ทุกวันนี้เราใช้สายตากันค่อนข้างเยอะ แถมบางคนยังใช้สายตาอย่างหนัก ทั้งนั่งเรียนออนไลน์ Work from Home ตกค่ำก็ดูซีรีส์ยาวไป หรือไม่ก็นั่งไถโซเชียลกันต่อ ด้วยเหตุนี้บางคนจึงอาจมีปัญหาสายตา อย่างบางจังหวะก็เห็นภาพซ้อนกัน เห็นตัวหนังสือซ้อนกัน ซึ่งปัญหาสุขภาพสายตาแบบนี้อันตรายไหม เกิดจากอะไรได้บ้าง ลองมาเช็กกันเลย
1. สายตาเพลีย
การมองเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน เป็นอาการของภาวะสายตาเพลียที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ทำงานที่ต้องเพ่งสายตามาก ๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีแสงสลัวจนมองไม่ชัด รวมทั้งการอ่านหนังสือบนรถที่วิ่งอยู่ ไม่จัดว่าเป็นปัญหาสายตาที่รุนแรงมากนัก แต่ก็ทำให้รู้สึกไม่สบายตาพอสมควรเหมือนกัน โดยนอกจากอาการมองเห็นภาพซ้อนแล้ว ยังอาจมีอาการปวดเมื่อยตา หนังตาหนัก เคืองตา ระคายตา แสบตา น้ำตาไหล หรืออาจมีอาการเวียนศีรษะได้ด้วย
ทั้งนี้ ภาวะสายตาเพลียมักเกิดในช่วงเวลาบ่าย ที่ใช้สายตาจากช่วงเช้าอย่างต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าสะสม รวมไปถึงภาวะความเครียด สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และการเร่งรีบก็มีส่วนกระตุ้นอาการสายตาเพลียได้ง่ายขึ้น ซึ่งถ้าเกิดจากสาเหตุนี้ควรพักสายตาและกะพริบตาบ่อย ๆ ระหว่างทำงาน
2. กลุ่มอาการทางตาเนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer Vision Syndrome : CVS)
จากการศึกษาพบว่า คนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีปัญหาทางสายตาและการมองเห็นประมาณ 75-90% และอีก 20% จะมีปัญหาทางกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ โดยปัญหาทางสายตาจะพบภาวะเห็นภาพซ้อนในสัดส่วน 26% ซึ่งเกิดจากความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อตา เนื่องจากการใช้สายตามากนั่นเอง และหลายคนอาจมีอาการปวดตา ตาแห้ง เห็นภาพมัว ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ร่วมด้วย เรียกรวม ๆ ว่าเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม
ทางแก้คือ ต้องปรับระดับจอคอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งทำงานให้เหมาะสม รวมทั้งปรับความสว่างของจอและแสงไฟในห้อง พยายามพักสายตาโดยลุกขึ้นเดินไป-มาและมองออกไปไกล ๆ สัก 10-20 วินาที หรือกลอกตาไป-มา เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อลูกตา
3. ภาวะ Diplopia
ภาวะ Diplopia เป็นอาการผิดปกติของสายตา ที่ทำให้มองเห็นภาพซ้อน หรือการมองเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน โดยส่วนที่เป็นภาพซ้อนจะไม่ชัดเท่ากับภาพแรกที่เราเห็น สำหรับการมองเห็นภาพซ้อนจะมี 2 แบบ คือ
- มองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาข้างเดียว (Monocular) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสายตา เช่น ตาเอียง กระจกตาโป่ง ตาแห้ง จอประสาทตาผิดปกติ เลนส์ตาเคลื่อน ต้อกระจก เป็นต้น
- มองเห็นภาพซ้อนเมื่อมองด้วยตาทั้งสองข้าง (Binocular) เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา ตาเข ตาเหล่ กล้ามเนื้อตาบาดเจ็บ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG โรคเกรฟส์ ไทรอยด์ รวมไปถึงโรคเบาหวาน ที่ส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
4. เส้นประสาทสมองเส้นที่ 6 ทำงานผิดปกติ (CN6 palsy)
5. ต้อกระจก
การมองเห็นภาพซ้อนกัน เป็นอาการหนึ่งของโรคต้อกระจก (Cataract) โดยนอกจากนี้อาจมีอาการตาพร่ามัวเหมือนมองเห็นเป็นหมอกหรือฝ้าบัง เห็นแสงไฟกระจาย มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีที่เพี้ยนไป และอาจมีค่าสายตาเปลี่ยนรวดเร็ว ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อยผิดปกติ ซึ่งโรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ถูกแสงแดดมาก ๆ รวมทั้งการติดเชื้อที่ตาเรื้อรัง หรือได้รับอุบัติเหตุ
หากเริ่มมองเห็นภาพซ้อน หรือเห็นตัวหนังสือซ้อนกัน นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าสายตาของเรากำลังอ่อนล้า หรือหากมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะบ่อยขึ้น ปวดเบ้าตา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกตินี้โดยเร็ว เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจมีปัญหาสายตาหรือกระทบกับการมองเห็นอื่น ๆ ได้ เช่น มีอาการตาแห้ง ตาล้า ค่าสายตาผิดปกติไป ซึ่งอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
บทความที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพตา
◆ 10 ซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา คนติดหน้าจอ ติดโซเชียล กินให้ไว
◆ 15 ผักบำรุงสายตา หาง่ายใกล้ตัว ไม่อยากสายตาพร่ามัวต้องรีบกิน !
◆ 10 วิตามินบำรุงสายตา ตาพร่า ตามัว ดูแลด้วยอาหารใกล้ตัวตามนี้ !
◆ 10 เมนูจากซูเปอร์ฟู้ดบำรุงสายตา อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับคนจ้องจอนาน ๆ
◆ 6 ท่าบริหารดวงตา คลายความเมื่อยล้าเมื่อจ้องจอนาน
◆ ต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน คนจ้องจอนาน ๆ เสี่ยงมาก หากไม่รีบดูแล
◆ โรคตาขี้เกียจ มองเห็นไม่ชัด ไม่รักษาระวังตาดับไม่รู้ตัว
◆ วุ้นในตาเสื่อม อาการเห็นหยากไย่ลอยไปลอยมา แบบนี้อันตรายไหม ?
◆ คลายสายตาเมื่อยล้า จากการดูทีวี ทำตามนี้สิสบายตา
◆ ตากระตุก เรื่องนี้เกี่ยวกับสุขภาพหรือโชคลางล้วน ๆ
โรงพยาบาลจักษุ รัตนิน
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีฯ
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โรงพยาบาลตา หู คอ จมูก
โรงพยาบาลพญาไท