
ขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเรื่องเล่าเช้านี้
เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผย การขยายขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ของกระทรวงสาธารณสุขจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 ทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการคุ้มครองสุขภาพ
เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2556) ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวในการประชุมวิชาการ "บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ" ครั้งที่ 12 เรื่อง "กลลวงโฆษณาของพ่อค้าบุหรี่" ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ว่า จากกรณีที่บริษัทบุหรี่ฟ้องศาลปกครองให้ยกเลิกกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้เพิ่มขนาดคำเตือนจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 โดยให้เหตุผลว่า การเพิ่มขนาดขนาดของคำเตือนไม่ได้ส่งผลให้มีคนสูบบุหรี่น้อยลงนั้น
จากรายงานผลการวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารขององค์การอนามัยโลก โดยรวบรวมข้อมูลจาก 41 ประเทศ จากปี 2550-2553 พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลง 14.8 ล้านคน เท่ากับลดผู้ที่จะเสียชีวิตจากการใช้ยาสูบได้ 7.4 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นภาษี 3.5 ล้านคน, การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ 2.5 ล้านคน, การพิมพ์ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ 700,000 คน, การรักษาให้เลิกบุหรี่ 380,000 คน และการห้ามโฆษณาและส่งเสริมการขาย 306,000 คน
ศ.นพ.ประกิต ยังกล่าวอีกว่า สำหรับข้อโต้แย้งที่อ้างว่า ภาพคำเตือนการสูบบุหรี่มีประสิทธิภาพน้อย กระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ควรขยายขนาดภาพคำเตือนนั้น ในความเป็นจริงแล้วมาตรการควบคุมยาสูบแต่ละมาตรการมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน และแต่ละมาตรการจะเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกันที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ เช่น




ซึ่งทุกมาตรการที่กล่าวมา จะต้องดำเนินการไปพร้อมกัน ดังนั้น การขยายขนาดภาพคำเตือนของกระทรวงสาธารณสุข จึงถือเป็นการทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการคุ้มครองสุขภาพนั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
