ซิงค์ (Zinc) คืออะไร
ซิงค์ (Zinc) คือ แร่ธาตุสังกะสีที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เพราะเป็นสารอาหารที่ช่วยให้เอนไซม์ต่าง ๆ กว่า 300 ชนิดในร่างกายทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโปรตีน การสังเคราะห์สารพันธุกรรม ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ มีส่วนช่วยในกระบวนการย่อยและระบบเผาผลาญ ระบบสืบพันธุ์ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
อย่างไรก็ตาม ร่างกายเราไม่สามารถสร้างแร่ธาตุสังกะสีเองได้ จึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีสังกะสี ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ตับ หอยนางรม ปู ล็อบสเตอร์ ปลาทะเล ไข่ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี นม ผักโขม หรือรับประทานอาหารเสริมซิงค์เพิ่มเติมเข้าไป
ซิงค์ (Zinc) แร่ธาตุสำคัญ
ต่อภูมิคุ้มกันที่ร่างกายขาดไม่ได้
เราคงคุ้นเคยกับประโยชน์ของซิงค์ หรือสังกะสี ในด้านที่ใช้เพื่อความสวยความงาม ไม่ว่าจะช่วยลดอาการผมร่วง บำรุงเล็บให้แข็งแรง รักษาสิว สมานบาดแผล เป็นต้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง ซิงค์ยังมีส่วนสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นอย่างยิ่ง โดยแร่ธาตุชนิดนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานและเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดที-เซลล์ (T-cell) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันและกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ได้ไวขึ้น ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง พร้อมเป็นด่านสำคัญที่จะต่อสู้และป้องกันสิ่งแปลกปลอม อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย ฯลฯ ไม่ให้ทำร้ายร่างกายได้ง่าย ๆ
ทั้งนี้ มีการศึกษาพบว่า ในกลุ่มเด็กที่ขาดสังกะสี รวมถึงผู้ป่วยโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการดูดซึมของสังกะสี จะมีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ ต่อมน้ำเหลืองค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง ส่งผลให้ติดเชื้อต่าง ๆ ได้บ่อยครั้งกว่าคนปกติ ในทางตรงข้าม ผู้ที่ได้รับสังกะสีอย่างเพียงพอ หากเป็นหวัด สังกะสีจะสามารถลดความรุนแรงของโรคและช่วยให้หายจากหวัดได้เร็วขึ้น เนื่องจากสังกะสีมีส่วนช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสไม่ให้ลุกลาม โดยเฉพาะเมื่อรับประทานคู่กับวิตามินซีก็จะยิ่งเสริมประสิทธิภาพมากขึ้น
ในส่วนของไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดโรคโควิด 19 ก็ยังมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีสังกะสีในเลือดต่ำจะมีระดับความรุนแรงของอาการทางระบบทางเดินหายใจมากขึ้น และมีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่มีระดับสังกะสีปกติ และการให้สังกะสีเสริมในอาหารสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่อาจมีส่วนช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อโควิด 19 ได้ เพราะสังกะสีจะไปยับยั้งการทำงานของไวรัส SAR CoV2 และลดการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้ไวรัสจับกับผิวเซลล์ของมนุษย์ ไวรัสจึงมีโอกาสเข้าสู่เซลล์ได้น้อยลง
ร่างกายต้องการซิงค์ (Zinc)
มาก-น้อยแค่ไหน
อย่างที่ทราบแล้วว่า ซิงค์เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราควรได้รับซิงค์โดยเฉลี่ยประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องเสริมภูมิคุ้มกันและดูแลร่างกายให้แข็งแรง ก็ควรได้รับซิงค์เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20-50 มิลลิกรัมต่อวัน ทว่า หลายคนไม่สามารถรับประทานอาหารตามธรรมชาติได้หลากหลาย จึงได้รับซิงค์จากอาหารไม่เพียงพอ อย่างกลุ่มคนต่อไปนี้
-
ผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานอาหารทะเลที่เป็นแหล่งของซิงค์ เนื่องจากกลัวปัญหาคอเลสเตอรอลสะสม
-
คนที่กินเจหรือมังสวิรัติที่ต้องงดรับประทานเนื้อสัตว์
-
คนที่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นประจำ หรือรับประทานอาหารซ้ำ ๆ เมนูเดิม ๆ ทำให้มีภาวะขาดสารอาหาร
-
คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีส่วนลดการดูดซึมของซิงค์
-
ผู้สูงอายุที่มีภาวะเบื่ออาหาร หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อย
กรณีนี้ก็สามารถเลือกรับประทานซิงค์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากซิงค์อย่างเต็มที่ได้เช่นกัน และถ้ารับประทานซิงค์ร่วมกับวิตามินและเกลือแร่รวมชนิดอื่น ๆ เช่น วิตามินซี วิตามินบี วิตามินดี ฯลฯ ก็จะยิ่งช่วยให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น เป็นการเสริมประสิทธิภาพให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย
วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมซิงค์ (Zinc)
-
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
-
เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีรายละเอียดบอกชัดเจน ทั้งสรรพคุณของวิตามิน ส่วนประกอบต่าง ๆ ในผลิตภัณฑ์
-
เลือกชนิดของซิงค์ที่มาช่วยเสริมสุขภาพในด้านที่เราต้องการ เช่น
-
ซิงค์ซัลเฟต (Zinc Sulfate) : เป็นซิงค์ที่อยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต นำมาใช้เพื่อป้องกันภาวะขาดสังกะสี โดยมีงานวิจัยที่ระบุว่ามีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหวัดในเด็ก และมีประสิทธิภาพในการลดระยะเวลาและความรุนแรงของอาการหวัดในเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงได้
-
ซิงค์อะซิเตต (Zinc Acetate) : หรือสังกะสีเกลือไดไฮเดรต เป็นซิงค์ที่ถูกผสมเข้ากับกรดอะซิติก (Acetic Acid) เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้มากขึ้น จากงานวิจัยพบว่า ยาอมซิงค์อะซิเตตช่วยลดระยะเวลาการเป็นหวัดให้สั้นลงได้
-
อะมิโน แอซิด คีเลต (Amino Acid Chelate) หรือ คีเลตซิงค์ (Chelated Zinc) : เป็นซิงค์ที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีให้จับคู่กับกรดอะมิโน เพื่อช่วยเพิ่มการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร
-
-
เลือกรูปแบบอาหารเสริมซิงค์ที่ตรงกับความต้องการ เช่น
-
อาหารเสริมซิงค์เพียว ๆ ไม่มีวิตามินอื่นผสม เหมาะกับคนที่ขาดแร่ธาตุสังกะสีมาก ๆ
-
อาหารเสริมซิงค์พร้อมวิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย เหมาะกับคนที่ต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการรับประทานซิงค์ร่วมกับวิตามินอื่น ๆ จะยิ่งช่วยเสริมการทำงานของซิงค์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
-
พิจารณาความเข้มข้นของซิงค์ในแต่ละแบรนด์ โดยส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้นอยู่ที่ 10-15 มิลลิกรัม ในขณะที่บางแบรนด์จะให้ปริมาณซิงค์ตั้งแต่ 20 มิลลิกรัมขึ้นไป เหมาะกับคนที่ร่างกายขาดซิงค์มาก ๆ
-
อ่านฉลากให้ดีก่อนซื้อ โดยเฉพาะหากมีประวัติแพ้อาหารหรือยาบางชนิด
-
เลือกซื้ออาหารเสริมจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าทางการของผู้ผลิต ร้านขายยา หรือร้านค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายโดยตรง
-
ตรวจสอบวันที่ผลิตและวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ให้ดี
แนะนำอาหารเสริมซิงค์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2023
1. MEGA We care Zincomin (เมก้า วีแคร์ ซินโคมิน)
Zincomin ขวดนี้จัดแร่ธาตุซิงค์มาให้สูงเลยทีเดียว โดยเป็นซิงค์ชนิดซัลเฟต ที่ให้ธาตุสังกะสีมากถึง 20 มิลลิกรัมต่อเม็ด รับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะได้ปริมาณซิงค์ที่เพียงพอต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จึงไปช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งดูแลเรื่องผม เล็บ ผิว ลดความมันบนใบหน้า หรือลดสิวก็ได้ด้วย
นอกจากนี้ Zincomin จาก MEGA We care ยังผสมวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ มาเพียบ อย่างวิตามินอี วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแมงกานีส ทำให้เกิดความสมดุลของวิตามิน และช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของซิงค์ให้ดียิ่งขึ้น ร่างกายจึงได้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพอย่างเต็มที่ เรียกว่าเหมาะมาก ๆ กับคนที่อยากได้ความสะดวก รับประทานแคปซูลเดียวก็ได้ทั้งซิงค์ วิตามิน และเกลือแร่รวมที่หลากหลาย แถมราคาก็ไม่แพง
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หรือตามแพทย์สั่ง
-
ราคาปกติ : 220 บาท (บรรจุ 60 แคปซูล)
2. Blackmores Bio Zinc A Chelate (แบลคมอร์ส ไบโอ ซิงค์ เอ คีเลต)
ซิงค์ยี่ห้อนี้เป็นชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ที่ให้สังกะสีอยู่ที่ 15 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด มีส่วนช่วยคงสภาพปกติของผิวหนังและกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังมีวิตามินเอที่ช่วยคงสภาพของเยื่อบุต่าง ๆ รวมไปถึงวิตามินบี 6 แร่ธาตุอย่างแมงกานีสและแมกนีเซียมมาด้วย แต่เม็ดยาอาจค่อนข้างใหญ่นิดหนึ่งนะคะ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร
-
ราคาปกติ : 545 บาท (บรรจุ 90 เม็ด)
3. VISTRA Zinc 15 mg (วิสทร้า วิตามินซิงก์ 15 มก.)
อีกหนึ่งแบรนด์ที่เป็นซิงค์ชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ซึ่งจะให้สังกะสีในปริมาณ 15 มิลลิกรัมต่อแคปซูล และยี่ห้อนี้ก็ไม่ได้ผสมวิตามินอื่น ๆ มาเลย เหมาะกับคนที่ต้องการแค่แร่ธาตุสังกะสีเพียว ๆ ไปเสริมสุขภาพ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมอาหาร
- ราคาปกติ : 270 บาท (บรรจุ 45 เม็ด)
4. Vit’2GO Zinc (วิต’ทูโก ซิงก์ 15 มก. และวิตามินอี)
Vit2GO Zinc ซองขนาดพกพา บรรจุ 2 แคปซูลต่อซอง แต่ละเม็ดจะให้ซิงค์ชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ที่ได้สังกะสี 15 มิลลิกรัม พร้อมสารสกัดจากขมิ้น วิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 ด้วย วิตามินเหล่านี้เน้นสรรพคุณช่วยเรื่องสิว ลดหน้ามัน ลดปัญหาผมบาง รวมทั้งป้องกันเล็บเปราะหักง่าย
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า
- ราคาปกติ : ซองละ 15 บาท (บรรจุ 2 แคปซูล), แผงละ 100 บาท (บรรจุ 10 แคปซูล), กล่องละ 180 บาท (บรรจุ 12 ซอง 24 แคปซูล)
5. DHC-Supplement Zinc (ดีเอชซี ซิงก์)
อาหารเสริมซิงค์แบรนด์ญี่ปุ่นอย่าง DHC มาในรูปซองซิปล็อก สะดวกในการพกพา มีปริมาณอยู่ที่ 15 มิลลิกรัมต่อเม็ด และยังผสมแร่ธาตุอย่างซีลีเนียมและโครเมียมมาช่วยเสริมทัพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้า หรือตอนท้องว่าง
- ราคาประมาณ : 80-410 บาท (บรรจุ 20, 30 และ 60 เม็ด)
6. MyBacin Zinc (มายบาซิน ซิงค์)
มายบาซิน ซิงค์ จากเกร๊ทเตอร์ฟาร์ม่า ออกแบบมาให้พกพาง่าย เพราะมาในรูปแบบแผงยาแคปซูล เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ให้ซิงค์แบบเพียว ๆ ไม่ได้ผสมวิตามินอื่น โดยใน 1 แคปซูล ให้ซิงค์ชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ปริมาณ 15 มิลลิกรัม มีสรรพคุณช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและเสริมภูมิคุ้มกัน
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า
- ราคาปกติ : 180 บาท (บรรจุ 30 แคปซูล)
7. Real Elixir Zinc 15 MG (เรียล อิลิคเซอร์ ซิงค์ 15 มิลลิกรัม)
ต่อกันที่อาหารเสริมซิงค์ REAL ELIXIR Zinc Plus ที่นอกจากจะให้สังกะสีชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต 15 มิลลิกรัมต่อเม็ดแล้ว ยังเสริมด้วยวิตามินเอ นิโคตินาไมด์ กรดแพนโทเธนิก วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และไบโอติน ซึ่งถือว่าได้วิตามินที่หลากหลาย และเด่นในเรื่องการดูแลสุขภาพผมและเล็บ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด
- ราคาปกติ : 350 บาท (บรรจุ 30 เม็ด) และ 700 บาท (บรรจุ 60 เม็ด)
8. Life Best Zinc Plus Vitamin A,D3 (ไลฟ์เบสต์ ซิงค์ พลัส วิตามิน เอ,ดีสาม)
วิตามินซิงค์จาก Life Best ขวดนี้เป็นซิงค์ชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ที่ให้ธาตุสังกะสีในปริมาณ 15 มิลลิกรัม ช่วยเรื่องลดสิวและความมันบนใบหน้า มาพร้อมกับวิตามินเอ ที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และวิตามินดี 3 ช่วยดูดซึมแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง เหมาะกับคนที่เป็นหวัดง่าย มีสิวเยอะ ผมขาดหลุดร่วง มีเล็บเหลืองหรือเปราะ รวมทั้งนักกีฬา
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล หลังอาหาร หรือรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากผลิตภัณฑ์
- ราคาปกติ : 210 บาท (บรรจุ 40 แคปซูล)
9. Redoxon Zinc (เรด็อกซอน ซิ้งค์)
มาที่วิตามินแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำกันบ้าง อย่าง Redoxon Zinc ที่เป็นวิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม และมีแร่ธาตุซิงค์ชนิดซิเตท ไตรไฮเดรต 10 มิลลิกรัมต่อเม็ด ผสมมาด้วย เหมาะกับคนที่อยากได้ซิงค์เป็นวิตามินเสริมจากวิตามินซี หรือคนที่กลืนยาเม็ดใหญ่ยาก
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด ละลายกับน้ำเย็น 1 แก้ว แล้วดื่มเมื่อต้องการ หรือตามแพทย์สั่ง
- ราคาประมาณ : 150-230 บาท (บรรจุ 15 เม็ด)
10. Biotin Zinc
Biotin Zinc ขวดนี้ ผลิตและวิจัยโดยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน 1 เม็ดจะประกอบไปด้วยซิงค์ชนิดอะมิโน แอซิด คีเลต ที่ให้ธาตุสังกะสี 15 มิลลิกรัม และดี-ไบโอติน 150 ไมโครกรัม เน้นประโยชน์ในด้านบำรุงดูแลเส้นผมและสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน สามารถหาซื้อได้ตามช่องทางออนไลน์
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 เม็ด พร้อมมื้ออาหาร
- ราคาประมาณ : 290 บาท (บรรจุ 90 เม็ด)
ข้อควรระวัง
ในการรับประทานอาหารเสริมซิงค์
แม้ซิงค์จะเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ แต่กระนั้นการรับประทานซิงค์ก็มีข้อควรระวังบางประการ เช่น
-
ควรรับประทานตามวิธีที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ไม่ควรรับประทานเกินขนาดและปริมาณที่กำหนดหรือเกินจากแพทย์ เภสัชกรแนะนำ
-
หลีกเลี่ยงการกินซิงค์ร่วมกับอาหารไฟเตทสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ อาหารที่มีแคลเซียมสูง อาหารที่มีทองแดงและฟอสฟอรัส เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมซิงค์ได้น้อยลง โดยควรเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่ใช้ยาประจำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานอาหารเสริมซิงค์ เนื่องจากซิงค์อาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของยา เช่น ยาเตตราไซคลีน ยาเพนิซิลลามีน ยาลดความดันบางชนิด ยาแก้ปวดบางชนิด ยาเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น
-
ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมซิงค์
-
คนที่มีอาการแพ้อาหาร แพ้สมุนไพร หรือแพ้ยาบางตัว ควรระมัดระวัง และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ซิงค์
-
เด็กอายุ 6-12 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
-
ควรเก็บรักษาในที่แห้งและเย็น ในภาชนะปิดสนิท หลีกเลี่ยงความชื้น แสงแดด และบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของอาหารเสริมได้