คลั่งรัก (Limerence)
คืออะไร
คลั่งรัก ภาษาอังกฤษมีชื่อที่จัดเป็นภาวะว่า Limerence คือ อาการตกหลุมรักในระดับที่รุนแรงกว่าความรู้สึกชอบทั่วไป เป็นการหลงใหลใครสักคนอย่างหมกมุ่นอยู่ฝ่ายเดียว เหมือนกับการเสพติดอะไรสักอย่าง จนอาจส่งผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้ และอาการนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความรู้สึกดี ๆ แต่ยังอาจมาพร้อมกับความรู้สึกหึงหวง ความต้องการครอบครอง และความคิดวนเวียนอยู่กับคนที่เราคลั่งรักตลอดเวลา
นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่มีภาวะคลั่งรัก อาจไม่ได้รู้สึกรักจริง ๆ หรือคนที่เขาหลงรักก็ไม่ใช่สเปกด้วยซ้ำ ทว่ามีบางอย่างในตัวคนนั้นที่ทำให้รู้สึกทัชใจ จนจินตนาการวาดหวังไปต่าง ๆ นานา โดยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
แบบไหนใช่ อาการคลั่งรัก
1. ระยะตกหลุมรัก
เป็นระยะที่มีอาการคล้าย ๆ ตกหลุมรัก โดยจะรู้สึกชอบ ตื่นเต้นเมื่อได้เจอ มีความรู้สึกหวั่นไหว คิดถึงแต่คนคนนั้นตลอดเวลา และรู้สึกมีความสุขเมื่อได้อยู่ใกล้ เริ่มวาดภาพในหัวไปต่าง ๆ นานา และเป็นระยะที่แอบหวังให้เขามีใจกลับ บางคนอาจพยายามคิดเข้าข้างตัวเองหรือเฟ้นหาสัญญาณว่าเขาก็ชอบเราด้วยเหมือนกัน
2. ระยะที่ความรู้สึกพัฒนาไปอย่างรุนแรง
3. ระยะหมดแพสชั่น
คลั่งรักแตกต่างจากความรักอย่างไร
ความรู้สึกรัก กับการคลั่งรัก อาจแยกออกได้ยาก ทว่าก็มีความแตกต่างที่พอให้จับสังเกตได้ เช่น
-
ภาวะคลั่งรัก รู้สึกอยากครอบครอง อยากได้ อยากตอบสนองความต้องการของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย แต่ความรัก จะแคร์ซึ่งกันและกัน และมีความปรารถนาดีต่อกันร่วมด้วย
-
คนคลั่งรักมักไม่ได้รู้สึกจริงจังกับความสัมพันธ์ ไม่ได้อยากสร้างความรู้สึกผูกพัน ไม่ได้อยากสร้างครอบครัวด้วยกัน แต่จะโฟกัสไปที่ความรู้สึกของอีกฝ่าย ชอบลุ้นว่าเขาจะใจตรงกับเราไหม ซึ่งทำให้รู้สึกตื่นเต้นได้มากกว่า ในขณะที่ความรักจะทำให้คนสองคนสร้างความรู้สึกผูกพันและอยากอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ
-
คนคลั่งรักมักจะสร้างจินตนาการไปเองมากกว่า เช่น คาดเดาว่าการกระทำของเขาสื่อถึงความหมายใด แต่ไม่ชอบที่จะพูดคุยกันอย่างเปิดใจกับอีกฝ่าย ในขณะที่คนรักกันจริง ๆ มักจะเปิดอกพูดคุยกัน ยอมรับข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน และมีความชัดเจนทั้งการกระทำและคำพูด
-
ถ้าคลั่งรักจะรู้สึกตื่นเต้น กังวล หวั่นไหว และมีความรู้สึกท่วมท้นเมื่ออยู่กับคนที่ชอบ แต่คนรักกันมักจะเต็มไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ผสมกับความรู้สึกอ่อนไหวต่อกัน
-
คนคลั่งรักมักหมกมุ่นกับอีกฝ่ายจนเสียการเสียงาน สูญสิ้นความเป็นตัวเอง แต่ความรักจะไม่เป็นเช่นนั้น ต่างคนต่างยังใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติดี ไม่ได้กระทบกับการใช้ชีวิตอย่างการคลั่งรัก
-
คนคลั่งรักมักไม่สนสัญญาณเตือนใด ๆ แม้อีกฝ่ายจะดูอันตรายแต่ก็ทำเป็นมองไม่เห็น และไม่คิดจะพูดถึง แต่หากคนรักกันถ้าเห็นถึงสัญญาณอันตราย จะพยายามพูดคุยกับคนรักอย่างเปิดใจเพื่อหาทางออกที่ดีร่วมกัน
-
คนคลั่งรักจะติดอีกฝ่ายมาก รู้สึกว่าไม่มีเขา เราอยู่ไม่ได้ แต่คนรักกันจะอยู่ห่างกันได้ แม้ว่าถ้าเลือกได้ก็ไม่ได้อยากห่างกันเท่าไร
อาการคลั่งรัก จะอยู่ได้นานแค่ไหน
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คลั่งรัก
คนที่ขาดความรู้สึกปลอดภัย
มีบาดแผลทางใจ
คนที่เคยเจ็บกับความสัมพันธ์ครั้งก่อน ๆ มา อาจจะทำให้มีภาวะคลั่งรักได้ง่ายขึ้น คือชอบคิดไปเองฝ่ายเดียวมากกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดหวังที่จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดอีกครั้งนั่นเอง
คนที่มีความนับถือตัวเองอยู่ในระดับต่ำ
คนที่หลงไปกับโซเชียลมีเดีย
อย่างไรก็ตาม บางคนก็ไม่ได้อยากรู้สึกคลั่งรักเท่าไร แต่กลับควบคุมความรู้สึกของตัวเองไม่ได้ เพราะเมื่อเราตกหลุมรักอย่างหนัก สมองจะหลั่งฮอร์โมนโมโนอะมิเนส เช่น โดปามีน นอร์เอพิเนฟริน เซโรโทนิน ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น ดีใจ เศร้า เหงา กังวลมากเกินปกติ
ในบางเคสที่อาการหนัก ๆ การหมกมุ่นกับใครสักคนยังส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และบางครั้งอาการคลั่งรักก็อาจลุกลามไปเป็นการกระทำความผิดต่ออีกฝ่ายได้ เช่น คอยสะกดรอยตามเขาจนเขารู้สึกไม่ปลอดภัย หรือนำไปสู่อาชญากรรมจากความหึงหวง เป็นต้น จึงจำเป็นต้องบำบัดรักษา
คลั่งรัก แก้ได้ไหม
รักษาแบบไหนได้บ้าง
การรักษาอาการคลั่งรักทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
-
พยายามพาตัวเองออกห่างจากเป้าหมาย และถอยห่างจากการเล่นโซเชียล เพื่อลดการมองเห็นอีกฝ่าย ทำให้ตัวเองหยุดคิดถึงเขาได้บ้าง
-
การทำ CBT (Cognitive Behavioral Therapy) หรือบำบัดจิต โดยนักจิตวิทยา
-
ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม
บทความที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต
- รู้จัก Erotomania ภาวะหลงผิดว่าเขารัก มโนว่าเป็นแฟนกัน ทั้งที่แค่คิดไปเอง
- โรคกลัวการผูกมัด เป็นแค่คนคุยกัน แต่ไม่ให้สถานะ...แค่กั๊กหรือกำลังป่วย
- โรคหัวใจสลาย อาจตายได้เพราะอกหัก สะเทือนใจอย่างหนัก !
- Philophobia โรคกลัวการตกหลุมรัก ไม่อยากอกหักเลยไม่กล้ารักใคร
- ฝันว่าเลิกกับแฟน ทำนายฝันในทางจิตวิทยาได้ ถึงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในใจ