เกิดเป็นหญิงแต่ใจเป็นชายเลยอยากเปลี่ยนร่างกายให้แมนขึ้นด้วยการเทคฮอร์โมนเพศชาย แต่ทอมกินฮอร์โมนชายจะมีผลข้างเคียงอะไรไหมนะ
![ทอมกินฮอร์โมนชาย ทอมกินฮอร์โมนชาย]()
ผู้หญิง หรือทอมกินฮอร์โมนเพศชาย ได้ไหม
ในความเป็นจริงแล้วผู้หญิงทุกคนมีฮอร์โมนเพศชายอยู่ในตัว ซึ่งฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะถูกสร้างจากต่อมหมวกไต รังไข่ และไขมันจากร่างกาย โดยฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในร่างกายเพศหญิงจะมีหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยปรับอารมณ์ไห้ไม่สวิงมาก ช่วยในการทำงานของรังไข่ เสริมความจำ ความแข็งแรงของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ รวมไปถึงช่วยให้ผู้หญิงมีความต้องการทางเพศด้วย
ทั้งนี้การเทคฮอร์โมนเพศชายในร่างกายผู้หญิงมักจะใช้ในกรณีแก้อาการวัยทองในผู้หญิง หรือใช้รักษาอาการของหญิงที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศชาย รักษาอาการขาดอารมณ์ทางเพศ และใช้ในผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ซึ่งรักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิงแล้วไม่ได้ผลเท่าไร
![ทอมกินฮอร์โมนชาย ทอมกินฮอร์โมนชาย]()
![ทอมกินฮอร์โมนชาย ทอมกินฮอร์โมนชาย]()

รสนิยมทางเพศเราสามารถเลือกและเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเอง ทว่าสภาพร่างกายที่แท้จริงของเราอาจไม่เป็นใจ อย่างบางคนใจเป็นชาย กายเป็นหญิง แถมยังดูอ้อนแอ้น เลยมีความคิดอยากเสริมฮอร์โมนเพศชายเพิ่มความแมนให้ร่างกายสักหน่อย ว่าแต่เทคฮอร์โมนเพศชายแล้วจะมีอันตรายหรือผลข้างเคียงอะไรบ้าง เช็กก่อนแล้วค่อยตัดสินใจอีกทีดีไหม
ในความเป็นจริงแล้วผู้หญิงทุกคนมีฮอร์โมนเพศชายอยู่ในตัว ซึ่งฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะถูกสร้างจากต่อมหมวกไต รังไข่ และไขมันจากร่างกาย โดยฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในร่างกายเพศหญิงจะมีหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยปรับอารมณ์ไห้ไม่สวิงมาก ช่วยในการทำงานของรังไข่ เสริมความจำ ความแข็งแรงของกระดูกและมวลกล้ามเนื้อ รวมไปถึงช่วยให้ผู้หญิงมีความต้องการทางเพศด้วย
ทั้งนี้การเทคฮอร์โมนเพศชายในร่างกายผู้หญิงมักจะใช้ในกรณีแก้อาการวัยทองในผู้หญิง หรือใช้รักษาอาการของหญิงที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเพศชาย รักษาอาการขาดอารมณ์ทางเพศ และใช้ในผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ซึ่งรักษาด้วยฮอร์โมนเพศหญิงแล้วไม่ได้ผลเท่าไร
แต่การให้ฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงที่ร่างกายปกติดี ยังไม่เป็นวิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชายที่ปลอดภัยต่อร่างกายนัก เพราะการใช้ฮอร์โมนเพศชายเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจมีผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน

ผู้หญิงกินฮอร์โมนเพศชาย ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
ผลข้างเคียงสำหรับผู้หญิงที่เทคฮอร์โมนเพศชายอาจมี ดังนี้
- หน้ามัน เป็นสิวง่าย
- หงุดหงิดง่าย มีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรงผิดปกติ
- เลือดข้นกว่าปกติ
- ค่าเอนไซม์ของตับสูงขึ้น
- ไขมันเลว (LDL) ในเลือดสูงขึ้น ในขณะที่ไขมันดี (HDL) ในร่างกายลดลง
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน)
- เพิ่มความเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับฮอร์โมนเพศชายก็อาจทำให้อาการทางจิตเวชแย่ลงได้ด้วยนะคะ
ผลข้างเคียงสำหรับผู้หญิงที่เทคฮอร์โมนเพศชายอาจมี ดังนี้
- หน้ามัน เป็นสิวง่าย
- หงุดหงิดง่าย มีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรงผิดปกติ
- เลือดข้นกว่าปกติ
- ค่าเอนไซม์ของตับสูงขึ้น
- ไขมันเลว (LDL) ในเลือดสูงขึ้น ในขณะที่ไขมันดี (HDL) ในร่างกายลดลง
- เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เพิ่มความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน)
- เพิ่มความเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับฮอร์โมนเพศชายก็อาจทำให้อาการทางจิตเวชแย่ลงได้ด้วยนะคะ

ใครไม่ควรได้รับฮอร์โมนเพศชายบ้าง
เนื่องจากการเทคฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงอาจมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพ ดังนั้นคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่างก็ไม่ควรได้รับฮอร์โมนเพศชายเพราะอาจทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งผู้ที่ไม่ควรได้รับฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่
- ผู้ป่วยจิตเวช
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนทดแทนเพศชายกับผู้หญิงก็สามารถทำได้ แต่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์วางแผนการให้ฮอร์โมนเพศชายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งก่อนให้ฮอร์โมนเพศชาย แพทย์จะซักประวัติ โรคประจำตัว ประวัติการป่วยของคนในครอบครัว รวมไปถึงบอกข้อดี-ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นหลังเทคฮอร์โมนเพศชายเพื่อให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ตัดสินใจอีกครั้ง
ทั้งนี้ การให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทนกับผู้หญิง มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยารับประทาน, แผ่นเจลแปะบนผิวหนัง ฯลฯ แต่แพทย์มักใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อมากกว่าการให้กินยา เพราะการกินยามาก ๆ อาจทำให้การทำงานของตับมีปัญหา ดังนั้นอย่าซื้อฮอร์โมนเพศชายมากินเองเลยดีกว่านะ
- ผู้ป่วยจิตเวช
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ที่แพ้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนทดแทนเพศชายกับผู้หญิงก็สามารถทำได้ แต่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์วางแผนการให้ฮอร์โมนเพศชายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ซึ่งก่อนให้ฮอร์โมนเพศชาย แพทย์จะซักประวัติ โรคประจำตัว ประวัติการป่วยของคนในครอบครัว รวมไปถึงบอกข้อดี-ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นหลังเทคฮอร์โมนเพศชายเพื่อให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ตัดสินใจอีกครั้ง
ทั้งนี้ การให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทนกับผู้หญิง มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ยารับประทาน, แผ่นเจลแปะบนผิวหนัง ฯลฯ แต่แพทย์มักใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อมากกว่าการให้กินยา เพราะการกินยามาก ๆ อาจทำให้การทำงานของตับมีปัญหา ดังนั้นอย่าซื้อฮอร์โมนเพศชายมากินเองเลยดีกว่านะ