ยาสามัญประจำบ้านมีอะไรบ้าง มาดูกันว่ามียาอะไรที่ควรติดบ้านไว้ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเบื้องต้น รวมทั้งข้อสังเกตก่อนซื้อต้องดูอะไรและมีวิธีเก็บอย่างไร
อาการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ได้ร้ายแรงอย่างเป็นหวัด ท้องเสีย ท้องผูก ปวดหัว หรือบาดเจ็บแค่เพียงเล็กน้อย เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้เสมอทุกวัยและทุกคน โดยเฉพาะภายในบ้านพักอาศัย ดังนั้นถ้าหากเรามียาสามัญประจำบ้านติดตู้ยาไว้จะสะดวกต่อการหยิบใช้และช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ วันนี้เราจึงนำข้อมูลยาสามัญประจำบ้านว่ามีกี่ชนิดมาบอกกัน รวมทั้งทริกการเลือกซื้อต้องดูอะไรบ้าง และวิธีเก็บยาให้ถูกต้องเพื่อหยิบใช้สะดวกและยืดอายุการใช้งาน
ยาสามัญประจําบ้าน คืออะไร
ยาสามัญประจําบ้าน คือ ยาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้คนทั่วไปสามารถซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง เช่น ปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย อาเจียน หรือบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ฟกช้ำ มีดบาดไม่ลึก ปวดหลัง เป็นต้น โดยฉลากยาจะมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรอบสีเขียวที่สามารถสังเกตเห็นได้
ทั้งนี้ ยาสามัญประจำบ้านแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ยาที่ใช้สำหรับภายใน ได้แก่ ยาสำหรับรับประทานและยาฉีด และยาที่ใช้สำหรับภายนอก เช่น ยาทา ยาหยอด ยาดม ยาล้างบาดแผล เป็นต้น
ยาสามัญประจําบ้าน มีอะไรบ้าง
ยาสามัญประจําบ้านแผนปัจจุบันตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้
กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- ยาเม็ดลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซีย บรรเทาอาการจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้อง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ยาน้ำลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซีย บรรเทาอาการจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้อง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- โซดามินต์ ยาเม็ดแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการจุกเสียด ลดอาการระคายเคือง เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร
- ยาขับลม บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลมในกระเพาะอาหาร
- ยาธาตุน้ำแดง บรรเทาอาการปวดท้อง จุกเสียด ท้องขึ้น และท้องเฟ้อ
- โซเดียมไบคาร์บอเนต บรรเทาอาการท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เนื่องจากมีกรดมากในกระเพาะอาหาร
- ทิงเจอร์มหาหิงคุ์ บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ และปวดท้องในเด็ก
กลุ่มยาแก้ท้องเสีย
8. ผงน้ำตาลเกลือแร่ ทดแทนการเสียน้ำสำหรับคนที่มีอาการท้องร่วงหรืออาเจียนมาก และป้องกันการช็อกจากร่างกายขาดน้ำ
กลุ่มยาระบาย
9. กลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับเด็ก บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักช่วยในการขับถ่าย
10. กลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่ บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักช่วยในการขับถ่าย
11. แมกนีเซีย เป็นยาระบาย
12. มะขามแขก เป็นยาระบาย
13. โซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร บรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารหนักช่วยในการขับถ่าย
10. กลีเซอรีนชนิดเหน็บทวารสำหรับผู้ใหญ่ บรรเทาอาการท้องผูก ใช้เหน็บทวารหนักช่วยในการขับถ่าย
11. แมกนีเซีย เป็นยาระบาย
12. มะขามแขก เป็นยาระบาย
13. โซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร บรรเทาอาการท้องผูก ใช้สวนทวารหนักช่วยในการขับถ่าย
กลุ่มยาถ่ายพยาธิลำไส้
14. มีเบนดาโซล ถ่ายพยาธิเส้นด้ายตัวกลม
กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้
15. ยาเม็ดพาราเซตามอล 500 มก. ลดไข้ บรรเทาอาการปวด
16. ยาเม็ดพาราเซตามอล 325 มก. ลดไข้ บรรเทาอาการปวด
17. ยาน้ำพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาอาการปวด
18. ปลาสเตอร์บรรเทาปวด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
16. ยาเม็ดพาราเซตามอล 325 มก. ลดไข้ บรรเทาอาการปวด
17. ยาน้ำพาราเซตามอล ลดไข้ บรรเทาอาการปวด
18. ปลาสเตอร์บรรเทาปวด บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
กลุ่มยาแก้แพ้ลดน้ำมูก
19. ยาเม็ดแก้แพ้ คลอร์เฟนิรามีน บรรเทาอาการแพ้ เช่น ลมพิษ น้ำมูกไหล
กลุ่มยาแก้ไอขับเสมหะ
20. ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
21. ยาแก้ไอน้ำดำ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
21. ยาแก้ไอน้ำดำ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ
กลุ่มยาดมหรือทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
22. ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนียหอม ดมบรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือทาผิวหนัง บรรเทาอาการพิษแมลงกัดต่อยหรือถูกพืชมีพิษ
23. ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก และบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
24. ยาทาระเหย ชนิดขี้ผึ้ง บรรเทาอาการคัดจมูกและลดอาการอันเนื่องจากหวัด
23. ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก บรรเทาอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก และบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
24. ยาทาระเหย ชนิดขี้ผึ้ง บรรเทาอาการคัดจมูกและลดอาการอันเนื่องจากหวัด
กลุ่มยาแก้เมารถ-เมาเรือ
25. ไดเมนไฮดริเนต ป้องกันอาการเมารถ-เมาเรือ
กลุ่มยาสำหรับโรคตา
26. ยาล้างตา ใช้ล้างตาบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคืองตา อันเนื่องมาจากผง ควัน หรือสิ่งสกปรกเข้าตา
กลุ่มยาสำหรับโรคปากและคอ
27. ยากวาดคอ บรรเทาอาการอักเสบและเจ็บในลำคอ
28. ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เจนเชียนไวโอเลต รักษากระพุ้งแก้มและลิ้นเป็นฝ้าขาว
29. ยาแก้ปวดฟัน บรรเทาอาการปวดฟัน
30. ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการระคายคอ
31. ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ
28. ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เจนเชียนไวโอเลต รักษากระพุ้งแก้มและลิ้นเป็นฝ้าขาว
29. ยาแก้ปวดฟัน บรรเทาอาการปวดฟัน
30. ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ ทำให้ชุ่มคอ บรรเทาอาการระคายคอ
31. ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ
กลุ่มยาใส่แผลล้างแผล
32. ทิงเจอร์ไอโอดีน รักษาแผลสด
33. ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล รักษาแผลสด
34. โพวิโดนไอโอดีน รักษาแผลสด
35. ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดแผล
36. เอทิลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดแผล
37. น้ำเกลือล้างแผล ทำความสะอาดแผล
33. ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล รักษาแผลสด
34. โพวิโดนไอโอดีน รักษาแผลสด
35. ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดแผล
36. เอทิลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดแผล
37. น้ำเกลือล้างแผล ทำความสะอาดแผล
กลุ่มยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย
38. ยาหม่อง ชนิดขี้ผึ้ง ใช้บรรเทาอาการปวด บวม อักเสบ เนื่องจากแมลงกัดต่อย หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
กลุ่มยาสำหรับโรคผิวหนัง
39. ยารักษาหิด เหา เบนซิลเบนโซเอต ใช้รักษาหิด เหา และโลน
40. ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน ใช้รักษาโรคหิด
41. ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า ใช้รักษากลากเกลื้อนและโรคน้ำกัดเท้า
42. ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรังบางชนิด เช่น เรื้อนกวาง ผิวหนังเป็นผื่นคัน
43. ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์ บรรเทาอาการคันเนื่องจากผดผื่นคัน ลมพิษ
44. ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต ใช้รักษาเกลื้อน
40. ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน ใช้รักษาโรคหิด
41. ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า ใช้รักษากลากเกลื้อนและโรคน้ำกัดเท้า
42. ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรังบางชนิด เช่น เรื้อนกวาง ผิวหนังเป็นผื่นคัน
43. ยาทาแก้ผดผื่นคัน คาลาไมน์ บรรเทาอาการคันเนื่องจากผดผื่นคัน ลมพิษ
44. ยารักษาเกลื้อน โซเดียมไทโอซัลเฟต ใช้รักษาเกลื้อน
กลุ่มยาบำรุงร่างกาย
45. ยาเม็ดวิตามินบีรวม ป้องกันการขาดวิตามินบี บำรุงร่างกาย
46. ยาเม็ดวิตามินซี ป้องกันการขาดวิตามินซี
47. ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัสซัลเฟต รักษาโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กในผู้ใหญ่
48. ยาเม็ดวิตามินรวม ซึ่งมีทั้งวิตามินเอ บี ซี ดี เพื่อป้องกันการขาดวิตามินสำหรับผู้ใหญ่
49. น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล ป้องกันการขาดวิตามินเอและวิตามินดี
50. น้ำมันตับปลาชนิดน้ำ ป้องกันการขาดวิตามินเอและวิตามินดี
46. ยาเม็ดวิตามินซี ป้องกันการขาดวิตามินซี
47. ยาเม็ดบำรุงโลหิต เฟอร์รัสซัลเฟต รักษาโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กในผู้ใหญ่
48. ยาเม็ดวิตามินรวม ซึ่งมีทั้งวิตามินเอ บี ซี ดี เพื่อป้องกันการขาดวิตามินสำหรับผู้ใหญ่
49. น้ำมันตับปลาชนิดแคปซูล ป้องกันการขาดวิตามินเอและวิตามินดี
50. น้ำมันตับปลาชนิดน้ำ ป้องกันการขาดวิตามินเอและวิตามินดี
ก่อนซื้อยาสามัญประจำบ้านต้องดูอะไรบ้าง
- เลือกซื้อยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์สภาพดี ยาเม็ดไม่แตก รูปทรงไม่บิดเบี้ยว ไม่มีจุดหรือสีแปลก ๆ ต่างจากเดิม ไม่มีกลิ่นผิดปกติ ยาน้ำต้องไม่มีตะกอน แต่หากเขย่าแล้วตะกอนต้องกระจายตัว
- เลือกยาที่มีการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.
- ตรวจสอบแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิตและวันเดือนปีที่หมดอายุ ที่ปรากฏอยู่บนบรรจุภัณฑ์
- ควรเลือกซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา และจัดยาโดยเภสัชกร
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อยาทุกครั้ง โดยแจ้งประวัติการแพ้ยาหรือแพ้อาหารให้ทราบด้วย
วิธีใช้ยาสามัญประจำบ้านให้ปลอดภัย
- ควรตรวจสอบวันหมดอายุของยาก่อนรับประทาน และไม่ควรกินถ้ายามีสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดปกติ หรือลักษณะของยาผิดปกติ
- ก่อนใช้ควรอ่านฉลากยาและเอกสารกำกับตัวยาทุกครั้ง
- ศึกษาคำเตือนและข้อห้ามของการใช้ยา เช่น ใครไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ ไม่รับประทานยาร่วมกับยาชนิดไหนหรือควรเว้นระยะห่างกันเท่าไร ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกินกี่วัน เป็นต้น
- ควรใช้ยาให้ถูกต้องกับโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และกินตามช่วงเวลาที่ระบุ เช่น ก่อนอาหาร หลังอาหาร เป็นต้น
- หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์หรือเภสัชกร
- หากมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นแดง ลมพิษ มีไข้ ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ ท้องเสีย เหนื่อยหอบ หายใจไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว ควรหยุดยาทันทีและไปพบแพทย์
วิธีเก็บยาสามัญประจำบ้านที่ถูกต้อง
เพื่อให้ยายังคงคุณภาพในการรักษาและไม่เสื่อมสภาพไปก่อนวันหมดอายุ เราควรเก็บยาสามัญประจำบ้าน ดังนี้
- ควรแยกยาที่ใช้รับประทานหรือยาใช้ภายในออกจากยาใช้ภายนอก เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาระบาย ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ควรเก็บไว้คนละที่กับยาล้างแผล ยาทารักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น เพื่อป้องกันการหยิบใช้ยาผิดประเภท
- จัดเก็บยาพร้อมฉลากยาที่ได้รับมา ไม่นำยาแต่ละชนิดมาปะปนกัน
- ควรเก็บยาไว้ในแผงเดิม และแกะยาออกจากแผงเมื่อจะกินในแต่ละครั้งเท่านั้น
- ยาบางชนิดควรเก็บให้พ้นแสงแดด ความชื้น ปิดฝาให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ
- ควรเก็บยาไว้ในที่แห้ง หรือในอุณหภูมิตามที่ระบุไว้บนเอกสารกำกับยา โดยยาบางชนิดจะมีการระบุว่าให้เก็บไว้ในตู้เย็น
- ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก
- ควรตรวจสอบวันหมดอายุของยาที่เก็บไว้สม่ำเสมอ
ยาสามัญประจำบ้านเป็นยาที่ควรมีติดบ้านไว้ เผื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยจะได้หยิบใช้ได้รวดเร็ว รวมทั้งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์อีกด้วย ทั้งนี้ ถ้าใครมีโรคประจำตัวไม่ควรหาซื้อมาใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
บทความที่เกี่ยวข้องกับยารักษาโรค
- ยาก่อนนอนควรกินกี่โมง กินยาแล้วนอนเลยได้ไหม ถ้าลืมกินเลื่อนไปมื้ออื่นได้หรือเปล่า
- กาแฟห้ามกินกับอะไร ยาคุม วิตามิน กินพร้อมกาแฟได้ไหม หรือไม่ควรกินคู่กับอะไรบ้าง
- 6 เครื่องดื่มที่ต้องระวัง อย่ากินคู่กันกับยา
- ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาขับเสมหะ ไอแบบไหนควรใช้ยาอะไรบรรเทาอาการ
- ยาคลายกล้ามเนื้อช่วยได้แค่ไหน ใช้อย่างไรจะคลายปวดเมื่อย
- ยาแก้แพ้ รักษาอะไรได้บ้าง กินบ่อย ๆ อันตรายไหม
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, สำนักงานสาธารณสุขสมุทรปราการ, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์