
ตจวิทยา อ่านว่าอะไร
ตจวิทยา คืออะไร

ในเมื่อคำว่า ตจ แปลว่า ผิวหนัง ดังนั้น ตจวิทยา (Dermatology) คือ วิชาแพทยศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเป็นสาขาย่อยของทั้งด้านอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย นั่นคือ ผิวหนัง นั่นเอง ไม่เพียงแค่ผิวหนังเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงหนังศีรษะ เส้นผม และเล็บ โดยทั่วไปเราจะเรียกแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ว่า แพทย์ผิวหนัง (Dermatologist) หรือแพทย์ตจวิทยา
แพทย์ตจวิทยา เรียนคณะอะไร
เรียนกี่ปี
การจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง ต้องเรียนจบแพทยศาสตร์บัณฑิต 6 ปี หลังจากนั้นหากมีความสนใจเรื่องผิวหนังจะต้องศึกษาหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา (Residency Training) ต่ออีก 4 ปี ซึ่งมีสถาบันฝึกอบรม ดังนี้
-
สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-
สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
-
ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
-
แผนกผิวหนัง กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
-
หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-
หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังจะต้องเรียนทั้งหมด 10 ปี จากนั้นเมื่อจบหลักสูตรการอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาตจวิทยา และสอบผ่าน จึงจะได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาตจวิทยา จากแพทยสภา ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ได้รับวุฒิบัตรสาขานี้ประมาณ 20 กว่าคนเท่านั้น
แพทย์ตจวิทยา รักษาโรคอะไรบ้าง

ขอบเขตการดูแลของแพทย์ตจวิทยาครอบคลุมหลายด้าน ทั้งการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย รักษา ผ่าตัด บำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ และการป้องกันโรคต่อไปนี้
-
โรคผิวหนังทั่วไป เช่น รักษาสิว, กลาก, เกลื้อน, ลมพิษ, ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema), สะเก็ดเงิน (Psoriasis), โรคด่างขาว (Vitiligo)
-
การติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือปรสิต เช่น เริม, งูสวัด, หูด, หิด, โลน, ฝี, หนอง ฯลฯ
-
มะเร็งผิวหนัง เช่น มะเร็งเซลล์ฐาน (Basal Cell Carcinoma), มะเร็งเซลล์สความัส (Squamous Cell Carcinoma), มะเร็งเมลาโนมา (Melanoma)
-
ความผิดปกติของเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น ปัญหาผมร่วง, ผมบาง, รังแค, หนังศีรษะอักเสบ, โรคสะเก็ดเงินบนหนังศีรษะ, การปลูกผม
-
ความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บขบ เชื้อราที่เล็บ
-
โรคผิวหนังที่เกิดจากปฏิกิริยาแพ้ เช่น ผื่นแพ้สัมผัส ภูมิแพ้
-
โรคผิวหนังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส (Lupus)
-
การดูแลผิวพรรณและความงาม รวมทั้งการทำหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง เช่น การรักษาริ้วรอย, จุดด่างดำ, การฉีดฟิลเลอร์, โบท็อกซ์, เลเซอร์, การกำจัดขน และการทำทรีตเมนต์ผิวต่าง ๆ เป็นต้น
แพทย์ที่ดูแลโรคผิวหนัง ใช่แพทย์ตจวิทยาทุกคนไหม
เมื่อไหร่ถึงต้องพบแพทย์ตจวิทยา
หากเราพบอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรพิจารณาไปพบแพทย์ตจวิทยา เพื่อการวินิจฉัยอย่างตรงจุด
-
มีผื่นขึ้นที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือมีผื่นเรื้อรัง ลุกลาม เป็นนานกว่า 2 สัปดาห์
-
มีอาการติดเชื้อที่ผิวหนัง บวม แดง เจ็บ เกิดฝี หนอง
-
มีสิวอักเสบ สิวเห่อ หรือสิวที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยตนเอง
-
ไฝ กระ หรือจุดด่างดำ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีขนาดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสีและรูปร่าง
-
มีอาการคันผิวหนังอย่างรุนแรง หรือคันโดยไม่ทราบสาเหตุ
-
ผมร่วงผิดปกติ หรือมีปัญหาหนังศีรษะเรื้อรัง
-
เล็บผิดรูป สีเปลี่ยนแปลง หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เล็บหนาผิดปกติ เล็บมีรอยแตก เล็บคุด เล็บขบ
-
มีริ้วรอย จุดด่างดำ หรือผิวพรรณหย่อนคล้อย
-
เป็นโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น สะเก็ดเงิน กลาก เกลื้อน
-
ต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งผิวหนัง
-
ต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณเฉพาะบุคคล
บทความที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนัง
- เช็กสัญญาณโรคมะเร็งผิวหนัง เป็นแผลเรื้อรังไม่หาย ไฝเปลี่ยนไป อาจใช่ !
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง คัน ผิวแพ้ง่าย ดูแลอย่างไรไม่ให้ผื่นเห่อ
- ไฝแบบไหนอันตราย อาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ เช็กด่วน !
- 9 โรคผิวหนังที่ต้องระวังในหน้าฝน รู้ให้ครบช่วยลดความเสี่ยง
- 11 โรคผิวหนังหน้าร้อนต้องระวัง คันตามตัวในฤดูนี้ประจำ ทำยังไงดี