สรรพคุณชาใบหม่อนไม่ธรรมดา ช่วยลดน้ำตาลในเลือดและยังเป็นชาสมุนไพรที่หากินง่าย ชงชาใบหม่อนเองก็ยังได้เลย
ถ้าพูดถึงชาใบหม่อนหลายคนอาจจะคุ้น ๆ หูหรือเคยได้ดื่มชาใบหม่อนกันมาแล้ว เพราะชาใบหม่อนหาดื่มง่าย หลายบ้านก็ต้มชาใบหม่อนดื่มเอง และนอกจากจะเป็นชาสมุนไพรที่ใกล้ตัวแล้ว ชาใบหม่อนยังมีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพอีกมาก โดยเฉพาะด้านลดน้ำตาลในเลือด
หม่อน หรือมัลเบอร์รี
หม่อน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Morus Alba Linn. เป็นพืชในวงศ์ Moraceae ต้นหม่อนมีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่ม สูงประมาณ 2-5 เมตร ใบหม่อนเป็นใบเดี่ยว รูปทรงไข่ ความกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ด้านในขอบใบมีรอยหยัก เนื้อใบมีลักษณะสาก มีรสฝาด ออกขมนิด ๆ ดอกหม่อนมีสีขาวหม่นหรือแกมเขียว ดอกออกเป็นช่อ ผลหม่อนมีลักษณะเป็นผลรวม เมื่อสุกจะมีสีแดงอมม่วง ถ้าสุกมาก ๆ ลูกหม่อนจะออกสีดำ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
ใบหม่อน สรรพคุณดีต่อสุขภาพ
1. ลดน้ำตาลในเลือด
ใบหม่อน สรรพคุณดีต่อสุขภาพ
1. ลดน้ำตาลในเลือด
ในใบหม่อนมีสารที่มีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides) อยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยจะเข้าไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นโมเลกุลเดี่ยว จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้
2. ช่วยลดความดันโลหิต
ชาใบหม่อนมีสาร GABA สูงถึง 230 มิลลิกรัมต่อใบหม่อน 100 กรัม ซึ่งสารกาบ้ามีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้
3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
2. ช่วยลดความดันโลหิต
ชาใบหม่อนมีสาร GABA สูงถึง 230 มิลลิกรัมต่อใบหม่อน 100 กรัม ซึ่งสารกาบ้ามีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้
3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Research International เมื่อปี 2013 พบว่า ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และระดับไขมัน LDL ของอาสาสมัครลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อรับประทานผงใบหม่อนปริมาณ 280 กรัม วันละ 3 เวลา ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน
เช่นเดียวกับผลการศึกษาในปี 2010 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Biochemistry and Nutrition ที่พบว่า อาสาสมัครที่กินสารสกัดจากใบหม่อนในปริมาณ 12 กรัม วันละ 3 เวลา ติดต่อกัน 3 เดือน ก็มีระดับไขมันเลวในเลือดลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้แจงว่า การดื่มชาใบหม่อนเป็นประจำทุกวันก็มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลและไขมันเลวในร่างกายพุ่งสูงได้นะคะ ทว่าทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราด้วย โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภททอด เนื้อติดมัน อะไรประมาณนี้ด้วย
4. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ในใบหม่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อ ช่วยลดการเกิดริ้วรอยที่ผิวหนัง และการศึกษาจาก PubMed Health ก็ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระในใบหม่อนมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ด้วยล่ะ
เช่นเดียวกับผลการศึกษาในปี 2010 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Biochemistry and Nutrition ที่พบว่า อาสาสมัครที่กินสารสกัดจากใบหม่อนในปริมาณ 12 กรัม วันละ 3 เวลา ติดต่อกัน 3 เดือน ก็มีระดับไขมันเลวในเลือดลดลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชี้แจงว่า การดื่มชาใบหม่อนเป็นประจำทุกวันก็มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลและไขมันเลวในร่างกายพุ่งสูงได้นะคะ ทว่าทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราด้วย โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารประเภททอด เนื้อติดมัน อะไรประมาณนี้ด้วย
4. มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ในใบหม่อนมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้มีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อ ช่วยลดการเกิดริ้วรอยที่ผิวหนัง และการศึกษาจาก PubMed Health ก็ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระในใบหม่อนมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ด้วยล่ะ
5. บำรุงร่างกาย
ตามตำราสมุนไพรจีนบันทึกไว้ว่า น้ำชาใบหม่อนมีแร่ธาตุสูง ทั้งแคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 18 ชนิดด้วยกัน ดังนั้น การดื่มชาใบหม่อนทุกวันก็ช่วยบำรุงร่างกายได้สบาย ๆ
วิธีทำชาใบหม่อน
เก็บยอดใบที่ 3-4 มาหั่นให้ใบมีขนาดพอเหมาะ ก่อนจะนำไปลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที แล้วนำมาล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นผึ่งใบหม่อนให้หมาด ๆ แล้วนำมาคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนกว่าใบชาจะแห้ง จากนั้นนำไปบรรจุลงในภาชนะที่แห้งและมีฝาปิดสนิท
หากต้องการดื่มชาใบหม่อนก็นำใบหม่อนแห้งประมาณ 80 กรัม (2-3 ช้อนโต๊ะ) ใส่ในแก้วกาแฟแล้วเติมน้ำร้อนเกือบเต็มแก้ว จะได้น้ำชาใบหม่อนสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล กลิ่นหอมใบไม้คั่ว เช่นเดียวกับกลิ่นชาแต่กลิ่นอ่อนกว่า รสหวานออกฝาดเล็กน้อย
วิธีทำชาใบหม่อน
เก็บยอดใบที่ 3-4 มาหั่นให้ใบมีขนาดพอเหมาะ ก่อนจะนำไปลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที แล้วนำมาล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นผึ่งใบหม่อนให้หมาด ๆ แล้วนำมาคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนกว่าใบชาจะแห้ง จากนั้นนำไปบรรจุลงในภาชนะที่แห้งและมีฝาปิดสนิท
หากต้องการดื่มชาใบหม่อนก็นำใบหม่อนแห้งประมาณ 80 กรัม (2-3 ช้อนโต๊ะ) ใส่ในแก้วกาแฟแล้วเติมน้ำร้อนเกือบเต็มแก้ว จะได้น้ำชาใบหม่อนสีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล กลิ่นหอมใบไม้คั่ว เช่นเดียวกับกลิ่นชาแต่กลิ่นอ่อนกว่า รสหวานออกฝาดเล็กน้อย
ข้อควรระวังในการดื่มชาใบหม่อน
เนื่องจากใบหม่อนมีสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล เช่น ยา Acarbose ควรระมัดระวังการใช้ใบหม่อนร่วมกับยาในกลุ่มนี้ เพราะสารในใบหม่อนอาจเสริมฤทธิ์ยาและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงมากเกินไปได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดื่มชาใบหม่อนต่อเนื่องนาน ๆ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าหากรับประทานใบหม่อนนาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีควรดื่มชาใบหม่อนแต่พอเหมาะและกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
จุลสารข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เลย
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เลย
พืชเกษตร
foodsforbetterhealth
livestrong
เนื่องจากใบหม่อนมีสารที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นในผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล เช่น ยา Acarbose ควรระมัดระวังการใช้ใบหม่อนร่วมกับยาในกลุ่มนี้ เพราะสารในใบหม่อนอาจเสริมฤทธิ์ยาและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงมากเกินไปได้
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรดื่มชาใบหม่อนต่อเนื่องนาน ๆ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าหากรับประทานใบหม่อนนาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือเปล่า ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดีควรดื่มชาใบหม่อนแต่พอเหมาะและกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
จุลสารข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เลย
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เลย
พืชเกษตร
foodsforbetterhealth
livestrong