นอนไม่หลับทำไงดี ใครที่มีปัญหานอนไม่หลับบ่อย ๆ ต้องลองเช็กแล้วว่า อาการแบบไหนถึงควรไปปรึกษาแพทย์สักที เพื่อให้กลับมานอนหลับได้สบายเหมือนเดิม
อาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับทุกคน และแทบจะทุกวัย บางคนนอนไม่หลับมาหลายวัน แต่เดี๋ยวสักพักก็หาย กลับมานอนหลับได้ตามปกติ หรือบางเคสก็นอนไม่หลับเรื้อรัง อยู่กับอาการนี้มานานเป็นเดือน ๆ จนนึกสงสัยแล้วว่าเราป่วยเป็นโรคอะไรหรือเปล่า งั้นลองมาเช็กดูหน่อยดีกว่าว่า อาการนอนไม่หลับแบบไหนที่ไม่น่าไว้วางใจ ควรไปปรึกษาแพทย์ได้แล้ว
อาการแบบไหนที่เรียกว่านอนไม่หลับ
ถ้ามีอาการแบบนี้ นี่แหละที่เรียกว่านอนไม่หลับ
* นอนหลับยาก เอนตัวลงนอนแล้วแต่ต้องใช้เวลามากกว่า 20 นาที ถึงจะนอนหลับ
* ตื่นเป็นระยะ ๆ โดยเฉลี่ยแล้วจะตื่นทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มหลับไปจนถึงเช้า
* ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อยาก
นอนไม่หลับขนาดไหน ถึงควรไปพบแพทย์
เราอาจจะนอนไม่หลับ โดยมีอาการข้างต้นแทบจะครบทุกข้อ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ ซึ่งอาจจะไม่ได้นอนไม่หลับในทุกวัน แต่หากนอนไม่หลับมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ติดต่อกันเป็นเดือน ๆ แบบนี้ก็ตกอยู่ในภาวะที่น่ากังวล
หรือหากอาการนอนไม่หลับของเราเริ่มส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เรียนไม่รู้เรื่อง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือแทบจะทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ได้เหมือนเดิม รวมทั้งอาการนอนไม่หลับส่งผลให้รู้สึกป่วย ปวดหัว ส่อเค้าว่ากระทบต่อสุขภาพ ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาอาการนอนไม่หลับต่อไป
วิธีแก้นอนไม่หลับ จำเป็นต้องกินยานอนหลับไหม
ในเบื้องต้นแพทย์จะรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการปรับพฤติกรรมดูก่อน โดยอาจจะยังไม่สั่งยานอนหลับให้กิน เพราะยานอนหลับเป็นยาควบคุมที่ต้องอยูในการดูแลของแพทย์ ซึ่งนั่นหมายความว่า การใช้ยานอนหลับมีข้อจำกัดทางการแพทย์ ที่หากใช้ยานอนหลับอย่างไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นแพทย์จึงจะตัดสินใจให้ยานอนหลับในกรณีที่จำเป็นต้องพึ่งยานอนหลับในการรักษาอาการนอนไม่หลับจริง ๆ เนื่องจากยานอนหลับก็มีผลข้างเคียงที่ต้องระวังเป็นพิเศษด้วยนะคะ
- กินยานอนหลับอันตรายไหม ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง
นอนไม่หลับทำไงดี แก้ด้วยวิธีไม่พึ่งยาก็ได้
สำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับที่อยากหาวิธีแก้นอนไม่หลับด้วยตัวเองดูก่อน ลองวิธีเหล่านี้ดูไหม
- พยายามเข้านอนเวลาเดิม และตื่นเป็นเวลาเดิมทุกวัน
- หากิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น แช่เท้าในน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น ๆ ฟังเพลงบรรเลง ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก ก่อนเข้านอนประมาณ 3 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้น อย่างคาเฟอีนจากกาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตั้งแต่หลังเที่ยงวัน
- จัดสภาพแวดล้อมการนอนให้เหมาะสม ห้องนอนต้องสะอาด มืด และอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียสกำลังเหมาะ
- พยายามหลีกเลี่ยงการเล่นโซเชียลมีเดีย ดูโทรทัศน์ หรือทำงานก่อนเข้านอน
- หากิจกรรมผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น แช่เท้าในน้ำอุ่น ดื่มนมอุ่น ๆ ฟังเพลงบรรเลง ก่อนนอน 1-2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก ก่อนเข้านอนประมาณ 3 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้น อย่างคาเฟอีนจากกาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตั้งแต่หลังเที่ยงวัน
- จัดสภาพแวดล้อมการนอนให้เหมาะสม ห้องนอนต้องสะอาด มืด และอุณหภูมิประมาณ 25 องศาเซลเซียสกำลังเหมาะ
- พยายามหลีกเลี่ยงการเล่นโซเชียลมีเดีย ดูโทรทัศน์ หรือทำงานก่อนเข้านอน
- หากนอนไม่หลับในเวลา 30 นาที ให้ลุกจากเตียงสักพัก แล้วเตรียมตัวเข้านอนอีกครั้ง อย่ากดดันตัวเองให้นอนหลับ เพราะจะยิ่งเพิ่มความเครียดจนทำให้นอนหลับยากขึ้นไปอีก
- ไม่ควรนอนชดเชยในตอนกลางวัน เพราะตกกลางคืนก็จะตาสว่าง นอนไม่หลับ
- ไม่ควรนอนชดเชยในตอนกลางวัน เพราะตกกลางคืนก็จะตาสว่าง นอนไม่หลับ
หากมีอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง หรืออาการนอนไม่หลับที่เป็นอยู่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราแล้ว แบบนี้แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ และย้ำอีกทีว่าไม่ควรกินยานอนหลับเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน
บทความเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ
- 12 อาหารที่ไม่ควรกินก่อนนอน เสี่ยงกรดไหลย้อน แถมนอนไม่หลับ !
- 10 เหตุผลทำให้ตื่นกลางดึก พร้อมวิธีรับมือง่าย ๆ แก้นอนไม่หลับได้ชะงัด
- นอนไม่หลับทำไงดี เช็กซิเราเข้าข่ายโรคนอนไม่หลับชนิดไหน ต้องแก้ยังไงให้ตรงจุด
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
- ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ อาจเพราะ 8 สาเหตุนี้ !
- 10 เหตุผลทำให้ตื่นกลางดึก พร้อมวิธีรับมือง่าย ๆ แก้นอนไม่หลับได้ชะงัด
- นอนไม่หลับทำไงดี เช็กซิเราเข้าข่ายโรคนอนไม่หลับชนิดไหน ต้องแก้ยังไงให้ตรงจุด
- 19 วิธีทำให้ง่วงนอนสำหรับคนนอนไม่หลับ ไม่ต้องมัวนับแกะอีกต่อไป
- ตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ อาจเพราะ 8 สาเหตุนี้ !