Dysania หรือ โรคเตียงดูด เรียกอีกอย่างว่า Clinomania คือ อาการของคนที่ชอบนอนอยู่บนเตียง นอนกินบ้านกินเมืองได้ทั้งวัน นี่เรียกว่าป่วยทางจิตเบา ๆ นะรู้ยัง ?
มีคนจำนวนไม่น้อยหรอกที่ชอบนอนตื่นสาย ๆ
หรือให้นอนทั้งวันแบบที่เรียกว่านอนกินบ้านกินเมืองก็ยังได้ แถมยังจะฟินมาก
ๆ อีกต่างหากถ้าได้นอนขลุกอยู่บนเตียงทั้งวัน
ซึ่งพฤติกรรมการนอนไม่ยอมลุกจากเตียงแบบนี้ไม่ใช่แค่นิสัยส่วนตัวรายบุคคลหรอกนะคะ
ทว่าบางเคสอาจยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอาการ Clinomania หรือ Dysania
อาการของคนที่ชอบนอนอยู่บนเตียง อยากนอนทั้งวันไม่ต้องทำอะไรเลย ติดตัวอยู่
ที่อาจเรียกว่า "โรคเตียงดูด" ซึ่งอาการ Clinomania หรือ Dysania ที่ว่านี้ก็นับเป็นอาการป่วยเบา ๆ
ซะด้วยสิ แล้วคุณล่ะ เป็นโรค Clinomania หรือ Dysania กันหรือเปล่า ?
Clinomania หรือ Dysania คืออะไร
Clinomania แปลได้ตรงตัวมาก ๆ เพราะชื่อก็บอกอยู่ชัด ๆ แล้วว่าเป็นอาการมาเนีย (Mania) อย่างหนึ่ง หรือจะอธิบายง่าย ๆ ว่าเป็นอาการคลั่งไคล้ต่อ Clino ที่แปลว่าเตียง ซึ่งก็เท่ากับว่า Clinomania คืออาการคลั่งไคล้การอยู่บนเตียงนั่นเอง
โดยทางจิตวิทยาแล้ว โรค Clinomania หรือเรียกอีกอย่างว่า Dysnania เป็นอาการของคนที่หลงรักการนอนอยู่บนเตียง เสพติดการนอน ชนิดที่ว่าให้นอนอยู่บนเตียงทั้งวันเลยก็ยังได้ ซึ่งก็อาจนำมาสู่อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง งัวเงีย และยังอาจแสดงได้ถึงความกังวลที่แอบซ่อนอยู่ในใจลึก ๆ รวมทั้งบางเคสอาจมีอาการเครียดหรือความเศร้าร่วมด้วยก็ได้
Clinomania หรือ Dysania อาการเป็นอย่างไร เช็กได้จากตรงนี้
อาการ Clinomania หรือ Dysania บางครั้งก็ดูเหมือนจะเป็นแค่ความขี้เกียจที่ใครก็มีมุมนี้กันทั้งนั้น เราจึงนำอาการ Clinomania มาให้เช็กกันไปเลยว่า อาการอยากนอนติดเตียงทั้งวันของเราเป็นแค่อารมณ์เพลีย ๆ วูบหนึ่ง หรือนี่เรากำลังป่วย Clinomania อยู่กันแน่ ซึ่งหากว่าอาการตามบรรทัดข้างล่างนี้ค่อนข้างใช่สำหรับคุณหลาย ๆ ข้อรวมกัน นั่นก็โป๊ะเชะเลย
- ทำงานมาเหนื่อยมาก ๆ สิ่งแรกที่อยากทำคือทิ้งตัวนอนลงบนเตียงทันที
- เห็นเตียงเป็นไม่ได้ รู้สึกอยากจะนอนมันทุกครั้งสิน่า
- ได้ล้มตัวลงนอนทันใด โอ้ว...นี่แหละฟินสุด ๆ แล้ว
- รู้สึกอยู่ตลอดว่าการนอนคือสิ่งที่ทำให้แฮปปี้สุด ๆ
- เอะอะก็คิดถึงเตียงนอนตลอดเวลา
- ตื่นนอนในตอนเช้าได้ยากลำบาก ไม่อยากลุกออกจากเตียง หรือกว่าจะงัดตัวเองออกจากที่นอนได้ก็นานพอดู
- อยากเปลี่ยนสถานที่อื่น ๆ ให้เป็นเตียงที่สามารถล้มตัวลงนอนเมื่อไรก็ได้
- รู้สึกโปรดปรานเตียงมากที่สุดอย่างไม่มีใครหรืออะไรมาเทียบได้
- เตียงคือจุดหมายปลายทางแห่งเดียวไม่ว่าจะรู้สึกมีความสุขหรือเศร้าก็ตาม
- ใคร ๆ ก็บอกว่าเราน่ะนอนกินบ้านกินเมืองจังเลย
- ไม่ชอบใจมาก ๆ ถ้าจะมีใครมาวอแวรอบ ๆ เตียง หรือมารบกวนเวลาที่คุณนอนอยู่บนเตียง
- มีแค่เตียงก็พอ จะไม่ขออะไรอีกเลย
- กิน นอน เล่น ทุกกิจกรรมทำบนเตียงเสมอ
- รู้สึกติดเตียง เตียงดูด และคิดว่าเตียงก็ติดเราเช่นกัน
- กดเลื่อนนาฬิกาปลุกทุกที ขออีกสักนาทีที่ได้อยู่บนเตียงก็ยังดี เป็นแบบนี้ประจำ
- การนอนบนเตียงกลายเป็นงานอดิเรกที่ชอบทำ
- รู้สึกว่าไม่มีอะไรจะมอบความสบายให้เราได้มากไปกว่าเตียงนุ่ม ๆ
Dysania เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง
การอยากนอนอยู่บนเตียงทั้งวันอาจไม่ใช่เพราะเราป่วยเป็นภาวะ Dysania ก็ได้ แต่เป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งของบางโรค ที่ทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เช่น
- โรคซึมเศร้า
- โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)
- โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia)
- ความผิดปกติของการนอน เช่น โรคนอนไม่หลับ หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรืออาการปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อและพังผืดทั่วร่างกาย
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรืออาการปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อและพังผืดทั่วร่างกาย
- โรคไทรอยด์
- โรคโลหิตจาง
- โรคหัวใจ
Dysania VS โรคซึมเศร้า
คนที่ชอบนอนอยู่บนเตียงทั้งวัน แสดงให้เห็นถึงอาการของคนไร้แรงบันดาลใจในการทำอะไร ซึ่งในทางจิตวิทยาจะนับรวมเป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้า หรือภาวะเครียดหนัก ๆ ด้วย
ทั้งนี้ ได้มีงานวิจัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า ผู้ป่วยบางรายอาจไม่ได้มีอาการ Dysania ก่อนจะเป็นโรคซึมเศร้า ทว่าโรคซึมเศร้าต่างหากที่ผลักดันให้เกิดอาการ Dysania หรือความรู้สึกอยากนอนอยู่บนเตียงไปทั้งวัน หรือบางรายอาจชอบนอนเฉย ๆ จนติดเป็นนิสัย นานวันไปจึงเริ่มไร้จุดหมายของชีวิต จนเกิดโรคซึมเศร้าก็มีให้เห็นบ้าง
ผลกระทบของภาวะ Dysania
การที่ไม่อยากลุกมาทำอะไร ชอบสิงอยู่บนเตียงทั้งวันทั้งคืน ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเสี่ยงให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก มีภาวะมึนงงหรือรู้สึกงัวเงียตลอดเวลา (Sleep Inertia) ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง นำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้ในอนาคต
Clinomania หรือ Dysania รักษายังไงได้บ้าง
การรักษาอาการ Clinomania สามารถทำได้ 3 กรณี โดยแบ่งออกได้ดังนี้
ใช้ยารักษา
มักจะใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยที่มีอาการติดเตียงหนักมาก โดยการใช้ยาทุกอย่างจะอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจิตแพทย์จะเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อเซโรโทนิน เป็นการบำบัดด้วยการปรับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการนอนหลับและอารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะคล้ายการรักษาโรคเครียด และโรคซึมเศร้านั่นเอง
ออกกำลังกาย
ในกรณีที่อาการ Clinomania อยู่ในระยะเริ่มต้น จิตแพทย์อาจจะแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายดูก่อน เพราะการออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้
ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
ความอ่อนเพลียจนทำให้รู้สึกอยากนอนทั้งวันอาจเป็นเพราะร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
หรือบางครั้งอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหารชวนง่วงเป็นประจำ เช่น กลุ่มจังก์ฟู้ด ของหวาน จนทำให้เกิดอาการ
Clinomania ได้ ดังนั้นถ้าวันไหนที่นอนทั้งวันจนรู้สึกไม่สดชื่น
สิ่งที่ควรทำคือ ดื่มน้ำเปล่าหลังตื่นนอน หรือดื่มกาแฟเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย หรือดื่มน้ำหวานเย็น ๆ ดูก่อนก็ได้
นอกจากเรื่องอาหารแล้วยังควรปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น
- นอนและตื่นให้เป็นเวลาทุกวัน
- งดดูทีวี งดเล่นโทรศัพท์ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก่อนนอน
- นอนและตื่นให้เป็นเวลาทุกวัน
- งดดูทีวี งดเล่นโทรศัพท์ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ก่อนนอน
- ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ
- ไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง เช่น ทำงาน กินอาหาร ดูทีวี ควรให้เตียงเป็นสถานที่สำหรับการนอนหลับเท่านั้น
- ออกไปรับแสงแดดยามเช้าบ้าง เพื่อช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งวัน และนอนหลับได้สบายขึ้นตอนกลางคืน
บทความที่เกี่ยวข้องการโรคจิตเวช และอาการอ่อนเพลีย
- โรคซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้าที่ต้องรีบรักษา
- โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น ความเปราะบางของวัย กับโรคทางใจที่น่าเป็นห่วง
- เช็กด่วน ! อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย เราป่วยแน่ ๆ หรือแค่ขี้เกียจ ?
- รู้สึกเนือย ๆ ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร อาจเข้าข่ายภาวะ Languishing ที่หลายคนเป็นอยู่
- โรคซึมเศร้าในวัยรุ่น ความเปราะบางของวัย กับโรคทางใจที่น่าเป็นห่วง
- เช็กด่วน ! อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย เราป่วยแน่ ๆ หรือแค่ขี้เกียจ ?
- รู้สึกเนือย ๆ ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร อาจเข้าข่ายภาวะ Languishing ที่หลายคนเป็นอยู่
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 1 มีนาคม 2566