รพ.รามาฯ ใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมองสำเร็จแห่งแรกในเอเชีย เข้าถึงจุดขนาดเล็กในสมอง กำหนดเป้าหมายแม่นยำสูง ผิดพลาดน้อย ลดภาวะแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวความสำเร็จนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งสมอง สำเร็จแห่งแรกของเอเชีย ทำให้การผ่าตัดสมองในผู้ป่วยมีความแม่นยำ ปลอดภัย ลดอัตราเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน หรือความพิการหรือการสูญเสียชีวิต
โดย นพ.สรยุทธ ชำนาญเวช สาขาประสาทศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า
การผ่าตัดสมองด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด จะใช้ในผู้ป่วยพาร์กินสัน
มีก้อนเนื้อในสมองขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร โรคลมชัก หรือโรคจิตบางชนิด
ซึ่งหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจะต้องทำงานควบคู่ไปกับเครื่องเอ็มอาร์ไอซีทีสแกน
จากนั้นนำผลเอกซเรย์สมองอย่างละเอียดที่ได้ไปโหลดในเครื่อง
เพื่อหาความแม่นยำของตำแหน่งก้อนเนื้อ แล้วทำการผ่าตัด
โดยใช้ระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงในการนำก้อนเนื้อออกมา
และมีการเปิดปากแผลเพียง 1 เซนติเมตร เปิดกะโหลกศีรษะ 3-4 มิลลิเมตร
ส่วนระยะพักฟื้นก็ใช้เวลาลดลง โดยผู้ป่วยสามารถรู้ตัวและตอบสนองได้ดี สำหรับการตรวจสอบตำแหน่งของการผ่าตัด
พบว่ามีความแม่นยำ และมีความคลาดเคลื่อนแค่ 0.04 เท่านั้น
ไม่กระทบเนื้อสมอง
มีประสิทธิภาพมากกว่าการผ่าตัดที่ใช้มนุษย์และเครื่องเนวิเกเตอร์นำ
โดยโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ให้การผ่าตัดผู้ป่วย เป็นชายอายุ 77 ปี มีเนื้องอกขนาด 2
เซนติเมตร เป็นรายแรก ขณะนี้ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจ
และกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านแล้ว
ส่วนค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่
ยังไม่ครอบคลุมในสิทธิการรักษา จึงมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 100,000 บาท
ภาพและข้อมูลจาก