
อาการปวดกรามเป็นแบบไหน
อาการปวดกรามมักจะรู้สึกปวดและเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกร ที่เชื่อมต่อระหว่างกะโหลกศีรษะและขากรรไกรล่าง ซึ่งอาจแสดงอาการดังนี้
-
ปวดกรามข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และลามไปถึงบริเวณกกหู
-
ปวดศีรษะข้างเดียวหรือปวดไปทั้งศีรษะก็ได้
-
พบความผิดปกติในการอ้าและหุบปาก เช่น ทำได้ช้าลง หรือขากรรไกรค้าง หุบปากไม่ได้
-
เวลาเคี้ยวอาหาร หรือขยับขากรรไกร อาจรู้สึกเจ็บ หรือได้ยินเสียงคลิก หรือเสียงกรุบกรับ
-
อาจมีอาการปวดบริเวณใบหน้าซีกใดซีกใดหนึ่งก็ได้
-
กดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวหรือข้อต่อขากรรไกร
อาการปวดกรามเกิดจากอะไร

อาการปวดกรามเกิดได้จากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ ข้อต่อขากรรไกร หรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยว สามารถเรียกรวม ๆ ได้ว่า ภาวะความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Joint Disorder) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
-
ความเครียด ที่อาจทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือกล้ามเนื้ออ่อนล้าได้
-
การเคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า
-
การเคี้ยวของแข็ง
-
การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
-
การนอนกัดฟัน
-
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
-
เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อขากรรไกรมาก่อน เช่น ได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก
-
ปัญหาในช่องปาก เช่น การสบฟันที่ผิดปกติ ปวดฟัน โรคเหงือก ขากรรไกรหัก กรามหัก หรือการผ่าตัดช่องปาก
-
ปัญหาในช่องหูหรือโพรงจมูก
-
โรคไซนัสอักเสบ
-
โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ทำให้ปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง รวมถึงปวดกระบอกตาและลามไปถึงกราม
-
โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า
-
โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์
-
โรคหัวใจขาดเลือด ที่อาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อหน้าอก แขน หลัง คอ และขากรรไกรได้
อาการปวดกราม
วิธีแก้-ปฐมพยาบาลด้วยตัวเอง

ปวดกราม หาหมออะไรดี
ปวดกราม รักษาได้ไหม

ในทางการแพทย์จะมีวิธีรักษาอาการปวดกรามอยู่หลายแนวทางด้วยกัน เช่น
-
ใช้ยาแก้ปวด หรือยาลดการอักเสบอื่น ๆ
-
ถอนฟัน จัดฟัน รักษารากฟัน ในกรณีที่อาการปวดกรามเกิดจากปัญหาในช่องปาก
-
ใช้เฝือกสบฟัน ในกรณีที่มีอาการสบฟันผิดปกติ หรือนอนกัดฟัน เพื่อลดการกระแทกของข้อต่อขากรรไกร
-
การรักษาทางเลือก เช่น ฝังเข็ม กายภาพบำบัด เลเซอร์ หรืออัลตราซาวด์
- การผ่าตัดขากรรไกร ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ
ปวดกราม ดูแลตัวเองยังไงดี

ปวดกราม ป้องกันได้ไหม
หากไม่อยากมีอาการปวดกรามข้างเดียว เราสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ดังนี้
-
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ หรืออาหารที่ต้องเคี้ยวมาก ๆ เช่น หมากฝรั่ง ปลาหมึกแห้ง เป็นต้น
-
ไม่กินอาหารคำใหญ่จนเกินไป ซึ่งทำให้ต้องอ้าปากกว้าง ใช้ฟันเคี้ยวเป็นเวลานาน
-
หลีกเลี่ยงความเครียด
-
นวดบริเวณกรามเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
-
หากเป็นคนที่มีปัญหานอนกัดฟัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษา
-
พบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก