ยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมแก้ไอ เป็นยาสามัญประจำบ้านที่หลายคนชอบพกติดตัวไว้ ยิ่งในช่วงอากาศแปรปรวนที่ไข้หวัดถามหาง่าย ๆ แบบนี้ เวลามีอาการเจ็บคอ ไอ คันคอขึ้นมาเมื่อไร ก็หยิบมาอมบรรเทาอาการเจ็บคอระคายคอหรือไอได้ทันที แต่จะว่าไปยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมแก้ไอ ก็มีอยู่หลายยี่ห้อ แล้วเราจะเลือกซื้อแบบไหนดีนะ ลองมาดูกันเลย
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ สรรพคุณช่วยอะไรได้บ้าง
ยาอมแก้เจ็บคอ หรือยาอมแก้ไอ มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ ช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการคันคอ แก้ไอทั้งแบบไอแห้งหรือไอแบบมีเสมหะ (ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของแต่ละยี่ห้อ) โดยตัวยาในยาอมแก้เจ็บคอ หรือยาอมแก้ไอ ก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น
-
สมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้เจ็บคอ ช่วยให้ชุ่มคอ ละลายเสมหะ เช่น โพรโพลิส มะแว้ง มะขามป้อม สมอไทย เป็นต้น
-
สารทำความเย็นต่าง ๆ เช่น เมนทอลและยูคาลิปตัส ช่วยลดอาการแสบร้อนในลำคอได้ชั่วคราว
-
ยาชา ที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บในลำคอ
-
ยาลดอาการไอ เช่น ยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
-
ยาละลายเสมหะ เช่น ยาแอมบรอกซอล (Ambroxol)
-
ยาลดการอักเสบ แก้ปวด
-
สารฆ่าเชื้อ เพื่อทำความสะอาดช่องปากและลำคอ
-
วิตามินซี
นอกจากนี้ในยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมแก้ไอส่วนใหญ่ยังจะมีส่วนประกอบของน้ำตาล สารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล หญ้าหวาน หรือแต่งกลิ่นด้วยรสชาติต่าง ๆ เช่น น้ำผึ้งมะนาว รสบ๊วย รสส้ม รสมะนาว กลิ่นมินต์ กลิ่นคาราเมล เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นด้วย
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ เลือกซื้อแบบไหนดี
-
เลือกซื้อยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอที่ระบุสรรพคุณตรงกับความต้องการ เช่น แก้เจ็บคอ แก้ไอ หรือช่วยละลายเสมหะ โดยถ้าต้องการบรรเทาอาการไอแห้ง ให้มองหาตัวยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) ซึ่งมีสรรพคุณแก้ไอแห้ง หรือหากต้องการบรรเทาอาการไอแบบมีเสมหะ ควรเลือกตัวยาแอมบรอกซอล (Ambroxol)
-
เลือกรสชาติของยาอมที่ตรงใจ เช่น ชอบสมุนไพรก็เลือกรสดั้งเดิม ไม่แต่งกลิ่น แต่งรส หรือหากอยากอมยาที่ไม่ได้ให้ฟีลยาจีน ยาสมุนไพรจัดเต็ม ก็เลือกเป็นรสน้ำผึ้งมะนาว รสชาติบ๊วย รสคาราเมล รสส้ม เป็นต้น
-
ดูว่ามีน้ำตาลประเภทไหนเป็นส่วนผสม เช่น เป็นน้ำตาลแท้ ๆ น้ำตาลจากธรรมชาติ หญ้าหวาน หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือแบบปราศจากน้ำตาล โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคนที่กลัวฟันผุ
-
เช็กว่ามีส่วนผสมของไดคลอโรเบนซิล แอลกอฮอล์ (Dichlorobenzyl alcohol) หรือไม่ ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก แต่เมื่ออมแล้วอาจรู้สึกระคายเคืองเพดานช่องปาก ใครที่ไม่ชอบรสสัมผัสนี้ก็ควรเลือกยาอมที่ไม่มีส่วนผสมของไดคลอโรเบนซิล แอลกอฮอล์
-
ไม่ควรซื้อยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นยาต้านแบคทีเรีย เพราะหากสาเหตุที่เราเจ็บคอเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสก่อโรคโควิด 19 ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ก็ไม่มีผลต่อเชื้อไวรัสเช่นกัน อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาดื้อยาได้อีก ดังนั้นไม่ควรเลือกซื้อยาอมที่มีส่วนผสมของตัวยาปฏิชีวนะเหล่านี้
- นีโอมัยซิน (Neomycin)
- แบซิเทรซิน (Bacitracin)
- ไทโรทริซิน (Tyrothricin)
-
เช็กวันหมดอายุของยาให้ดี
-
เลือกซื้อยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ หรือซื้อที่ร้านขายยาที่มีเภสัชกรคอยให้คำแนะนำจะดีที่สุด
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ กับข้อควรระวัง
สำหรับคนที่จะใช้ยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมแก้ไอ อยากคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย
-
ควรอมยาให้ละลายในปากอย่างช้า ๆ ไม่ควรเคี้ยว หรือกลืนทั้งเม็ด
-
ใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือตามที่ระบุไว้บนฉลากยาเท่านั้น เพราะการอมยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ง่วงซึม หรือเสี่ยงเลือดออกในทางเดินอาหาร ในคนที่มีแผลในกระเพาะอาหารอยู่แล้ว
-
หากใช้ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ติดต่อกัน 2-3 วัน แต่อาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดยาแล้วปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม และเพื่อป้องกันการได้รับยาเกินขนาดด้วย
-
เด็กเล็กไม่ควรใช้ยาอมแก้เจ็บคอ ยาอมแก้ไอ เพราะเสี่ยงต่อการสำลักเม็ดยาเข้าทางเดินหายใจ
-
หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่กำลังให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาอมแก้เจ็บคอ
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
-
หากมีอาการแพ้ยา แพ้อาหารชนิดไหน หรือมีอาการป่วยอยู่ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนทุกครั้ง
ยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ยี่ห้อไหนดี
1. ยาอมแก้ไอผสมมะขามป้อม อภัยภูเบศร
เชื่อว่าหลายคนคุ้นหน้าคุ้นตากันดีพอสมควร สำหรับยาอมแก้ไอของอภัยภูเบศรที่มี 2 สูตรให้เลือก คือ สูตร 1 ซองสีส้ม และสูตร 2 ซองสีเขียว มีส่วนผสมของสมุนไพรแก้ไอหลายชนิด เช่น ผลมะขามป้อม รากชะเอมเทศ เนื้อผลมะแว้งต้น และตัวยาอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ และจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : ซองละ 12 บาท (บรรจุ 40 เม็ด)
2. ยาอมมะแว้ง
ยาอมมะแว้งในซองบรรจุ 20 เม็ด พกพาง่าย มีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มคอ แก้ไอ ขับเสมหะ ด้วยมีตัวยาสมุนไพรหลากหลายชนิดในตำรับยาสมุนไพรประจำบ้าน โดยแบรนด์นี้มีอยู่ 2 รสชาติด้วยกัน คือ รสดั้งเดิมและรสบ๊วย หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 3-5 เม็ด เมื่อมีอาการไอ
- ราคาปกติ : ซองละ 12 บาท (บรรจุ 20 เม็ด)
3. ยาอมแก้ไอตราตะขาบ 5 ตัว รสสมุนไพร
ยาอมแก้ไอแผนโบราณที่อยู่คู่เมืองไทยมากว่า 80 ปี แบรนด์นี้เป็นยาอมสมุนไพรในตำรับยาสามัญประจำบ้าน แม้รสชาติจะติดขมแบบสมุนไพรจีน แต่ก็ช่วยบรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ ทำให้ชุ่มคอได้เหมือนกัน มีให้เลือก 4 สูตร คือ รสสมุนไพรแบบดั้งเดิม รสบ๊วย รสมินต์ และรสตะไคร้
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 2-4 เม็ด เมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : ซองละ 20 บาท (บรรจุ 3 กรัม)
4. ยาอมกำกิกเผี่ยง
ยาแก้เจ็บคอจีน กล่องสีเหลือง ๆ ที่หลายคนจำชื่อไม่ค่อยได้ ด้วยเป็นยาอมแผนโบราณที่มีสมุนไพรแก้ไอทั้งไทยและสมุนไพรจีนรวมกัน เช่น ชะเอม กิกเก้ ใบชา สะระแหน่ รสชาติออกจะซ่า ๆ หน่อย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอ
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หรืออมเมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : กล่องละ 45 บาท (บรรจุ 20 เม็ด)
5. Ricola รสสมุนไพรดั้งเดิม
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 1 เม็ด เมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : ซองละ 18 บาท (บรรจุ 7 เม็ด)
6. โพรโพลิส มิกซ์ ชนิดเม็ดอม
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 1 เม็ด ทุก 2-3 ชั่วโมง หรืออมเมื่อมีอาการ
- ราคาปกติ : ซองละ 30 บาท (บรรจุ 8 เม็ด)
7. สเตร็ปซิล
สำหรับคนที่ชอบรสส้มและวิตามินซี อาจจะถูกใจ สเตร็ปซิล รสออเรนจ์ วิตามินซี เอช เอช อาร์ ที่มีส่วนผสมของวิตามินซี 100 มิลลิกรัม และตัวยาต่าง ๆ ซึ่งมีสรรพคุณฆ่าเชื้อโรคในปากและลำคอ ช่วยให้ชุ่มคอ โดยทางแบรนด์เคลมมาด้วยว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอได้ยาวนานถึง 2 ชั่วโมง
- วิธีใช้ : อมครั้งละ 1 เม็ด เมื่อมีอาการ หรือตามคำแนะนำของเภสัชกร
- ราคาปกติ : ซองละ 37 บาท (บรรจุ 8 เม็ด)
8. Difflam
- วิธีใช้ : อมให้ละลายช้า ๆ ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 2-3 ชั่วโมง หรือตามคำแนะนำของเภสัชกร
- ราคาปกติ : ซองละ 30 บาท (บรรจุ 8 เม็ด)
หากมีอาการเจ็บคอ ไอ คันคอ ลองเลือกยาอมแก้เจ็บคอ แก้ไอ ไปบรรเทาอาการกันได้ แต่นอกจากยาอมแก้ไอแล้ว ยังมีสเปรย์แก้เจ็บคอ แก้ไอ ละลายเสมหะ ให้เลือกใช้ด้วยนะคะ
สเปรย์พ่นคอ แก้ไอ แก้เจ็บคอ ยี่ห้อไหนดี ไอเทมที่หลายบ้านมีติดไว้ในช่วงโควิด
บทความที่เกี่ยวข้องกับวิธีแก้ไอ แก้เจ็บคอ
- 15 วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ ที่ทำแล้วได้ผลชะงัด
- รักษาอาการไอแบบไม่พึ่งยา ด้วยธรรมชาติบำบัดแบบบ้าน ๆ
- สมุนไพรแก้เจ็บคอ ของดีคู่ครัว เปี่ยมสรรพคุณต้านอักเสบ
- 8 ผลไม้แก้เจ็บคอ อร่อยกว่ายายังไม่พอ ยังมีประโยชน์หลากหลาย !
- 3 เมนูอาหารแก้เจ็บคอ เสกสมุนไพรใกล้ตัวปรุงอาหารต้านหวัด
- เจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย มีอาการกลืนลำบาก อาจไม่ใช่แค่เป็นหวัด !
- เจ็บคอหลังตื่นนอนทุกเช้า ไขข้อข้องใจให้ดี อาการนี้อันตรายไหม