
แอสต้าแซนทิน คืออะไร
แอสต้าแซนทิน คือ สารสีแดงตามธรรมชาติที่อยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่อาจช่วยปกป้องเซลล์และดูแลสุขภาพในหลาย ๆ ด้าน พบในสาหร่ายบางชนิดและยีสต์บางชนิดที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง ปู ปลาแซลมอน คริลล์ (Krill) เมื่อสัตว์ทะเลกินสาหร่ายและยีสต์ที่มีสารสีแดงชนิดนี้เข้าไปก็จะถูกสะสมไว้ในเปลือกและเนื้อ ทำให้สัตว์ทะเลมีสีชมพูแดง การกินอาหารทะเลเหล่านี้จึงเหมือนกับเราได้รับสารแอสต้าแซนทินไปด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แหล่งที่พบแอสต้าแซนทินตามธรรมชาติมากที่สุดคือ สาหร่ายฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ซึ่งมักถูกนำไปสกัดเป็นอาหารเสริมแอสต้าแซนทินแอสต้าแซนทิน
สรรพคุณดี ๆ ที่ต้องบอกต่อ

ประโยชน์ของแอสต้าแซนทินเด่น ๆ คือมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารอาหารชนิดอื่น ๆ จึงช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมได้หลายอย่าง อาทิ
-
ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดและริ้วรอย โดยมีงานวิจัยพบว่า การใช้แอสต้าแซนทินทั้งภายนอกและรับประทานร่วมกันสามารถช่วยลดเลือนริ้วรอย ทำให้จุดด่างดำดูจางลง และช่วยรักษาความชุ่มชื้น เพิ่มความยืดหยุ่นของผิวได้
-
มีส่วนช่วยลดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ป้องกันความเสียหายของกล้ามเนื้อและกระดูก จึงทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น ทนทานขึ้น
-
มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้าย (LDL) และเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
-
มีส่วนช่วยปกป้องดวงตาจากความเสียหายของอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อมและอาการตาล้า และอาจช่วยบรรเทาอาการตาแห้งเล็กน้อยถึงปานกลางได้
-
มีการศึกษาพบว่า แอสต้าแซนทินอาจช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบได้ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การอักเสบเรื้อรังต่าง ๆ
-
แอสต้าแซนทินอาจมีบทบาทในการช่วยเรื่องสุขภาพกระดูก โดยมีส่วนช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระในเซลล์กระดูก และอาจช่วยยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก พร้อมกับช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและลดการสูญเสียมวลกระดูกได้
-
แอสต้าแซนทินมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงหรือชะลอการดำเนินของโรคสมองเสื่อม รวมทั้งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงความจำ สมาธิ และการเรียนรู้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะความจำบกพร่องเล็กน้อย
-
มีการศึกษาพบว่า การเสริมแอสต้าแซนทินในผู้ชายที่มีบุตรยาก ช่วยเพิ่มความเข้มข้นและเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม เห็นได้จากอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ
วิธีเลือกซื้ออาหารเสริม
Astaxanthin
อยากซื้อแอสต้าแซนทินมาดูแลสุขภาพควรเลือกซื้ออย่างไร ลองมาดูคำแนะนำตรงนี้ก่อน
-
เลือกจากปริมาณแอสต้าแซนทินที่เหมาะสม โดยหากต้องการบำรุงสุขภาพทั่วไปควรกินในปริมาณ 4-6 มิลลิกรัม แต่หากต้องการดูแลสุขภาพตามจุดประสงค์ หรือเพื่อบรรเทาอาการอื่น ๆ อาจรับประทานในปริมาณที่มากกว่า 6 มิลลิกรัมได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
-
เลือกแอสต้าแซนทินที่สกัดมาจากสาหร่ายสีแดงฮีมาโตค็อกคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) ซึ่งมีงานวิจัยรองรับถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย และมีรูปแบบโครงสร้างที่ร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า แต่ก็มีราคาสูงกว่าแอสต้าแซนทินที่มาจากการสังเคราะห์
-
บางแบรนด์อาจใส่ส่วนผสมของวิตามินอี สารสกัดจากเมล็ดองุ่น วิตามินซี ขมิ้นชัน สังกะสี ฯลฯ เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพของแอสต้าแซนทิน เราจึงควรพิจารณาว่าส่วนผสมเหล่านี้ตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่ หรือต้องการเฉพาะแบรนด์ที่มีแอสต้าแซนทินเพียว ๆ
-
เลือกซื้อจากรูปแบบที่สะดวกในการรับประทาน เช่น แบบแคปซูล แบบเม็ดยา แบบซอฟต์เจล หรือแบบผง
-
ตรวจสอบส่วนผสมต่าง ๆ ให้แน่ชัดว่ามีส่วนประกอบใดที่ทำให้เรามีอาการแพ้หรือไม่ เช่น บางแบรนด์อาจมีส่วนผสมจากถั่วเหลือง เป็นต้น
-
เลือกซื้อแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี มีความปลอดภัย มีเลขทะเบียน อย. ชัดเจน และตรวจสอบวันผลิต-วันหมดอายุให้ชัดเจน
-
ควรซื้ออาหารเสริมจากช่องทางที่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านขายยา หรือมีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำ
-
เปรียบเทียบราคาและความคุ้มค่า โดยอาจจะพิจารณาจากรีวิวของคนที่รับประทานจริง
แอสต้าแซนทิน
ยี่ห้อไหนดี ปี 2025
1. Astacumin (แอสต้าคิวมิน) อ้วยอันโอสถ

ภาพจาก : shop.ouayun.com
แอสต้าแซนทินจากแบรนด์ Herbal One ในเครืออ้วยอันโอสถ ที่เราคุ้นชื่อกันดี ขวดนี้มีส่วนประกอบของสารสกัดสาหร่ายสีแดง (Haematococcus Pluvialis extract) ปริมาณ 200 มิลลิกรัม โดยจะให้แอสต้าแซนทิน 6 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ และยังมาพร้อมกับผงขมิ้นชันอีก 124 มิลลิกรัม ที่ช่วยเสริมการทำงานของแอสต้าแซนทิน
-
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร
-
ราคาปกติ : 480 บาท (30 แคปซูล)
2. DHC Astaxanthin

ภาพจาก : lazada
DHC Astaxanthin แอสต้าแซนทินแบรนด์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเรื่องอาหารเสริม 1 ซอง มี 30 เม็ด สามารถรับประทานได้ 30 วัน โดยแต่ละเม็ดให้แอสต้าแซนทินขนาด 9 มิลลิกรัม และเสริมด้วยวิตามินอี เหมาะกับคนที่ต้องการเน้นดูแลสุขภาพผิวมากเป็นพิเศษ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า แล้วตามด้วยน้ำอุ่น
-
ราคาประมาณ : 590 บาท (30 แคปซูล)
3. Astaxanthin Plus CoQ10 Smooth Life by Smooth E

ภาพจาก : Smooth E Official Store
แอสต้าแซนทิน Smooth Life by Smooth E ซึ่งให้แอสต้าแซนทินมาเต็ม ๆ 6 มิลลิกรัม และเป็นแอสต้าแซนทินที่ผลิตจากสาหร่ายสีแดงที่เพาะเลี้ยงตามธรรมชาติในทะเลทรายอาตากามา ประเทศชิลี จึงมีความบริสุทธิ์ ทนแสงแดด ทน UV ได้ดีกว่าสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงในระบบปิด นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมเสริมอื่น ๆ อีก 4 ชนิด คือ โคเอนไซม์คิวเทน น้ำมันเมล็ดองุ่น น้ำมันมะกอก และวิตามินอี มาช่วยเสริมการทำงานในด้านการดูแลผิวพรรณด้วย
-
วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 เม็ด พร้อมอาหาร
-
ราคาปกติ : 1,160 บาท (30 แคปซูล)
4. Zenji ASTA CAMU C

ภาพจาก : zenjibioplus.com
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสต้าแซนทินจากแบรนด์เซนจิ ที่ใช้แอสต้าแซนทินสกัดจากสาหร่ายสีแดง นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ให้มาในปริมาณ 6 มิลลิกรัม เสริมด้วยซูเปอร์วิตามินซี 500 มิลลิกรัม ที่มาจากสารสกัดคามู-คามู, สารสกัดส้มสีแดง, สารสกัดอะเซโรล่า เชอร์รี, สารสกัดซีบัคธอร์น และสารสกัดแครนเบอร์รี อีกทั้งยังมีซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยเป็นกระสายยาเพิ่มการดูดซึม 5 เท่า เพื่อประโยชน์ของผิว เรียกได้ว่ากินเม็ดเดียวครบจบ ไม่ต้องกินวิตามินซีเพิ่ม
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หลังอาหาร
-
ราคาปกติ : 690 บาท (30 แคปซูล)
5. Dr.Pong Astaxanthin 6 mg

ภาพจาก : Dr. Pong shop
แอสต้าแซนทิน Dr.pong ขวดนี้เหมาะกับคนที่อยากรับประทานแอสต้าแซนทินแบบเพียว ๆ ไม่มีส่วนผสมของวิตามินอื่น ๆ โดยใน 1 แคปซูล อัดแน่นด้วยแอสต้าแซนทินที่สกัดมาจากสาหร่ายสีแดงจากประเทศญี่ปุ่น ในปริมาณ 6 มิลลิกรัม และยังมีส่วนผสมของ MCT Oil carrier 100% ซึ่งเป็นน้ำมันที่ช่วยนำพาการดูดซึมแอสต้าแซนทินโดยไม่ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเหมือนกับน้ำมันชนิดอื่น
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 600 บาท (30 แคปซูล)
6. Blacktra Astaxanthin Plus 6 mg

ภาพจาก : Blacktra Nutrition
"แบล็คตร้า แอสตาแซนธิน พลัส" อีกหนึ่งแบรนด์อาหารเสริมแอสต้าแซนทินที่ใช้สารสกัดสาหร่ายสีแดงจากญี่ปุ่น ในปริมาณ 300 มิลลิกรัม ซึ่งจะให้แอสต้าแซนทิน 6 มิลลิกรัม และยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็นสารสกัดองุ่น สารสกัดสตรอว์เบอร์รี ซิงก์ โคเอนไซม์คิวเทน รวมถึงวิตามินอี บรรจุมาในรูปแบบซอฟต์เจลที่รับประทานง่าย ดูดซึมได้ดี
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 ซอฟต์เจล หลังมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 590 บาท (30 แคปซูล)
7. Now Foods Astaxanthin 4 mg

ภาพจาก : Now Foods Official Shop TH
สำหรับคนที่ต้องการแอสต้าแซนทินในปริมาณไม่สูงมาก ลองดูแบรนด์ NOW นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ที่ให้แอสต้าแซนทินจากสาหร่ายขนาดเล็ก ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส ซึ่งปลูกในสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลและบริสุทธิ์ของประเทศชิลี มาในปริมาณ 4 มิลลิกรัม บรรจุมาในแคปซูลนิ่ม Veggie Softgels คนที่กินมังสวิรัติหรือกินเจสามารถรับประทานได้
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล ก่อนหรือหลังมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 685 บาท (60 แคปซูล)
แอสต้าแซนทิน กินตอนไหนดี
เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีที่สุด ควรรับประทานแอสต้าแซนทินพร้อมอาหาร เนื่องจากแอสต้าแซนทินเป็นสารที่ละลายได้ดีในไขมัน ไขมันจากอาหารจะช่วยเพิ่มการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะอาจทำให้การดูดซึมไม่ดีเท่าที่ควร
ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีควรรับประทานอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์
แอสต้าแซนทิน กินคู่กับอะไรดี

การรับประทานแอสต้าแซนทินร่วมกับอาหารหรือสารอาหารบางชนิดอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมและเสริมฤทธิ์ของแอสต้าแซนธินได้ดีขึ้น เช่น
-
อาหารที่มีไขมันดี : อย่างอะโวคาโด ถั่ว น้ำมันมะกอก เนื่องจากแอสต้าแซนทินเป็นสารที่ละลายได้ดีในไขมัน เมื่อรับประทานพร้อมกันจะช่วยเพิ่มการดูดซึม
-
คอลลาเจน : ทั้งแอสต้าแซนทินและคอลลาเจนมีส่วนช่วยดูแลผิวพรรณ ดังนั้น การรับประทานร่วมกันอาจช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของผิวได้ดียิ่งขึ้น
-
วิตามินซี : วิตามินซีก็เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อผิวพรรณและปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่มีผลต่อสุขภาพโดยรวม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสต้าแซนทินหลายยี่ห้อจึงนิยมผสมวิตามินซีลงไปด้วย เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน
- วิตามินอี : แอสต้าแซนทินและวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมันได้ดี การรับประทานร่วมกันอาจช่วยเสริมฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยในการดูแลสมองและผิวพรรณ
ข้อควรระวังในการกินแอสต้าแซนทิน
-
คนที่มีอาการแพ้อาหารทะเล หรือสัตว์ที่มีเปลือกแข็ง แพ้สาหร่าย ไม่ควรรับประทาน
-
อ่านฉลากและคำเตือนก่อนรับประทาน
-
รับประทานตามปริมาณที่แนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งปริมาณแอสต้าแซนทินอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ต้องการ แต่จากการศึกษาพบว่าการรับประทานแอสต้าแซนทิน 4-12 มิลลิกรัมต่อวัน อาจมีประโยชน์ และไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 12 สัปดาห์
-
การรับประทานแอสต้าแซนทินในปริมาณสูงเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง
-
การรับประทานแอสต้าแซนทินอาจทำให้ขับถ่ายบ่อยขึ้นและอุจจาระมีสีแดง
-
เด็กและสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมแอสต้าแซนทิน
-
แอสต้าแซนทินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือสมุนไพรบางชนิด เช่น แปะก๊วย อาหารที่มีแคลเซียมสูง อาหารที่มีแคโรทีนอยด์สูง เช่น ฟักทอง แครอต มะเขือเทศ ผักใบเขียว มันหวาน จึงควรเว้นระยะเวลารับประทานให้ห่างจากอาหารเหล่านี้
-
แอสต้าแซนทินมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด คนที่รับประทานยาลดความดันโลหิตหรือยาลดน้ำตาลในเลือดจึงควรระมัดระวัง
-
แอสต้าแซนทินอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาที่ใช้รักษาตับ, ยาที่ยับยั้งเอนไซม์ 5-alpha-reductase ซึ่งรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด (แอสไพริน วาร์ฟาริน), ยากดภูมิคุ้มกัน, ยารักษาโรคหัวใจ, อาหารเสริมฮอร์โมน เป็นต้น ผู้ที่รับประทานยารักษาโรคอยู่เป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินอาหารเสริมทุกชนิด
-
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
บทความที่เกี่ยวข้องกับวิตามินอาหารเสริม
- เบต้ากลูแคน (Beta Glucan) ยี่ห้อไหนดี พร้อมเช็กสรรพคุณ วิธีเลือกซื้อ และข้อควรระวัง
- วิตามินคนนอนน้อย นอนดึก พักผ่อนไม่พอ ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 ตัวช่วยคืนความสดชื่น ฟื้นฟูร่างกาย
- วิตามิน D3 ช่วยอะไร ยี่ห้อไหนดี เติมวิตามินสำคัญให้ร่างกาย ช่วยดูดซึมแคลเซียม
- น้ำมันปลา ช่วยอะไร ต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร เลือกซื้อยี่ห้อไหนดี ปี 2568
- วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 พร้อมไขข้อสงสัย กินวิตามินซีทุกวันอันตรายไหม