10 อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก ติดเชื้อเอดส์-HIV ได้จริงไหม ?

          ไม่ว่าจะสักยันต์ สักแขน สักคิ้ว สักริมฝีปาก ทุกการสักมีความเสี่ยงได้ทั้งนั้น หากเลือกร้านสักที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะถ้าใช้เข็มซ้ำ โอกาสเสี่ยงติดเชื้อ ติดโรคก็ยิ่งสูง
อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

          การสักเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งในยุคสมัยนี้ ที่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างก็เริ่มสนใจอยากมีรอยสักบนร่างกาย และไม่เพียงแต่การสักยันต์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันยังมีการสักเพื่อความสวยงาม สักเพื่อเสริมโหงวเฮ้ง อย่างการสักคิ้ว 3 มิติ สักปากสีชมพู สักขอบตา หรือล้ำไปถึงสักลูกตาก็ยังมี ซึ่งแฟชั่นการสักแบบนี้ต้องยอมรับค่ะว่าเปรียบเสมือนดาบ 2 คม ด้านหนึ่งคือความสวยงาม แต่อีกด้านก็เสี่ยงสุขภาพได้เหมือนกัน โดยเฉพาะหากเลือกร้านสักที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ใส่ใจความปลอดภัยของผู้เข้ารับบริการ ลองมาดูกันค่ะว่าในกรณีนี้เราจะเสี่ยงอันตรายจากการสักในรูปแบบไหนบ้าง

*อันตรายจากการสัก อาการเสี่ยงอะไรบ้างที่ต้องระวัง !

1. อาการแพ้

อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

         
บางคนที่ผิวบอบบาง แพ้ง่าย อาจเกิดอาการแพ้หลังการสัก เช่น รอยสักเป็นผื่นแดง มีอาการบวม หรือผิวหนังไหม้ โดยอาการแพ้อาจขึ้นได้ทันทีหลังการสัก หรือเกิดขึ้นหลังจากสักมาแล้วหลายปีก็ได้

2. ผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อ

          เนื่องจากสารที่ใช้เป็นสีอาจมีสารปนเปื้อนอย่างโลหะหนัก เช่น สารปรอท สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว แร่เหล็ก แร่โคบอลต์ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดอาการติดเชื้อ และอาการอักเสบ รอยสักบวม เป็นตุ่มน้ำ เป็นหนอง ซึ่งมาจากภาวะอักเสบใต้ชั้นผิวหนังนั่นเอง

          - โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ มีอะไรบ้าง

3. เป็นไข้
    อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก


         
เมื่อร่างกายเกิดอาการอักเสบหรือติดเชื้อ อาการไข้ก็จะตามมา พร้อมด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว มึนงง จากการแพ้สีที่ใช้สักร่วมกับอาการอักเสบในร่างกายด้วยนะคะ

4. แผลคีลอยด์ (Keloids)

          ในบางคนที่สักมาแล้วเกิดอาการแพ้สีหรือมีการติดเชื้อ รอยสักอาจเป็นแผลนูน บวม แดง ลักษณะค่อนข้างแข็ง จนในที่สุดก็กลายเป็นเนื้อตาย ซึ่งอาการนี้เกิดจากการติดเชื้อเอกติม่า แกงกรีโนซัม (Ecthyma ganggrenosum) ซึ่งเป็นโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่ง

5. เชื้อไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบ

          การใช้เข็มที่ไม่สะอาดหรือเข็มที่ใช้สักไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ เช่น การไม่เปลี่ยนเข็มเล่มใหม่ แต่ใช้เข็มซ้ำโดยเพียงแค่ล้างทำความสะอาด ซึ่งการทำความสะอาดนั้นอาจไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เข็มยังคงมีเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียบางชนิดอยู่ ซึ่งเชื้อดังกล่าวนี่แหละค่ะที่อาจเป็นสาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบีได้

          - เจาะลึกข้อมูล ไวรัสตับอักเสบบี ที่คนไทยนับล้านเป็นพาหะไม่รู้ตัว

6. เชื้อวัณโรค

อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

          การใช้เข็มหรือสีที่ไม่สะอาด อาจทำให้ผู้ที่รับการสักเสี่ยงต่อเชื้อวัณโรคได้ด้วยนะคะ เนื่องจากการสักจะต้องสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งของผู้เข้ารับบริการ ซึ่งหากคนก่อนหน้ามีเชื้อวัณโรค แล้วทางร้านไม่เปลี่ยนเข็มเล่มใหม่ คนสักคนต่อไปอาจได้รับเชื้อวัณโรคเป็นของแถมโดยไม่รู้ตัว

7. ซิฟิลิส

          แม้โรคนี้มักจะเป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทว่าก็อย่างที่บอกค่ะว่าหากสักในร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัยให้เรา โอกาสในการติดเชื้อโรคติดต่ออย่างซิฟิลิสผ่านทางเลือดก็มีเหมือนกัน

          - ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตัวร้าย ป้องกันง่ายแค่สวมถุงยาง

8. เชื้อ HIV

อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

          ในกรณีที่ใช้เข็มซ้ำ แล้วก่อนหน้านั้นสักให้แก่ผู้ที่มีเชื้อ HIV คนเข้ารับบริการคนต่อไปก็มีโอกาสจะติดเชื้อ HIV จากการสักที่ไม่ได้มาตรฐานได้ และการติดเชื้อ HIV จะมีระยะเวลาฟักเชื้อ 4-11 ปีถึงจะแสดงอาการ ซึ่งจุดนี้แหละค่ะที่อันตรายมาก เพราะหากเราไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ HIV จากการสักมา โอกาสในการแพร่เชื้อ HIV ให้แก่คนอื่นก็ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสามี ภรรยา เป็นต้น

          - มีเชื้อ HIV ไม่ได้แปลว่าเป็นเอดส์ ความจริงที่ควรเข้าใจซะใหม่

9. เอดส์

          ถ้าเป็นในเคสเดียวกันกับการติดเชื้อ HIV จากการสัก โอกาสที่เชื้อ HIV จะพัฒนาเป็นเชื้อเอดส์ก็มีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ HIV มาแล้วนะคะ เพราะเชื้อพวกนี้มักไม่แสดงอาการในระยะต้น ๆ แต่จะแสดงอาการในระยะท้าย ๆ ซึ่งการรักษาก็ค่อนข้างยากแล้ว

          - โรคเอดส์ (AIDS) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่อันตราย

10. มะเร็ง
   
อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

         
นายแพทย์อภิชัย มงคล อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า หมึกสำหรับสักลายที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะเกิดการสะสมของสารเคมีในชั้นผิวหนัง และอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนังได้ หรือในสาว ๆ ที่ไปสักหัวนมสีชมพู ก็มีความเสี่ยงจะติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน

          การสักก็เสี่ยงโรคอยู่หลายโรค หลายอาการด้วยกัน ดังนั้นใครที่คิดจะสักก็อยากให้ศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน และควรระมัดระวัง ไม่สักลายในบริเวณผิวที่บอบบางหรือมีการอักเสบ หรือเป็นแผล รวมทั้งถ้าเคยมีประวัติแพ้สารใดมาก่อน ควรพิจารณาส่วนประกอบสำคัญของหมึกสักลายอย่างละเอียดก่อนจะสัก เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของเราเอง

* เลือกร้านสักยังไงดี

อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก

          สำหรับคนที่คิดอยากจะสัก เรามีข้อควรคำนึงก่อนเลือกร้านสักมาให้เช็กลิสต์กันค่ะ

          * สภาพแวดล้อมของสถานประกอบกิจการต้องถูกต้องและถูกสุขลักษณะ

          * ผู้ให้บริการต้องมีสุขอนามัยดี มีการล้างมือด้วยน้ำ สบู่ และต้องสวมถุงมือยางทางการแพทย์ที่ปราศจากเชื้อทุกครั้งก่อนทำการสัก

          * ผู้ให้บริการควรมีการทำความสะอาดผิวหนังในจุดที่จะสักด้วยแอลกอฮอล์

          * เข็มและภาชนะบรรจุสีต้องผ่านการฆ่าเชื้อ มีการเก็บ และห่อบรรจุแบบปราศจากเชื้อ หรือต้องนำอุปกรณ์ไปต้มน้ำเดือดเพื่อฆ่าเชื้อก่อน

          * เข็มและภาชนะบรรจุสีควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

          * สีที่ใช้ในการสักบนผิวหนังต้องไม่มีส่วนผสมที่อันตรายต่อร่างกาย

          * ผู้ให้บริการต้องมีใบรับรองแพทย์ตามหลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพแห่งปี

          * ผู้ให้บริการต้องผ่านการอบรมเรื่องการป้องกันและการทำลายเชื้อโดยสถานบริการสาธารณสุขของราชการ

          * ควรมีการติดประกาศเตือนผู้มาใช้บริการที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเลือดไหลไม่หยุด โรคลมชัก โรคเบาหวาน ซึ่งไม่ควรเข้ารับการสักผิวหนังเพราะอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ง่าย

          ความสะอาด ได้มาตรฐาน และผ่านการรับรองจากหน่วยงานราชการ เป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้น ๆ ที่เราควรคำนึงถึงก่อนไปสักร้านไหนก็ตามแต่ อย่างน้อยการมีใบรับรองก็ช่วยการันตีมาตรฐานของร้านสักได้ในระดับหนึ่งเลยนะคะ ฉะนั้นหากคิดจะสักก็อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ให้ดีด้วย

          - เตรียมตัวอย่างไร หากต้องการ “สักลาย” บนเรือนร่าง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, เฟซบุ๊ก Drama-addict, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
10 อาการป่วย-โรคเสี่ยงจากการสัก ติดเชื้อเอดส์-HIV ได้จริงไหม ? อัปเดตล่าสุด 4 กันยายน 2561 เวลา 17:02:44 38,093 อ่าน
TOP
x close