วูบโดยไม่รู้ตัว หลังมีอาการหน้ามืด เวียนหัว ตาลาย ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจบอกโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกายเราได้ด้วย
โรควูบ หรืออาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติอย่างกะทันหันเป็นภาวะที่ไม่ปกติของร่างกาย ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าอาการวูบส่วนมากเกิดจากภาวะอ่อนเพลีย
ทั้งที่จริงแล้วอาการวูบ หน้ามืด เวียนศีรษะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ
และในบางเคสอาการวูบยังเป็นสัญญาณของโรคที่ซ่อนอยู่ในตัวเราด้วย
ลองมาดูกันว่า อาการวูบ เวียนหัว ส่วนใหญ่เกิดจากอะไรได้บ้าง
อาการวูบ เกิดจากสาเหตุอะไร
หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็เป็นไปได้ที่เลือดจะไปเลี้ยงสมองส่วนควบคุมความรู้สึกลดลง ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม และหมดสติอย่างกะทันหันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาวะวูบจากอาการอ่อนเพลียอาจสัมพันธ์กับภาวะร่างกายขาดน้ำ ยืนตากแดดนาน ๆ หรือไม่ได้รับประทานอาหารจนส่งผลให้ความดันเลือดตกได้ และเกิดอาการวูบหมดสติตามมา
ทว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการวูบในเคสนี้จะเป็นอยู่ไม่นาน หากได้นั่งพักสักระยะ ความดันเลือดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หายจากอาการวูบได้เองในที่สุด
อาการวูบ เกิดจากสาเหตุอะไร
1. ภาวะอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย
หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ก็เป็นไปได้ที่เลือดจะไปเลี้ยงสมองส่วนควบคุมความรู้สึกลดลง ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลม และหมดสติอย่างกะทันหันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นภาวะวูบจากอาการอ่อนเพลียอาจสัมพันธ์กับภาวะร่างกายขาดน้ำ ยืนตากแดดนาน ๆ หรือไม่ได้รับประทานอาหารจนส่งผลให้ความดันเลือดตกได้ และเกิดอาการวูบหมดสติตามมา
ทว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว อาการวูบในเคสนี้จะเป็นอยู่ไม่นาน หากได้นั่งพักสักระยะ ความดันเลือดก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หายจากอาการวูบได้เองในที่สุด
2. ไอแรง เบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระแรง ๆ
การกดดันร่างกายด้วยการพยายามเบ่งปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือแม้แต่การไออย่างรุนแรงก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ความดันเลือดตก เพราะร่างกายพยายามลดความกดดันด้วยการสั่งให้หัวใจเต้นช้าลงนั่นเอง ซึ่งภาวะวูบในเคสนี้อาจไม่ถึงกับหมดสติไปในทันที แต่อาจมีอาการวูบ หน้ามืด ตัวเย็น เหงื่อชื้น และหากอยู่นิ่ง ๆ สักระยะ อาการวูบก็จะหายไปได้เอง ความดันเลือดก็จะเข้าที่เข้าทาง
3. ความเครียด วิตกกังวล
ความเครียดและอาการวิตกกังวลก็เป็นสาเหตุของโรควูบได้ โดยเฉพาะคนที่ตกอยู่ในสภาวะเครียดหนัก ๆ หรือวิตกกังวลอยู่กับอะไรบางอย่างเป็นอย่างมาก ความดันเลือด ณ ขณะนั้นอาจแกว่งและลดระดับลงจนก่อให้เกิดอาการหน้ามืด วูบหมดสติได้ในบางราย ซึ่งเคสนี้จะพบได้บ่อยกับคนที่เจอเหตุการณ์รุนแรง หรือได้รับข่าวร้ายอย่างไม่ทันตั้งตัว
4. ระบบประสาทไวกว่าปกติ
5. การรับประทานยาบางชนิด
ยาบางประเภทก็มีผลให้เกิดอาการวูบได้ด้วยนะคะ อย่างยาลดความดันโลหิต หากกินมากเกินไป ความดันในร่างกายอาจตกได้ ก่อให้เกิดอาการวูบเมื่อเปลี่ยนท่า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนั่งนาน ๆ แล้วลุกขึ้นยืนอาจทำให้ความดันเลือดลดลง ก่อเป็นอาการวูบหมดสติได้ ซึ่งส่วนมากจะพบอาการนี้ในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ หรือผู้ป่วยที่กินยาทางระบบประสาท เช่น ยาคลายกังวล ยานอนหลับ และยาแก้ปวดบางชนิดที่มีส่วนผสมของฝิ่น ก็อาจมีอาการวูบบ่อย ๆ เช่นกัน
นอกจากนี้ในบางคนที่กินยาลดความอ้วน ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะก็อาจมีอาการวูบ หมดสติ หรือบางรายอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตก็มีให้เห็นมาแล้ว ดังนั้นอย่ากินยาลดความอ้วนกันเลยดีกว่า อยากผอมก็ควรออกกำลังกายและคุมอาหารจะปลอดภัยที่สุด
6. ภาวะความดันต่ำ
ถ้ายังไม่สูงอายุ และมักจะวูบบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังมีภาวะความดันเลือดต่ำ ซึ่งเคสนี้จะเกิดอาการหน้ามืดบ่อย ๆ เมื่อขยับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น นอนอยู่แล้วลุกขึ้นนั่งโดยทันที หันหน้าเร็ว ๆ อาการหน้ามืดจะถามหา หรือลุก-นั่งเร็ว ๆ ก็อาจวูบหมดสติได้เช่นกัน ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีอาการวูบบ่อย ๆ ให้ลองปรึกษาแพทย์ดูนะคะ
7. โรคเบาหวาน
ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่คุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเสี่ยงต่อภาวะวูบหมดสติได้ง่าย ทั้งจากสาเหตุระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือสาเหตุด้านภาวะขาดน้ำ จากอาการปัสสาวะบ่อยมาก
8. ภาวะโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กค่อนข้างพบได้บ่อยในวัยสาว โดยเป็นภาวะที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ทำให้ไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินได้เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ ภาวะประจำเดือนมามาก หรือมีการเสียเลือดเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งหากพบว่าตัวเองมักจะหน้ามืดและวูบบ่อย ๆ ลองไปตรวจระดับฮีโมโกลบินในร่างกายบ้างก็น่าจะดี
9. ความผิดปกติของหัวใจ
10. ความผิดปกติของสมอง
เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากโรคทางสมองอื่น ๆ เช่น โรคลมชัก หรือเกิดความผิดปกติของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการวิงเวียนบ่อย ๆ ได้ เป็นต้น
นอกจากนี้ อาการวูบยังอาจเกิดได้เพราะออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการเสียน้ำ เสียเลือดออกจากร่ายกายมากเกินไป รวมทั้งคนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ ก็มีโอกาสเกิดอาการวูบได้เช่นกัน
อาการวูบ อันตรายไหม
โดยทั่วไปแล้ว อาการวูบที่เกิดจากความอ่อนเพลีย พักผ่อนน้อย ความเครียด ไม่ได้อันตรายมากนัก หากนั่งพักสักครู่อาการก็จะดีขึ้น แต่ทว่าในบางครั้งอาการวูบอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น เกิดวูบขณะกำลังขับรถ หรืออยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย เช่น กำลังข้ามถนน เดินอยู่ริมแม่น้ำ แม้กระทั่งการวูบล้มลงไปจนศีรษะกระแทกพื้น ตกจากที่สูง ก็ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้นอาการนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ หากเป็นบ่อยควรไปตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงจะดีที่สุดค่ะ
วิธีรับมืออาการวูบ
หากอาการวูบมาเยือน และเราเองก็หมดหนทางจะหลีกเลี่ยงได้ งั้นก็มารับมืออาการวูบตามนี้เลย
- ถ้าหน้ามืดกะทันหัน ให้พยายามหาหลักพิงหรือหาที่เกาะยึดที่มั่นคง พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ
- หากสามารถเดินไหว พยายามค่อย ๆ เดินไปหาที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- หากหายใจไม่สะดวก ให้นั่งลงช้า ๆ หรืออาการแย่มากให้นอนราบสักพัก เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองได้สะดวกขึ้น
- เมื่ออาการดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
อย่างไรก็ตามในคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายเลย ก็อาจมีอาการวูบ เวียนหัว หน้ามืดบ่อย ๆ ได้เช่นกัน เนื่องจากเมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ระบบไหลเวียนเลือดก็จะไม่แข็งแรง จนอาจมีบางจังหวะที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอบ้าง ดังนั้นหากไม่อยากเจอกับอาการวูบ ก็หมั่นออกกำลังกาย ดื่มน้ำเยอะ ๆ และพักผ่อนให้เต็มอิ่มดีกว่านะคะ
บทความที่เกี่ยวข้องกับอาการวูบหน้ามืด เป็นลม
- เปลี่ยนท่า หน้ามืดบ่อย เช็กหน่อย...ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่าอันตรายไหม- อาการหน้ามืดเวลาลุกขึ้นยืนเร็ว ๆ แล้วเห็นดาว เกิดจากอะไร อันตรายหรือเปล่า ?
- เล่าประสบการณ์ป่วยหน้ามืด ใจสั่น ไม่มีแรง หาสาเหตุไม่ได้ อาการที่หลายคนอาจเป็นอยู่ !
- หน้ามืดตอนตื่นนอน วูบตอนเช้า เป็นอะไรหรือเปล่า ?