(Moderna) ที่พบได้ทั่วไป
ภาพจาก diy13 / Shutterstock.com
จากเอกสารกำกับยาของวัคซีนโมเดอร์นา ระบุอาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากที่สุด คือ
* ปวดบริเวณที่ฉีด ร้อยละ 92
* อ่อนเพลีย ร้อยละ 70
* ปวดศีรษะ ร้อยละ 64.7
* ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 61.5
* ปวดข้อ ร้อยละ 46.4
* หนาวสั่น ร้อยละ 45.4
* คลื่นไส้อาเจียน ร้อยละ 23
* บวมแดงบริเวณรักแร้ จากต่อมน้ำเหลืองโต ร้อยละ 19.8
* มีไข้ ร้อยละ 15.5
* บวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน ร้อยละ 14.7
* มีรอยแดง ร้อยละ 10
ทั้งนี้ อาการไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่จะมีความรุนแรงค่อนข้างต่ำหรือปานกลาง และสามารถหายเป็นปกติภายใน 2-3 วันหลังฉีดวัคซีน และยังพบว่าผลข้างเคียงเหล่านี้จะเจอได้มากในผู้ที่มีอายุ 18 ปี ไปจนถึงอายุน้อยกว่า 65 ปี ส่วนในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป พบผลข้างเคียงจากวัคซีนได้น้อยกว่า อีกทั้งส่วนใหญ่จะพบผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 มากกว่าการฉีดเข็มแรกกันด้วย
(Moderna) ที่รุนแรงแต่พบได้น้อยมาก
จากสถิติการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาจากเอกสารกำกับยาของบริษัทผู้ผลิตพบว่า อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่รุนแรงแต่พบได้น้อย คือพบได้น้อยกว่า 1 ใน 1,000 ราย ได้แก่
* อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนปลายบริเวณใบหน้าเฉียบพลัน (3 ราย) โดยพบว่ามีอาการในช่วงวันที่ 22, 28 และวันที่ 32 หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2
* อาการหน้าบวมชนิดรุนแรงในผู้ที่มีประวัติฉีดสารเติมเต็มใต้ผิวหนังหรือฉีดฟิลเลอร์ จำนวน 2 ราย โดย 1 ราย มีอาการบวม 1 วัน และอีกราย มีอาการบวม 2 วัน หลังได้รับวัคซีน
* ปฏิกิริยาแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะประเมินความถี่ของอาการนี้ได้)
เสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบไหม
(Moderna) แบบไหนควรพบแพทย์
อาการหลังฉีดวัคซีนโมเดอร์นาที่ควรไปพบแพทย์โดยด่วน ได้แก่
* หายใจลำบาก หายใจเสียงดังฮืด ๆ
* หัวใจเต้นเร็ว
* เจ็บหน้าอก เหมือนมีแรงกดหรือแน่นหน้าอกมาก
* หายใจไม่ทั่วท้อง หรือเจ็บเวลาหายใจ
* ใจสั่นผิดปกติ
* ปากบวมหรือหน้าบวม
* ทรงตัวไม่ได้ ชัก หรือหมดสติ
โดยหากมีอาการผิดปกติข้างต้น สามารถติดต่อรับการรักษาได้ที่โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา โดยจะมีค่ารักษาพยาบาลให้ในวงเงิน 100,000 บาท ในกรณีมีอาการข้างเคียงที่ต้องนอนพักรักษาตัว (Admit) หรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉินได้ที่สายด่วน 1669
สำหรับวัคซีนโมเดอร์นา ทางองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้มีการทำประกันกับบริษัททิพย์ประกันภัยฯ ไว้ โดยมีเงื่อนไขการเอาประกันภัย ดังนี้
- โคม่าหรือเสียชีวิต ชดเชย 1 ล้านบาท
- ทุพพลภาพถาวร ชดเชย 500,000 บาท
- กรณีเกิดอาการข้างเคียงที่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Admit) ชดเชย 100,000 บาท
- สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนโมเดอร์นาเป็นเข็มแรก และเกิดแพ้วัคซีนหรือแพ้ยา จะจ่ายชดเชยให้ภายใน 90 วัน
- สำหรับผู้ที่จองโมเดอร์นาไว้ 2 เข็ม และมีอาการแพ้วัคซีนหลังฉีดเข็มที่ 2 ให้นับต่อไปอีก 90 วัน
ภาพจาก TY Lim / Shutterstock.com
★ ชื่อวัคซีน : mRNA-1273 เป็นวัคซีนชนิด mRNA เหมือนของไฟเซอร์
★ ชื่อทางการค้า : Spikevax (สไปก์แว็กซ์)
★ ผู้พัฒนา : บริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ประเทศสหรัฐอเมริกา
★ จำนวนเข็มที่ต้องฉีด : 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 28 วัน
★ ราคาที่ขายในไทย : 1,650 ต่อ 1 เข็ม
★ อายุของผู้ได้รับวัคซีน : 18 ปีขึ้นไป (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2564)
★ การเก็บรักษา : เก็บรักษาได้ 7 เดือนในอุณหภูมิ -25ºC ถึง -15ºC ซึ่งเป็นอุณหภูมิในช่องแข็งตู้เย็นปกติ แต่ก็สามารถเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น 2-8ºC ได้เป็นเวลา 30 วัน
ประสิทธิภาพของวัคซีน
- ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ โดยรวม 94.1%
- ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการในผู้ที่มีอายุ 18 ปี ถึงไม่เกิน 65 ปี ได้ 95.6%
- ป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้ 86.4%
- ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้นาน 6 เดือน นับจากเวลาที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2
- การทดสอบพบว่า การฉีดวัคซีน mRNA-1273.351 ปริมาณ 50 ไมโครกรัม เป็น booster dose ให้ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนไปแล้ว ช่วยเพิ่มแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อไวรัสสายพันธุ์กลายพันธุ์ B.1.351 จากแอฟริกาใต้ และ P.1 จากบราซิล
บทความที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
- ข้อมูลต้องรู้ วัคซีนโมเดอร์นา Moderna มีผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง ใครควรฉีด-ไม่ควรฉีด ไปเช็ก
- อาการหลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) แบบไหนไม่รุนแรง-แบบไหนต้องระวังใน 30 วัน
- อาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca แบบไหนต้องเฝ้าระวังใน 4-30 วัน
- ฉีดวัคซีนโควิดดีไหม คนมีโรคประจำตัวแบบไหน ใครฉีดได้-ไม่ได้
- วัคซีนโควิด 19 ก่อนฉีดต้องรู้อะไรบ้าง พร้อมเปรียบเทียบวัคซีนแต่ละยี่ห้อ
- ยาที่ห้ามกินก่อนฉีดวัคซีนโควิดมีไหม เช็กให้ชัวร์ ยาอะไรกินได้ หรือควรงด
- เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
- 12 วิธีดูแลตัวเองหลังฉีดวัคซีนโควิด 19 ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ห้ามกินอะไรบ้าง
- ติดโควิดไม่รู้ตัว แล้วไปฉีดวัคซีนโควิด จะเป็นอะไรไหม อันตรายหรือเปล่า ?
สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลกรุงเทพ
เรื่องเล่าเช้านี้
ฐานเศรษฐกิจ
TNN
กรุงเทพธุรกิจ
health.gov.au