เชื้อราบนผิวหนัง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย สามารถเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีความอับชื้นหรือเสียดสีบ่อย ทั้งผิวหนัง บนหนังศีรษะ หรือจุดซ่อนเร้น ทำให้มีอาการคันในร่มผ้า หรือคันระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็น การใช้ยาทาเชื้อราหรือครีมทาเชื้อรา สามารถช่วยรักษาหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้
วันนี้เราเลยจะมาแนะนำยาทาเชื้อรา หรือครีมทาเชื้อราที่หาซื้อเองได้ง่าย ๆ ตามร้านขายยาทั่วไป พร้อมคำแนะนำในการเลือกซื้อและข้อควรระวังในการใช้
เชื้อรา เกิดจากอะไร
วิธีรักษาเชื้อรา ทำอย่างไรได้บ้าง
ยาทาเชื้อรา มีแบบไหนบ้าง
ยาทาเชื้อรามีหลายรูปแบบ เช่น ครีม เจล ขี้ผึ้ง ยาน้ำใส โลชั่น สเปรย์ เป็นต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพในการแทรกซึมและรักษาบริเวณติดเชื้อ โดยเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตและการเพิ่มจำนวนของเชื้อรา สำหรับตัวยาที่ออกฤทธิ์รักษาเชื้อรามีหลายตัว เช่น
-
คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) : มีทั้งแบบชนิดกิน ชนิดทา ชนิดสเปรย์ และแบบแชมพู ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน เชื้อราในช่องคลอด สิวที่เกิดจากเชื้อรา
-
โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) : ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดการติดเชื้อแคนดิดาบริเวณอวัยวะเพศ กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า ฮ่องกงฟุต ผื่นผ้าอ้อม
-
ไบโฟนาโซล (Bifonazole) : ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อเดอร์มาโตไฟต์ ยีสต์ และเชื้อราอื่น ๆ
-
ฟลูโคนาโซล (Fluconazole) : มักใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง การติดเชื้อแคนดิดาที่ช่องคลอด การติดเชื้อในกระแสเลือด และใช้ป้องกัน-รักษาการติดเชื้อราในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี
-
ไมโคนาโซล (Miconazole) : มีทั้งแบบครีม ผงโรย เจล ยาเหน็บ ใช้รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง เชื้อราในช่องปาก เชื้อราในช่องคลอด
ยาทาเชื้อรา ยี่ห้อไหนดี
1. ยาทาเชื้อรา คาเนสเทน โอ.ดี.
ครีมทาเชื้อรา คาเนสเทน โอ.ดี. มีตัวยาไบโฟนาโซล 1% ใช้รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อเดอร์มาโตไฟต์ ยีสต์ และเชื้อราอื่น เช่น กลากที่เท้า ลำตัว มือ ข้อพับ หรือขาหนีบ เกลื้อน โรคง่ามนิ้วลอก (Erythrasma) และโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อแคนดิดา
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1C 79/54, 1C 2/65
-
วิธีใช้ : ทาวันละ 1 ครั้ง ตอนเย็นก่อนเข้านอน โดยทาบาง ๆ บริเวณผิวหนังที่เป็น และถูตัวยาให้ซึมซาบเข้าผิวหนัง ทั้งนี้ ควรทาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่นานพอ ตามระยะเวลาการรักษาต่อไปนี้
-
กลากที่เท้า 3 สัปดาห์
-
กลากที่ลำตัว มือ ข้อพับ หรือขาหนีบ 2-3 สัปดาห์
-
เกลื้อน 2 สัปดาห์
-
โรคง่ามนิ้วลอก (Erythrasma) 2 สัปดาห์
-
การติดเชื้อแคนดิดา 2-4 สัปดาห์
-
-
ราคา : ปริมาณ 10 กรัม ราคาปกติ 230 บาท
-
ข้อควรระวัง :
-
ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาต้านเชื้อรากลุ่มอิมิดาโซลอื่น ๆ เช่น อีโคนาโซล โคลไตรมาโซล ไมโคนาโซล ควรใชัยาด้วยความระมัดระวัง
-
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน ควรได้รับการตรวจติดตามเมื่อมีการใช้ยาไบโฟนาโซลร่วมด้วย
-
สารปรุงแต่งบางชนิดในยาครีมฆ่าเชื้อราคาเนสเทน โอ.ดี. อาจลดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง เช่น ถุงยางอนามัย และฝาครอบปากมดลูก เมื่อนำไปใช้บริเวณอวัยวะเพศ ผลดังกล่าวเกิดขึ้นชั่วคราว และปรากฏระหว่างการรักษาเท่านั้น
-
2. ยาทาเชื้อรา ซีม่าครีม
ซีม่าครีม มีตัวยาโคลไตรมาโซล 1% ใช้สำหรับรักษาโรคเชื้อราที่ทำให้เกิดอาการคันบนผิวหนังและผิวหนังอ่อน เช่น น้ำกัดเท้า (ฮ่องกงฟุต) กลาก เกลื้อน เชื้อราที่เล็บ และอาการคันที่ซอกพับต่าง ๆ เช่น ซอกแขน ขาหนีบ ซอกพับราวนม เป็นต้น รวมทั้งสังคังและเชื้อราในร่มผ้า
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1A 376/29
-
วิธีใช้ : ทาวันละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและอาการ
-
ราคา : ปริมาณ 10 กรัม ราคาปกติ 69 บาท
-
ข้อควรระวัง : ทาบริเวณที่มีอาการ ตามฉลากยา หรือเอกสารกำกับยา หรือแพทย์และเภสัชกรแนะนำ
3. ยาทาเชื้อรา ไมด้า ครีม
ยาทาเชื้อรา ไมด้า ครีม มีตัวยาโคลไตรมาโซล 1% ช่วยรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราที่มีอาการคัน หรือมีอาการคันและการอักเสบร่วมด้วย รวมถึงกลาก-เกลื้อนตามลำตัว การติดเชื้อแคนดิดาตามขาหนีบ เชื้อราที่เล็บ น้ำกัดเท้า
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1A 726/32
-
วิธีใช้ : ทาบาง ๆ บริเวณที่ติดเชื้อราและอักเสบ วันละ 2-3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง
-
ราคา : ปริมาณ 5 กรัม ราคาปกติ 45 บาท
4. ยาทาเชื้อรา ลามาโซน ครีม
ครีมทาเชื้อรา ลามาโซน ครีม มีตัวยาโคลไตรมาโซล 1% ช่วยรักษาโรคผิวหนังซึ่งเกิดจากเชื้อรา คันจากเชื้อรา กลาก เกลื้อน โรคน้ำกัดเท้า โรคเชื้อราที่เล็บ และโรคผิวหนังที่เป็นสะเก็ดล่อน ซึ่งเกิดจากเชื้อมาลาสซีเซีย เฟอร์เฟอร์
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1A 2/50
-
วิธีใช้ : ทาบริเวณที่เป็น วันละ 2-3 ครั้ง ประมาณ 2-4 สัปดาห์
-
ราคา : ปริมาณ 10 กรัม ราคาปกติ 75 บาท
5. ยาทาเชื้อรา โทนาฟ
แบรนด์ดังที่คุ้นหูมาตั้งแต่เด็กอย่างครีมโทนาฟ หลอดสีแดง มีตัวยาโทลนาฟเตท (Tolnaftate) เป็นยาฆ่าเชื้อรา ใช้สำหรับบรรเทาอาการผิวติดเชื้อรา น้ำกัดเท้า กลาก เกลื้อน คันตามนิ้วมือ นิ้วเท้า คันในร่มผ้า เชื้อราบนหนังศีรษะ ทาแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ ล้างออกได้
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1A 85/29
-
วิธีใช้ : ใช้ทาบาง ๆ บริเวณที่ต้องการ หรือวันละ 2-3 ครั้ง
-
ราคา : ปริมาณ 5 กรัม ราคาปกติ 47 บาท
-
ข้อควรระวัง :
-
ห้ามใช้ยานี้หากเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้มาก่อน
-
ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรหากมีการใช้ยา สมุนไพร หรืออาหารเสริมอยู่ รวมทั้งถ้าตั้งครรภ์ หรือวางแผนตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
-
6. ยาทาเชื้อรา ไมโครัล ครีม
ยาทาเชื้อรา ไมโครัล ครีม มีตัวยาคีโตโคนาโซล 2% ใช้รักษาอาการติดเชื้อราผิวหนัง กลาก-เกลื้อนตามลำตัว เชื้อราบริเวณขาหนีบหรือข้อพับ เชื้อราที่เล็บ รักษาโรคน้ำกัดเท้า โรคสังคัง
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 1A 465/44
-
วิธีใช้ : ควรทาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด
-
ราคา : ปริมาณ 20 กรัม ราคาปกติ 90 บาท
7. ยาทาเชื้อรา แฟงโก้-บี
แฟงโก้-บี ยาทาเชื้อรา มีตัวยาโคลไตรมาโซล และเบตาเมทาโซน วาเลอเรต สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา ที่มีแต่อาการคันอย่างเดียว หรือมีอาการคันแล้วยังมีอาการอักเสบร่วมด้วย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต กลากที่ขาหนีบหรือตามลำตัวหรือตามข้อพับ และโรคเชื้อราที่เกิดจากเชื้อแคนดิดา
-
เลขทะเบียนตำรับยา : 2A 117/44
-
วิธีใช้ : ควรทาอย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด
-
ราคา : ปริมาณ 15 กรัม ราคาปกติ 80 บาท
-
ข้อควรระวัง : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาโคลไตรมาโซล, เบตาเมทาโซน ไดโพรพิโอเนต, ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์, ยากลุ่มอิมิดาโซล หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในตำรับยา
วิธีเลือกยาทาเชื้อรา
-
เลือกให้เหมาะกับบริเวณที่ต้องการทา เช่น เชื้อราในช่องคลอดหรือบริเวณอวัยวะเพศภายนอก ควรใช้ยาฆ่าเชื้อราที่สามารถรักษาเชื้อแคนดิดาได้ ถ้ามีอาการคันร่วมกับการอักเสบ ควรเลือกตัวยาที่มีส่วนผสมของโคลไตรมาโซล หรือถ้าต้องการรักษาอาการน้ำกัดเท้า ควรเลือกตัวยาที่มีส่วนผสมของโทลนาฟเตท
-
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์สำหรับการใช้งานในบริเวณร่มผ้า
-
ยาทาเชื้อราแบบครีมหรือโลชั่นสามารถใช้ได้กับผิวหนังทุกบริเวณ แต่ถ้าเป็นตำแหน่งที่ทายาก เช่น ซอกเล็บมือหรือเล็บเท้า เป็นต้น ควรเลือกแบบน้ำ และควรเขย่าขวดก่อนใช้ทุกครั้ง
-
ตรวจสอบส่วนผสมของยาทาเชื้อราเพื่อหลีกเลี่ยงสารที่ตัวเองมีอาการแพ้
-
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อยามาใช้
ข้อควรระวังในการใช้ยาทาเชื้อรา
-
ควรใช้ทาภายนอกหรือใช้ตามที่ฉลากระบุ ไม่ควรนำเข้าปากหรือกลืน
-
ไม่ควรทาตรงรอยถลอกหรือรอยเปิดของผิวหนัง เพราะอาจเป็นอันตราย
-
ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนกว่าโรคเชื้อราบนผิวหนังจะหายสนิท เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์
-
หากมีอาการแสบร้อน เกิดผื่นแดง ตุ่มพอง ลมพิษ คัน ผิวหนังลอก มีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก หน้ามืด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที
-
หญิงตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
-
หากใช้ยา สมุนไพร หรือรับประทานอาหารเสริมอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา