชื้อ อักเสบ และในกรณีร้ายแรงที่สุดอาจติดเชื้อลามไปถึงเยื่อหุ้มปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจเลยทีเดียว
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อก้างปลาติดคอ
เมื่อก้างติดคอ หลาย ๆ คนก็พยายามที่จะทำทุกวิถีทางให้ก้างหลุดออกมา จนอาจจะทำผิดวิธี และพาลทำให้อาการหนักกว่าเดิม และจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากรู้ตัวว่าก้างปลาติดคอ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ค่ะ
- ไม่ควรกลืนอาหารคำใหญ่ ๆ อย่างก้อนข้าวเหนียว ข้าวปั้น ขนมปัง กล้วย หรือมาร์ชเมลโล เพราะอาหารที่พยายามกลืนเข้าไปอาจยิ่งไปกดทับให้ก้างปลาติดลึกลงไปอีก หรือการกดทับนั้นอาจทำให้เกิดแผลใหญ่กว่าเดิมได้
- ไม่ควรดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูเจือจาง เพราะความเข้มข้นของกรดจากน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูที่มนุษย์ทนได้ไม่สามารถกัดกร่อนก้างปลาให้สลายไป อีกทั้งอาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคืองด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วล้วง หรือยืดคอ เพราะอาจจะทำให้ก้างปลาที่ติดอยู่ในคอหลุดลงไปในหลอดอาหารและเป็นอันตรายกับหลอดอาหารได้
- ห้ามนำสิ่งของแหย่ลงไปในคอเพื่อเขี่ยก้างปลาออก เพราะอาจจะทำให้สิ่งของเหล่านั้นหลุดลงไปในคอและยิ่งเป็นอันตรายกว่าเดิม
- เลี่ยงการนวดหรือบีบบริเวณคอด้านนอก เพราะนั้นอาจจะยิ่งทำให้ก้างปลาทิ่มเข้าไปในคอลึกขึ้น และไม่สามารถนำออกมาได้ อีกทั้งยังอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากกว่าเดิมด้วย
- อย่าปล่อยให้ก้างติดคอนานเกินไป เพราะยิ่งติดนานเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น
ถ้าลองวิธีแก้ก้างปลาติดคอเบื้องต้นแล้วหายก็ถือว่าโชคดีไป แต่หากใครยังรู้สึกระคายคออยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าก้างคอหลุดไปหรือยัง กรณีนี้ก็ควรไปพบแพทย์ด้วยเหมือนกัน เพราะบางทีก้างปลาหลุดไปแล้ว แต่แผลจากก้างปลายังอยู่ ก็อาจทำให้มีอาการเจ็บคอได้ และควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีด้วย
บทความที่เกี่ยวข้องกับการปฐมพยาบาล
- สำลักอาหาร อาหารติดคอทำไงดี ปฐมพยาบาลให้ถูกวิธี มีสิทธิ์รอด 100%
- แมงดาทะเล กินอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษ
- แมลงเข้าหู ควรทำอย่างไร วิธีปฐมพยาบาลง่าย ๆ ยามฉุกเฉิน
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสำลักควัน หรือมีแผลไฟไหม้ เซฟตัวเองยังไงดี
- สารเคมีเข้าตา ปฐมพยาบาลอย่างไร ถ้าสูดดม-สัมผัสผิวหนัง ต้องล้างออกยังไง
- แมงดาทะเล กินอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเมื่อโดนพิษ
- แมลงเข้าหู ควรทำอย่างไร วิธีปฐมพยาบาลง่าย ๆ ยามฉุกเฉิน
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสำลักควัน หรือมีแผลไฟไหม้ เซฟตัวเองยังไงดี
- สารเคมีเข้าตา ปฐมพยาบาลอย่างไร ถ้าสูดดม-สัมผัสผิวหนัง ต้องล้างออกยังไง