1. กินน้อยเกินไป
2. ผอมเกินไป
3. ลดน้ำหนักเร็วเกินไป
การลดน้ำหนักได้เร็วก็ไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป เพราะการที่น้ำหนักลดฮวบก็ทำให้สาว ๆ เจอกับปัญหาประจำเดือนไม่มาได้เช่นกัน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่ลดอย่างฉับไวอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการตกไข่ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรอบเดือนของเรา
4. ออกกำลังกายหนักเกินไป
5. กินแป้งน้อยเกินไป
หลายคนเลือกใช้สูตรลดน้ำหนักด้วยการลดแป้งอย่างสูตรคีโต ซึ่งอาจส่งผลให้รอบเดือนผิดปกติ และอาจกระตุ้นให้มีภาวะไร้ประจำเดือน (Amenorrhea) เนื่องจากการกินแป้งน้อยเกินไปจะส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน GnRH ซึ่งเกี่ยวข้องกับประจำเดือน และกระทบกับการผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้ไข่สุก ไข่ตก รวมทั้งเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน เทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนเลปติน ที่คอยรักษาสมดุลของวงรอบประจำเดือนให้เป็นปกติ
โดยการศึกษาในวัยรุ่นหญิง 20 คน ก็พบว่า คนที่ลดน้ำหนักด้วยสูตรคีโตหรืองดแป้งนาน 6 เดือน มีปัญหาเรื่องประจำเดือนไม่มาถึง 45% และใน 6 คนก็พบภาวะไร้ประจำเดือน คือประจำเดือนขาดไปเลย 3 เดือน หรือขาดไปนานกว่านั้นด้วย
6. เครียดกับการลดน้ำหนัก
จะเห็นได้ว่าปัญหาหลัก ๆ ของการลดน้ำหนักแล้วประจำเดือนไม่มา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาของฮอร์โมน ดังนั้นเราก็สามารถปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้
* ลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดี ไม่ลดเร็วเกินไป โดยลดน้ำหนักสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม โดยเฉลี่ย และพยายามรักษาระดับให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
* พยายามลดน้ำหนักแบบไม่อดอาหาร และควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ คนที่ลดแป้งก็เลือกกินคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนคนที่ลดไขมันก็เลือกกินไขมันชนิดดีในปริมาณที่เหมาะสม
* ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ สักวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง กำลังดี
* รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ผอมจนเกินไปหรืออ้วนจนเกินไป
* พยายามไม่เครียด และอย่ากดดันกับการลดน้ำหนักของตัวเองจนกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
* นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับเป็นการปรับสมดุลร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับคนที่กังวลกับการที่ประจำเดือนไม่มา ลองไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงก็ได้ เพราะนอกจากการลดน้ำหนักแล้ว ก็มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน
บทความที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนไม่มา
- กินยาคุมแล้วประจำเดือนไม่มา จะท้องไหม แล้วเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างนะ
- กินยาคุมทุกวันแต่ท้อง นี่เราป่องเพราะพลาดตรงไหน ?!
- วัยทองก่อนวัย อายุ 30 กว่า ๆ ก็เป็นได้ เหวี่ยงวีนง่าย รีบเช็กสัญญาณเตือน !
- 10 สัญญาณอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจสังเกตได้จากประจำเดือน
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลเปาโล
กรุงเทพธุรกิจ
nhs.uk
healthline.com