ผลไม้สำหรับคนเป็นเบาหวานมีอะไรบ้าง แค่เลือกกินในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถอิ่มอร่อย พร้อมประโยชน์ แบบไม่ต้องกลัวน้ำตาลขึ้น
โซนสีแดง - ผลไม้ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทาน
ผลไม้ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทานก็คือผลไม้ในกลุ่มที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่
- ทุเรียน
- ขนุน
- น้อยหน่า
- มะขามหวาน
- ละมุด
- มะม่วงสุก
นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงผลไม้แปรรูปทุกชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้อบแห้ง ผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน และผลไม้กระป๋อง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับ ลูกพรุน อินทผลัมตากแห้ง เพราะผลไม้เหล่านี้มีการใช้น้ำตาลเป็นจำนวนมากในการแปรรูป
โซนสีเหลือง - ผลไม้ที่ผู้ป่วยเบาหวานรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณ
ผลไม้ในกลุ่มนี้เป็นผลไม้ในกลุ่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็ยังสามารถรับประทานได้ เพียงแต่ต้องจำกัดปริมาณการรับประทานต่อวันค่ะ เช่น
- ลองกอง และองุ่น รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 5-8 ผล
- ส้ม ชมพู่ และกล้วย รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 1-2 ผล
- มะม่วงดิบ และฝรั่ง รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 1/2 ผล
- มะละกอ สับปะรด รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 6-8 ชิ้นคำ
โซนสีเขียว - ผลไม้ที่ป่วยเบาหวานรับประทานได้ และควรรับประทาน
ผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้และควรรับประทานอย่างยิ่งก็คือผลไม้ในกลุ่มที่มีรสชาติไม่หวานมากและมีไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์ที่ได้จากผลไม้จะไปช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง อีกทั้งบรรดาไฟเบอร์ในผลไม้เหล่านี้ยังช่วยให้อิ่มไวอีกด้วย ซึ่งผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้มีดังนี้ค่ะ
- แอปเปิล
แอปเปิลเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงมาก อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่รสชาติไม่หวานจนเกินไป แถมคุณประโยชน์ในแอปเปิลก็ยังมีมากมาย ไม่ว่าจะช่วยในการลดน้ำหนัก เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ขณะที่ไฟเบอร์ในแอปเปิลก็ยังช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ซึ่งถ้าอยากให้ดีกับสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น ก็ควรเลือกรับประทานแอปเปิลเขียว เพราะแอปเปิลเขียวจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าแอปเปิลสีอื่น ๆ ค่ะ
- แก้วมังกร
ถือเป็นมิตรรักผู้ป่วยเบาหวานเลยก็ว่าได้ เพราะแก้วมังกรก็เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีไฟเบอร์สูง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรียังพบด้วยว่า เมือกของแก้วมังกรมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วยนะคะ เพราะถ้ารับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตราย
- มะเฟือง
แม้ว่ามะเฟืองจะเป็นผลไม้ที่ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มะเฟืองเป็นผลไม้อีกชนิดที่สามารถรับประทานได้ค่ะ เพราะมะเฟืองมีไฟเบอร์สูง และมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูงมากนัก เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งนี้ก็ควรรับประทานแต่พอดี เพราะรับประทานมากไปอาจส่งผลกระทบไปถึงไตค่ะ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ แต่ก็ไม่ควรเกินวันละ 600 มิลลิลิตรต่อวัน อีกทั้งยังไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไป เนื่องจากน้ำผลไม้ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด มีปริมาณน้ำตาลสูง อีกทั้งยังมีไฟเบอร์น้อย ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลในผลไม้ไปใช้ได้เร็วกว่า ทำให้โอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า ฉะนั้นทางที่ดีควรรับประทานผลไม้สดดีกว่านะคะ
ได้พอทราบกันไปแล้วว่ามีผลไม้ชนิดใดบางที่ควรลด ละ เลิก เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากนี้ไปก็คงจะเลือกรับประทานกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกันมากขึ้น แต่ถ้าอยากทราบกันให้ลึก ๆ กันไปเลยว่าผลไม้แต่ละชนิดมีปริมาณน้ำตาลเท่าไร ก็ลองตามไปดูที่ น้ำตาลจากผลไม้อ้วนหรือไม่ ส่องปริมาณความหวานในผลไม้ไทย จะได้เลือกผลไม้ได้ตรงใจและดีกับระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน
สสส.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเลือกทานอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องทำอย่างเคร่งครัด
เพราะถ้าหากเผลอรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเข้าไปก็ยิ่งจะส่งผลร้ายกับโรคเบาหวานที่เป็นอยู่
ซึ่งก็มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนไม่น้อยที่หลีกเลี่ยงการรับประทานแป้ง
กับน้ำตาล และหันมารับประทานผลไม้ให้มากขึ้น
เพราะเชื่อว่าผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีน้ำตาลไม่สูง
แต่นั่นก็ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมดค่ะ เพราะจริง ๆ
แล้วผลไม้บางชนิดก็มีน้ำตาลสูงจนควรหลีกเลี่ยงเลยเชียวล่ะ
แต่ว่าจะมีผลไม้ชนิดไหนบ้างที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทาน
หรือรับประทานได้แต่ควรจำกัดปริมาณ เราตามไปดูกันเลยค่ะ
ผลไม้ที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทานก็คือผลไม้ในกลุ่มที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่
- ทุเรียน
- ขนุน
- น้อยหน่า
- มะขามหวาน
- ละมุด
- มะม่วงสุก
- ลำไย
- แตงโม (น้ำตาลไม่สูง แต่ดูดซึมได้เร็ว)
- แตงโม (น้ำตาลไม่สูง แต่ดูดซึมได้เร็ว)
นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงผลไม้แปรรูปทุกชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้อบแห้ง ผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน และผลไม้กระป๋อง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับ ลูกพรุน อินทผลัมตากแห้ง เพราะผลไม้เหล่านี้มีการใช้น้ำตาลเป็นจำนวนมากในการแปรรูป
ผลไม้ในกลุ่มนี้เป็นผลไม้ในกลุ่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็ยังสามารถรับประทานได้ เพียงแต่ต้องจำกัดปริมาณการรับประทานต่อวันค่ะ เช่น
- ลองกอง และองุ่น รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 5-8 ผล
- ส้ม ชมพู่ และกล้วย รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 1-2 ผล
- มะม่วงดิบ และฝรั่ง รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 1/2 ผล
- มะละกอ สับปะรด รับประทานได้ไม่เกินมื้อละ 6-8 ชิ้นคำ
โซนสีเขียว - ผลไม้ที่ป่วยเบาหวานรับประทานได้ และควรรับประทาน
ผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้และควรรับประทานอย่างยิ่งก็คือผลไม้ในกลุ่มที่มีรสชาติไม่หวานมากและมีไฟเบอร์สูง เพราะไฟเบอร์ที่ได้จากผลไม้จะไปช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง อีกทั้งบรรดาไฟเบอร์ในผลไม้เหล่านี้ยังช่วยให้อิ่มไวอีกด้วย ซึ่งผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้มีดังนี้ค่ะ
- แอปเปิล
แอปเปิลเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงมาก อีกทั้งยังเป็นผลไม้ที่รสชาติไม่หวานจนเกินไป แถมคุณประโยชน์ในแอปเปิลก็ยังมีมากมาย ไม่ว่าจะช่วยในการลดน้ำหนัก เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ขณะที่ไฟเบอร์ในแอปเปิลก็ยังช่วยชะลอการดูดซึมของน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ซึ่งถ้าอยากให้ดีกับสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมากขึ้น ก็ควรเลือกรับประทานแอปเปิลเขียว เพราะแอปเปิลเขียวจะมีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่าแอปเปิลสีอื่น ๆ ค่ะ
- แก้วมังกร
ถือเป็นมิตรรักผู้ป่วยเบาหวานเลยก็ว่าได้ เพราะแก้วมังกรก็เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีไฟเบอร์สูง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรียังพบด้วยว่า เมือกของแก้วมังกรมีคุณสมบัติในการดูดซึมน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วยนะคะ เพราะถ้ารับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตราย
- มะเฟือง
แม้ว่ามะเฟืองจะเป็นผลไม้ที่ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มะเฟืองเป็นผลไม้อีกชนิดที่สามารถรับประทานได้ค่ะ เพราะมะเฟืองมีไฟเบอร์สูง และมีค่าดัชนีน้ำตาลไม่สูงมากนัก เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งนี้ก็ควรรับประทานแต่พอดี เพราะรับประทานมากไปอาจส่งผลกระทบไปถึงไตค่ะ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ แต่ก็ไม่ควรเกินวันละ 600 มิลลิลิตรต่อวัน อีกทั้งยังไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไป เนื่องจากน้ำผลไม้ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด มีปริมาณน้ำตาลสูง อีกทั้งยังมีไฟเบอร์น้อย ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลในผลไม้ไปใช้ได้เร็วกว่า ทำให้โอกาสที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า ฉะนั้นทางที่ดีควรรับประทานผลไม้สดดีกว่านะคะ
ได้พอทราบกันไปแล้วว่ามีผลไม้ชนิดใดบางที่ควรลด ละ เลิก เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากนี้ไปก็คงจะเลือกรับประทานกันได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกันมากขึ้น แต่ถ้าอยากทราบกันให้ลึก ๆ กันไปเลยว่าผลไม้แต่ละชนิดมีปริมาณน้ำตาลเท่าไร ก็ลองตามไปดูที่ น้ำตาลจากผลไม้อ้วนหรือไม่ ส่องปริมาณความหวานในผลไม้ไทย จะได้เลือกผลไม้ได้ตรงใจและดีกับระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน
สสส.
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่