1. ชาเขียว
ชาเขียวมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เคทิชิน (Catechins) ซึ่งมีคุณสมบัติเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ควรดื่มชาเขียวร้อน ที่ไม่ผสมน้ำตาล หรือมีน้ำตาลในปริมาณน้อยที่สุด อย่างน้อยวันละ 2 แก้ว จะช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายได้
2. ขิง
ขิงเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย โดยหนึ่งในนั้นก็มีประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อีกทั้งสารจิงเกอร์รอลในขิงยังมีสรรพคุณลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นใครไม่อยากเป็นหวัดบ่อย ๆ ก็กินขิงต้านหวัดได้นะ
3. ขมิ้น
สมุนไพรที่รู้จักกันดีอย่างขมิ้นก็มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และลดการอักเสบในร่างกาย นอกจากนี้ขมิ้นยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
4. ตะไคร้
สายสมุนไพรต้องถูกใจสิ่งนี้แน่ เพราะตะไคร้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จะเอาไปคั้นน้ำหรือนำมาประกอบอาหารก็อร่อยไปหมด ส่วนในด้านสรรพคุณของตะไคร้ก็เจ๋งไม่เบา ทั้งช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ หรือจะไล่ไข้หวัดก็ได้ เพราะตะไคร้เป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน
5. กระเทียม
กระเทียมมีสารอัลลิซินและซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณเสริมความแข็งแรงของภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ในตำรับยาสมุนไพรไทยยังบอกไว้ว่า กระเทียมมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยในกระเทียมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส อีกทั้งกระเทียมยังเป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ช่วยขยายทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้นอีกด้วย
6. พริก
ใต้ความเผ็ดร้อนของพริกนั้นเต็มไปด้วยสารสำคัญที่ชื่อว่าแคปไซซิน สารตัวนี้มีสรรพคุณเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ในพริกยังอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี บวกกับเบต้าแคโรทีนที่จะช่วยเสริมทัพให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายได้อีกทาง
อ้อ ! แต่อย่ากินพริกมากเกินไปนะ เพราะความเผ็ดของพริกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้
7. ต้นอ่อนทานตะวัน
ในศาสตร์ของแพทย์แผนอายุรเวทโบราณนั้น ต้นอ่อนทานตะวันสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ในต้นอ่อนทานตะวันยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกัน มีวิตามินบี 1 บี 6 วิตามินอี วิตามินซี และซีลีเนียม สารอาหารที่ดีต่อสุขภาพอยู่ด้วย
8. เห็ดหอม
9. เห็ดชนิดต่าง ๆ
ใครไม่ชอบกินเห็ดหอมก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะในเห็ดแทบทุกชนิดก็มีสรรพคุณช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ เนื่องจากในเห็ดชนิดต่าง ๆ มีสารสำคัญมากมาย โดยเฉพาะโพลีแซกคาไรด์ สารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้ดี และเห็ดชนิดอื่น ๆ ก็มีสารเบต้ากลูแคนอยู่ด้วยเหมือนกัน
10. โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว
11. บลูเบอร์รี
12. มะละกอ
มะละกอสุกเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เบต้าแคโรทีน ที่ล้วนแต่เป็นสารสำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว และเมื่อเม็ดเลือดขาวในร่างกายเรามีความพร้อม เวลาเจอเชื้อโรคแปลกปลอมเข้ามาก็จะมีความสามารถในการสกัดกั้นเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ทำให้อัตราการป่วยลดน้อยลง หรือหากป่วยแล้วก็จะมีอาการไม่หนักหนามาก
13. กีวี
14. ผลไม้ตระกูลซิตรัส
15. เมล็ดทานตะวัน
ของกินเล่นเพลิน ๆ แถมมีประโยชน์อนันต์อย่างเมล็ดทานตะวันเป็นอาหารที่มีวิตามินอีสูง ซึ่งวิตามินอีก็มีส่วนเพิ่มการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน และในเมล็ดทานตะวันยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ คอยป้องกันเซลล์ในร่างกายถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระต่าง ๆ อีกด้วย
16. อัลมอนด์
อีกหนึ่งเมล็ดธัญพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินอี สารอาหารสำคัญในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย และยังมีแมกนีเซียม แมงกานีส และไฟเบอร์ อยู่ในตัวเองอีกต่างหาก ที่สำคัญคืออร่อย กินเพลินสุด ๆ
17. ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์
18. อาหารที่มีกรดโอเมก้า 3
โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่พบได้มากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล นอกจากนี้ยังจะพบโอเมก้า 3 ได้ในธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่ววอลนัท ถั่วแระ เมล็ดปอ หรือในพืชผักใบเขียวก็มีโอเมก้า 3 เช่นกัน และโอเมก้า 3 นี่แหละค่ะที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายเราได้ เพราะเป็นกรดไขมันจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดขาว และเป็นสารสำคัญในกระบวนการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย
19. อาหารที่มีวิตามินเอสูง
วิตามินเอเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดขาว ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาวได้อีกด้วย โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอก็จะมีตับปลา แครอต ผักโขม มะเขือเทศ เสาวรส บรอกโคลี ฟักข้าว เป็นต้น
นอกจากอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว เราก็ควรช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วย เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายมากกว่า 30 นาทีต่อวัน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เกินวันละ 2 แก้ว งดสูบบุหรี่ กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือให้ติดเป็นนิสัย และสุดท้ายควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่าให้ขาด
20. อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
นายแพทย์โคอิชิโร ฟุจิตะ (Koichiro Fujita) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันการติดเชื้อจากประเทศญี่ปุ่น ให้ข้อมูลว่า อนุมูลอิสระเป็นตัวการบั่นทอนเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรกินอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มพฤกษเคมี เช่น สารโพลีฟีนอล ที่พบได้มากในกะหล่ำปลีม่วง ผักกะเฉด ยอดมะม่วงหิมพานต์ ใบมันปู และใบส้มแป้น นอกจากนี้ก็ควรกินอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์สูง เช่น พริกหวานสีแดง แครอต ผักชีล้อม ตำลึง ฟักทอง หรืออาหารที่มีสารประกอบซัลเฟอร์ ซึ่งพบได้ในพืชที่มีกลิ่นแรง เช่น หัวหอม หัวผักกาด เป็นต้น