อาการผีอำตกลงเป็นผีมาอำจริง ๆ หรือเป็นความผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ใครเคยโดนผีอำมาไขข้อสงสัยกันค่ะ
ผีอำ คืออะไรกันแน่
ผีอำ (Sleep Paralysis) เป็นคำที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเป็นคำที่อธิบายถึงสภาวะขยับร่างกายไม่ได้ในขณะที่อยู่ในสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น เป็นความรู้สึกอึดอัดแบบที่หาทางออกไม่ได้ บางคนจะรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หนักอึ้งไปทั้งตัว พยายามจะอ้าปากพูด เสียงก็ไม่ออกมา บ้างก็เห็นใครมานั่งทับอก หรือยืนคร่อมตัวอยู่ เป็นต้น
ทว่าในทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ผีอำจัดเป็นอาการผิดปกติอย่างหนึ่งของการนอนหลับ โดยอาการผีอำมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนฝันร้าย มักจะเกิดในช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น ในขณะที่กำลังเคลิ้มหลับหรือใกล้ตื่นนอน และผีอำเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเลยล่ะค่ะ
คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่เคยถูกผีอำ นอนอยู่ดี ๆ ก็เหมือนขยับร่างกายไม่ได้ พูดอะไรก็ไม่ได้ แถมยังเห็นเหมือนใครมานั่งทับอกไปอีก ครั้นพอขยับตัวได้ สติมา ก็เริ่มสงสัยว่าอาการนอนแล้วขยับตัวไม่ได้เกิดจากถูกผีอำจริง ๆ หรือที่แท้แล้วร่างกายเราเกิดความผิดปกติบางอย่างอยู่ เอาล่ะ...จะผีอำจริง ๆ หรืออำหลอก ๆ เรามาหาคำตอบกัน !
ผีอำ (Sleep Paralysis) เป็นคำที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเป็นคำที่อธิบายถึงสภาวะขยับร่างกายไม่ได้ในขณะที่อยู่ในสภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น เป็นความรู้สึกอึดอัดแบบที่หาทางออกไม่ได้ บางคนจะรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หนักอึ้งไปทั้งตัว พยายามจะอ้าปากพูด เสียงก็ไม่ออกมา บ้างก็เห็นใครมานั่งทับอก หรือยืนคร่อมตัวอยู่ เป็นต้น
ทว่าในทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ผีอำจัดเป็นอาการผิดปกติอย่างหนึ่งของการนอนหลับ โดยอาการผีอำมีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนฝันร้าย มักจะเกิดในช่วงครึ่งหลับครึ่งตื่น ในขณะที่กำลังเคลิ้มหลับหรือใกล้ตื่นนอน และผีอำเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยเลยล่ะค่ะ
ผีอำเกิดจากอะไร
อาการผีอำเป็นอาการที่ร่างกายกับจิตใต้สำนึกหลับหรือตื่นขึ้นมาไม่พร้อมกัน โดย รศ. นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม หัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายว่า ในการนอนหลับของเราจะมีการฝันเกิดขึ้นประมาณคืนละ 5 รอบ รอบแรกจะเกิดขึ้นหลังหลับไปแล้ว ซึ่งในช่วงนี้ร่างกายจะถูกสั่งให้เป็นอัมพาตเพื่อที่จะได้โฟกัสไปที่ความฝันอย่างจริงจัง บางครั้งเราจึงรู้สึกว่าความฝันของเราเหมือนจริงมาก ๆ ทว่าในบางคนยังไม่ทันจะหลับลึกแต่ยังอยู่ในช่วงเคลิ้มหลับก็ฝันแล้ว ร่างกายเลยสั่งให้เป็นอัมพาตเฉียบพลันทั้ง ๆ ที่มีสติอยู่บ้าง (ครึ่งหลับครึ่งตื่น) จึงรู้สึกเหมือนถูกผีอำนั่นเอง
อย่างไรก็ตามสภาวะการหลับแบบนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะหลับแบบตากระตุก (REM sleep) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เราจะฝัน และร่างกายจะตกอยู่ในสภาวะที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ คลายตัวหมด ส่งผลให้การขยับตัวเป็นเรื่องยาก และจะขยับตัวได้ก็ต่อเมื่อต้องตื่นอย่างเต็มที่ โดยอาจจะโดนเขย่าตัวให้ตื่น หรือรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะตื่นอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ อาการขยับตัวไม่ได้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 วินาที - 10 นาที จากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวจนตื่นอย่างเต็มตาได้ในที่สุด
นอกจากนี้ข้อมูลจากคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ยังเผยถึงสาเหตุของอาการผีอำว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
อย่างไรก็ตามสภาวะการหลับแบบนี้ทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะหลับแบบตากระตุก (REM sleep) ซึ่งจะเป็นช่วงที่เราจะฝัน และร่างกายจะตกอยู่ในสภาวะที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ คลายตัวหมด ส่งผลให้การขยับตัวเป็นเรื่องยาก และจะขยับตัวได้ก็ต่อเมื่อต้องตื่นอย่างเต็มที่ โดยอาจจะโดนเขย่าตัวให้ตื่น หรือรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะตื่นอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ อาการขยับตัวไม่ได้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 วินาที - 10 นาที จากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวจนตื่นอย่างเต็มตาได้ในที่สุด
นอกจากนี้ข้อมูลจากคลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ยังเผยถึงสาเหตุของอาการผีอำว่ามีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
- การอดนอนหรือนอนไม่พอ
- การเข้านอนผิดเวลา โดยเฉพาะในช่วงโพล้เพล้ ซึ่งเป็นช่วงกึ่งสว่างกึ่งมืด ทำให้ร่างกายหลับได้ไม่สนิทดี ส่งผลให้เกิดฝันร้ายหรืออาการผีอำได้มาก
- โรคลมหลับ ซึ่งเป็นโรคที่มีช่วงการนอนฝันผิดปกติ (อ่านเพิ่มเติม : ง่วงนอนทั้งวัน หลับได้ทุกที่ ระวังให้ดีอาจเป็นโรคลมหลับ)
- โรคร่วมต่าง ๆ เช่น โรคเครียด ไมเกรน โรควิตกกังวล เป็นต้น
- โรคลมหลับ ซึ่งเป็นโรคที่มีช่วงการนอนฝันผิดปกติ (อ่านเพิ่มเติม : ง่วงนอนทั้งวัน หลับได้ทุกที่ ระวังให้ดีอาจเป็นโรคลมหลับ)
- โรคร่วมต่าง ๆ เช่น โรคเครียด ไมเกรน โรควิตกกังวล เป็นต้น
ผีอำ อาการเป็นอย่างไร
อย่างที่บอกว่าอาการผีอำจะมีลักษณะเหมือนนอนหลับอยู่แล้วรู้สึกหนัก ๆ ที่ตัว เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แม้จะลืมตาตื่นหรือพยายามจะเปล่งเสียงเรียกให้ใครช่วยก็พูดไม่ออก พยายามตะโกนออกมาเสียงก็ไม่ออก บางครั้งก็หลอนว่าตัวเองถูกตรึงไว้บนเตียง จับแขน ฉุดขา ตัวหมุนเคว้ง หรือลอยได้ และอาการจะหายไปก็ต่อเมื่อใครสักคนมาเขย่าตัวหรือปลุกแรง ๆ ให้ตื่น แต่หากไม่มีใครมาปลุก อาการนี้ก็จะหายได้เองภายในไม่เกิน 10 นาที และเป็นอาการที่ไม่มีอันตรายใด ๆ
ทั้งนี้ คนที่มีอาการผีอำส่วนใหญ่จะเกิดอาการขณะนอนหงายบนเตียง หรือนอนอยู่ในท่าที่ไม่สบายตัวสักเท่าไรนะคะ
อย่างที่บอกว่าอาการผีอำจะมีลักษณะเหมือนนอนหลับอยู่แล้วรู้สึกหนัก ๆ ที่ตัว เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ แม้จะลืมตาตื่นหรือพยายามจะเปล่งเสียงเรียกให้ใครช่วยก็พูดไม่ออก พยายามตะโกนออกมาเสียงก็ไม่ออก บางครั้งก็หลอนว่าตัวเองถูกตรึงไว้บนเตียง จับแขน ฉุดขา ตัวหมุนเคว้ง หรือลอยได้ และอาการจะหายไปก็ต่อเมื่อใครสักคนมาเขย่าตัวหรือปลุกแรง ๆ ให้ตื่น แต่หากไม่มีใครมาปลุก อาการนี้ก็จะหายได้เองภายในไม่เกิน 10 นาที และเป็นอาการที่ไม่มีอันตรายใด ๆ
ทั้งนี้ คนที่มีอาการผีอำส่วนใหญ่จะเกิดอาการขณะนอนหงายบนเตียง หรือนอนอยู่ในท่าที่ไม่สบายตัวสักเท่าไรนะคะ
ผีอำ รักษายังไง
อย่างที่บอกไปว่า อาการผีอำจะหายไปได้เองภายใน 10 นาที ดังนั้น แค่เรานอนเฉย ๆ ไม่นานก็จะหายไป แต่หากใครรู้สึกอยากออกจากผีอำโดยเร็ว ให้ลองพยายามขยับกล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อนิ้ว อะไรที่เล็ก ๆ ดูก่อน เพราะหากขยับได้ จะทำให้เราหลุดออกได้ทันที
อย่างที่บอกไปว่า อาการผีอำจะหายไปได้เองภายใน 10 นาที ดังนั้น แค่เรานอนเฉย ๆ ไม่นานก็จะหายไป แต่หากใครรู้สึกอยากออกจากผีอำโดยเร็ว ให้ลองพยายามขยับกล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อนิ้ว อะไรที่เล็ก ๆ ดูก่อน เพราะหากขยับได้ จะทำให้เราหลุดออกได้ทันที
และเนื่องจากอาการผีอำไม่ได้ส่งผลอันตรายต่อร่างกายโดยตรง ดังนั้น การรักษาอาการผีอำจึงยังไม่มีวิธีรักษาที่แน่นอน เพียงแต่มีแนวทางที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรและระยะของการนอน
2. ฝึกทักษะการหายใจเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ตั้งสติให้ดี
4. ในกรณีที่เป็นโรคลมหลับ แพทย์อาจจะให้ยาแก้ง่วง หรือยาลดการฝัน เป็นต้น
สำหรับคนที่เกิดอาการผีอำบ่อย ๆ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผีอำบ่อย ๆ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุดที่สุด
ผีอำ ป้องกันได้ไหม
ด้วยความที่อาการผีอำเกิดได้จากพฤติกรรมบางอย่างของเราด้วย ดังนั้น หากไม่อยากมีอาการผีอำอีก เรามีวิธีป้องกันผีอำมาบอกต่อ
* ไม่อยากถูกผีอำ "ต้องทำ" อย่างนี้
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรและระยะของการนอน
2. ฝึกทักษะการหายใจเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
3. ตั้งสติให้ดี
4. ในกรณีที่เป็นโรคลมหลับ แพทย์อาจจะให้ยาแก้ง่วง หรือยาลดการฝัน เป็นต้น
สำหรับคนที่เกิดอาการผีอำบ่อย ๆ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผีอำบ่อย ๆ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุดที่สุด
ผีอำ ป้องกันได้ไหม
ด้วยความที่อาการผีอำเกิดได้จากพฤติกรรมบางอย่างของเราด้วย ดังนั้น หากไม่อยากมีอาการผีอำอีก เรามีวิธีป้องกันผีอำมาบอกต่อ
* ไม่อยากถูกผีอำ "ต้องทำ" อย่างนี้
- ปรับไฟในห้องนอนให้สลัว ๆ สร้างบรรยากาศก่อนนอนอย่างน้อย 15 นาที
- ผ่อนคลายความเครียด ทำจิตให้ว่างก่อนเข้านอนสัก 2-3 ชั่วโมง โดยอาจสวดมนต์ ไหว้พระ หรือทำสมาธิก่อนนอนก็ได้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยออกกำลังกายเบา ๆ ไปจนถึงปานกลาง ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงขึ้นไป (แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน)
- ยืดเส้นยืดสาย หรือโยคะเบา ๆ ก่อนนอน 15-30 นาที
- ควรเข้านอนเวลาเดิม และตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน
- อาบน้ำอุ่น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
- เปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ หรือเสียงธรรมชาติเพื่อกล่อมให้นอนหลับง่ายขึ้น
- ดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอน เพื่อให้นอนหลับง่ายขึ้น
* ไม่อยากถูกผีอำ "อย่าทำ" อย่างนี้
- ผ่อนคลายความเครียด ทำจิตให้ว่างก่อนเข้านอนสัก 2-3 ชั่วโมง โดยอาจสวดมนต์ ไหว้พระ หรือทำสมาธิก่อนนอนก็ได้
- ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยออกกำลังกายเบา ๆ ไปจนถึงปานกลาง ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงขึ้นไป (แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน)
- ยืดเส้นยืดสาย หรือโยคะเบา ๆ ก่อนนอน 15-30 นาที
- ควรเข้านอนเวลาเดิม และตื่นนอนเวลาเดิมทุกวัน
- อาบน้ำอุ่น หรือแช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
- เปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ หรือเสียงธรรมชาติเพื่อกล่อมให้นอนหลับง่ายขึ้น
- ดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอน เพื่อให้นอนหลับง่ายขึ้น
* ไม่อยากถูกผีอำ "อย่าทำ" อย่างนี้
- ดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือก่อนนอน โดยเฉพาะดูเรื่องเครียด ๆ เรื่องลี้ลับ เรื่องผี เป็นต้น
- ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน เพราะทำให้หลับตื้น และตื่นง่ายขึ้น
- สูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงจนนอนหลับยากขึ้น
- นอนในที่ที่ไม่ใช่ห้องนอน ไม่ใช่ที่ที่เหมาะแก่การนอน เช่น นอนบนโซฟา หรือเก้าอี้เอน เป็นต้น
- นอนหลับทั้งที่ร่างกายไม่อยู่ในสภาวะที่พร้อมหลับ เช่น เพลียเกินไป หลับไปทั้งที่ยังไม่ได้อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า
- เข้านอนทั้ง ๆ ที่หิวอยู่ หรือในขณะที่อิ่มมาก ๆ
- เล่นมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอน 1-2 ชั่วโมง
- นอนกอดอก เพราะอาจทำให้รู้สึกคล้ายผีอำได้จากแรงกดของมือและแขน
- ออกกำลังกายอย่างหนักหรืออย่างหักโหมก่อนเวลานอน 2-3 ชั่วโมง
- นอนหลับในช่วงเวลาโพล้เพล้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผล็อยหลับบ่อย ๆ หรือมีอาการผีอำบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางออกที่ถูกต้องจะดีที่สุดนะคะ
- ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน เพราะทำให้หลับตื้น และตื่นง่ายขึ้น
- สูบบุหรี่ก่อนนอน เพราะทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงจนนอนหลับยากขึ้น
- นอนในที่ที่ไม่ใช่ห้องนอน ไม่ใช่ที่ที่เหมาะแก่การนอน เช่น นอนบนโซฟา หรือเก้าอี้เอน เป็นต้น
- นอนหลับทั้งที่ร่างกายไม่อยู่ในสภาวะที่พร้อมหลับ เช่น เพลียเกินไป หลับไปทั้งที่ยังไม่ได้อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า
- เข้านอนทั้ง ๆ ที่หิวอยู่ หรือในขณะที่อิ่มมาก ๆ
- เล่นมือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอน 1-2 ชั่วโมง
- นอนกอดอก เพราะอาจทำให้รู้สึกคล้ายผีอำได้จากแรงกดของมือและแขน
- ออกกำลังกายอย่างหนักหรืออย่างหักโหมก่อนเวลานอน 2-3 ชั่วโมง
- นอนหลับในช่วงเวลาโพล้เพล้
อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผล็อยหลับบ่อย ๆ หรือมีอาการผีอำบ่อยครั้ง ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาทางออกที่ถูกต้องจะดีที่สุดนะคะ
*หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561
คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา