
แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่พบมากเป็นอันดับ 2 ภายในเซลล์ของร่างกาย เพราะมีส่วนช่วยในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ มากมาย การได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอ คือวันละ 240-320 มิลลิกรัม (สำหรับคนไทยอายุ 19 ปีขึ้นไป) ย่อมช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลายคนกลับไม่ค่อยได้กินอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง อย่างเนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช ถั่ว นม ผักใบเขียว หรือมักมีอาการเครียดบ่อย ๆ รวมถึงดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำ ทำให้ปริมาณแมกนีเซียมในร่างกายลดลง จึงอาจมองหาวิตามินแมกนีเซียมมาช่วยเติมเต็ม และถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเลือกซื้อแมกนีเซียม ยี่ห้อไหนดี หรือแมกนีเซียม กินตอนไหนดีที่สุด เพื่อได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ วันนี้เรามีข้อมูลมาแนะนำกัน แต่ก่อนอื่นมารู้จักประโยชน์ของแมกนีเซียมสักนิดแมกนีเซียม ช่วยอะไรบ้าง
ประโยชน์ของแมกนีเซียม มีอยู่มากมายหลายด้าน อาทิ
-
ทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ของเอนไซม์ในกระบวนการเมตาบอลิสมากกว่า 300 ปฏิกิริยา กล่าวคือ แมกนีเซียมเป็นตัวจับเอนไซม์เพื่อเร่งให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่าง ๆ เช่น การสร้างและสังเคราะห์ DNA, การสังเคราะห์โปรตีน, การปลดปล่อยกลูโคสจากตับ ฯลฯ
-
ช่วยสร้างส่วนประกอบเนื้อเยื่อต่าง ๆ
-
ช่วยในการเจริญเติบโตและสร้างพลังงาน
-
ช่วยเรื่องการยืดหดของกล้ามเนื้อ และการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
-
ช่วยให้รู้สึกสงบ ลดความตื่นเต้น ลดความเครียด บรรเทาความวิตกกังวล และช่วยปรับปรุงอารมณ์ที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้า
-
มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม
-
มีส่วนช่วยลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) เช่น ท้องอืด อารมณ์แปรปรวน
-
ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก เพราะแมกนีเซียมจะช่วยดูดซึมแคลเซียมและวิตามินดี ซึ่งเป็นสารอาหารที่สร้างเซลล์กระดูก จึงลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้ โดยมีงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความผิดปกติของกระดูก
-
มีบทบาทในการคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ มีส่วนช่วยลดอาการกล้ามเนื้อกระตุกหรือตะคริวในเวลากลางคืน ซึ่งรบกวนการนอนหลับ
-
ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ ซึ่งช่วยคลายหลอดเลือด และดีต่อการเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ
แมกนีเซียม
ช่วยให้นอนหลับได้จริงไหม

แมกนีเซียมช่วยให้นอนหลับได้จริง เพราะแมกนีเซียมมีกลไกการทำงานหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ช่วยควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ พร้อมกับควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและการตื่น และยังช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย เตรียมพร้อมกับการนอนหลับมากขึ้น
นอกจากนี้แมกนีเซียมยังสามารถจับกับตัวรับบางชนิดในระบบประสาทส่วนกลางและกระตุ้นการทำงานของ GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยลดความตื่นตัวของระบบประสาท ทั้งหมดนี้จึงมีส่วนช่วยให้เรานอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่
แมกนีเซียม ช่วยเรื่องไมเกรนได้ไหม
งานวิจัยพบว่า คนที่มีอาการปวดหัวไมเกรนบ่อย ๆ มักมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ แต่การรับประทานแมกนีเซียมมีส่วนช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้ อีกทั้งช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยแมกนีเซียมมีบทบาทในการควบคุมการอักเสบในสมอง และควบคุมการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งรวมถึงสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน พร้อมกับช่วยคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและคอที่อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการไมเกรนแย่ลง
คงเห็นแล้วว่า แมกนีเซียมมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ดังนั้น การขาดแมกนีเซียมเป็นเวลานานอาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน และยังมีผลต่อระบบประสาท ฮอร์โมน กล้ามเนื้อ ฯลฯ เราจึงควรรับประทานแมกนีเซียมให้เพียงพอ ซึ่งถ้าไม่สามารถรับประทานอาหารได้มากพอก็อาจมองหาแมกนีเซียมเสริมมาเป็นตัวช่วย
อาหารเสริมแมกนีเซียม มีกี่ชนิด

วิตามินแมกนีเซียมมีหลายรูปแบบ หลายฟอร์ม ซึ่งมีการดูดซึมและมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น
-
แมกนีเซียมซิเตรต (Magnesium Citrate) : เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยและมีอัตราการดูดซึมที่ดี จึงมักใช้ในการบรรเทาภาวะขาดแมกนีเซียม รวมถึงใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก เพราะมีส่วนช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
-
แมกนีเซียมไกลซิเนต (Magnesium Glycinate) : เป็นรูปแบบหนึ่งของแมกนีเซียมคีเลต จึงมีการดูดซึมสูงและอ่อนโยนต่อกระเพาะอาหาร มักใช้เพื่อทำให้รู้สึกผ่อนคลาย บรรเทาอาการเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
-
แมกนีเซียมออกไซด์ (Magnesium Oxide) : เป็นแมกนีเซียมที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เพราะเป็นชนิดที่ดูดซึมได้น้อยกว่ารูปแบบอื่น ๆ แต่เหมาะกับคนที่มีอาการกรดไหลย้อน ท้องผูก ไมเกรน
-
แมกนีเซียมมาเลต (Magnesium Malate) : เป็นแมกนีเซียมที่จับกับกรดมาลิก พบได้ในผลไม้ มีส่วนช่วยในการผลิตพลังงานและอาจช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
-
แมกนีเซียมคลอไรด์ (Magnesium Chloride) : เป็นชนิดที่มีการดูดซึมดี เหมาะกับการฟื้นฟูระดับแมกนีเซียมในร่างกาย และอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวและเส้นผม รวมทั้งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
-
แมกนีเซียมทอเรต (Magnesium Taurate) : เป็นแมกนีเซียมที่จับกับกรดอะมิโนทอรีน มีส่วนช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
-
แมกนีเซียม แอล-ทรีโอเนต (Magnesium L-Threonate) : มีจุดเด่นในเรื่องของการดูดซึมเข้าสู่สมองได้ดีกว่าแมกนีเซียมรูปแบบอื่น ๆ จึงเหมาะกับคนที่ต้องการเสริมสร้างความจำและการเรียนรู้ ดูแลสุขภาพสมอง แต่มักมีราคาสูงกว่าแมกนีเซียมชนิดอื่น
วิธีเลือกซื้ออาหารเสริมแมกนีเซียม

-
เลือกชนิดของแมกนีเซียมตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น
-
เพื่อดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไป ป้องกันภาวะขาดแมกนีเซียม สามารถเลือกแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซิเตรต หรือชนิดอื่น ๆ ได้
-
เพื่อเสริมสร้างพลังงาน ควรเลือกแมกนีเซียมมาเลต
-
เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องผูก สามารถเลือกแมกนีเซียมซิเตรต แมกนีเซียมออกไซด์
-
เพื่อความผ่อนคลาย ซึ่งส่งผลดีต่อการนอนหลับ อาจเลือกแมกนีเซียมไกลซิเนต แมกนีเซียมซิเตรต แมกนีเซียมทอเรต แมกนีเซียม แอล-ทรีโอเนต
-
เพื่อบรรเทาอาการไมเกรน อาจเลือกแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมซิเตรต แมกนีเซียมไกลซิเนต แมกนีเซียม แอล-ทรีโอเนต เป็นต้น
-
หากต้องการแมกนีเซียมที่ดูดซึมได้ดี เลือกทั้งได้แมกนีเซียมซิเตรต แมกนีเซียมไกลซิเนต แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียม แอล-ทรีโอเนต เป็นต้น
-
-
ตรวจสอบชนิดของแมกนีเซียมที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ โดยบางแบรนด์มีส่วนผสมของแมกนีเซียมชนิดเดียว แต่บางแบรนด์มีส่วนผสมของแมกนีเซียมรวมกันหลายชนิด
-
แมกนีเซียมชนิดเดียว : ข้อดีคือ สังเกตผลลัพธ์ได้ง่าย ปรับขนาดวิตามินได้ตรงจุด ราคาไม่สูงเท่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมหลายชนิด เหมาะกับคนที่ต้องการกินเพื่อจุดประสงค์ใดเป็นการเฉพาะ
-
แมกนีเซียมหลายชนิด : ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลายและครอบคลุมกว่า แต่มักมีราคาสูงกว่า
-
-
ตรวจสอบปริมาณของแมกนีเซียมว่าเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแมกนีเซียมมีปริมาณสูงสุดไม่เกิน 350 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการใช้แมกนีเซียมเพื่อบรรเทาอาการใดเป็นการเฉพาะก็อาจต้องรับประทานในโดสสูงขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
-
พิจารณาส่วนผสมของวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ นอกจากแมกนีเซียมว่าเราต้องการหรือไม่ ซึ่งบางแบรนด์อาจผสมวิตามินบี ซิงก์ ทองแดง ฯลฯ มาพร้อมกับแมกนีเซียมด้วย เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากขึ้น หรือช่วยเรื่องการดูดซึม
-
เลือกตามรูปแบบของวิตามินที่เราสะดวกในการรับประทาน เช่น แบบแคปซูล แบบเม็ด แบบเม็ดฟู่ แบบกัมมี่ ฯลฯ
-
ตรวจสอบว่ามีสารก่อภูมิแพ้หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
-
อ่านคำแนะนำ คำเตือน ข้อควรระวังต่าง ๆ เช่น ใครไม่ควรรับประทาน หรือมีผลข้างเคียงอย่างไร ก่อนซื้อมารับประทาน
-
เลือกแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และมีการควบคุมคุณภาพ หรือได้รับรองจากองค์กรต่าง ๆ ที่สำคัญคือต้องมีเลข อย. ระบุไว้ และอย่าลืมตรวจสอบวันผลิต-วันหมดอายุให้ชัดเจน
-
เปรียบเทียบราคาต่อปริมาณแมกนีเซียมที่ได้รับ และพิจารณาจากงบประมาณที่มีด้วย เพราะแมกนีเซียมบางชนิดอาจมีราคาสูงกว่าชนิดอื่น
-
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในการเลือกซื้ออาหารเสริมแมกนีเซียมที่เหมาะสมและปลอดภัย โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาและวิตามินชนิดอื่นเป็นประจำ
แมกนีเซียม ยี่ห้อไหนดี ปี 2025
1. Now Foods Mag-G Magnesium Glycinate

ภาพจาก : Now Foods Official Shop TH
“นาวฟู้ดส์ แม็กจี แมกนีเซียม ไกลซิเนต” นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ขวดนี้ให้แมกนีเซียมไกลซิเนต มาแบบเพียว ๆ ซึ่งแมกนีเซียมชนิดนี้สามารถดูดซึมได้ดีและยังอ่อนโยนต่อกระเพาะอาหาร เหมาะกับคนที่มีปัญหาไมเกรน เครียดง่าย นอนไม่หลับ มีอาการวิตกกังวลเป็นประจำ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 2 แคปซูล
-
ราคาปกติ : 1,080 บาท (180 แคปซูล)
2. แมกนีเซียม คอมเพล็กซ์ CEO Factory

ภาพจาก : ceofactorythailand.com
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จาก ซีอีโอ แฟคตอรี่ มาพร้อมแมกนีเซียมถึง 4 รูปแบบในแคปซูลเดียว คือ แมกนีเซียมกลีเซอโรฟอสเฟต, แมกนีเซียมออกไซด์, แมกนีเซียมอะมิโน แอซิด คีเลต (20%) และแมกนีเซียมซิเตรต (15.45%) รวมทั้งหมด 169 มิลลิกรัม จึงมีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท และแบรนด์นี้ก็ผ่านการรับรองจากระบบสากลและได้รับเครื่องหมายรับรองฮาลาลด้วยนะ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1-2 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 490 บาท (40 แคปซูล)
3. Lifetune คีเลต แมกนีเซียม

ภาพจาก : snakebrandfamily.com
“ไลฟทูน คีเลต แมกนีเซียม” ชื่อก็บอกชัดว่าเป็นแมกนีเซียมในรูปแบบคีเลต ที่ดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็วกว่าปกติ โดยใน 1 แคปซูล ให้แมกนีเซียมมา 100 มิลลิกรัม เหมาะกับคนที่ต้องการดูแลระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือจะรับประทานเพื่อดูแลสุขภาพโดยรวมก็ได้เช่นกัน
-
วิธีรับประทาน : รับประทานหลังอาหารเช้า วันละ 1 เม็ด
-
ราคาปกติ : 400 บาท (60 แคปซูล)
4. Dr.PONG Mag 350 mg Magnesium

ภาพจาก : Dr. Pong shop
หากต้องการแมกนีเซียมออกไซด์แบบเพียว ๆ ลองดูแบรนด์ ดร.พงศ์ ที่ใน 1 แคปซูล ให้แมกนีเซียมมาแบบเต็มโดส 350 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยแมกนีเซียมออกไซด์มีส่วนช่วยเสริมการนอนหลับ ผ่อนคลายความเครียด เสริมระบบพลังงานและการฟื้นฟู เหมาะกับคนที่เสี่ยงขาดแมกนีเซียม เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รวมทั้งมีปัญหานอนหลับหรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
-
วิธีรับประทาน : รับประทานวันละ 1 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 700 บาท (60 แคปซูล)
5. Demosana Magnesium

ภาพจาก : Demosana Thailand
ใครไม่ชอบกินวิตามินแบบเม็ด แนะนำให้เลือกแมกนีเซียมแบบเม็ดฟู่อย่าง ดีโมซานา แมกนีเซียม หลอดนี้เป็นวิตามินเม็ดฟู่จากประเทศเยอรมนี ที่ให้แมกนีเซียมคาร์บอเนต หอมสดชื่นด้วยรสชาติเลมอน รับประทานง่าย ๆ แค่ละลายน้ำแล้วดื่ม แถมยังไม่มีแคลอรี ไม่มีส่วนผสมของแล็กโทส กลูเตน หรือส่วนผสมอื่นที่ได้จากสัตว์
-
วิธีรับประทาน : ผสมกับน้ำ 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเย็น
-
ราคาปกติ : 700 บาท (20 เม็ดฟู่)
6. VitaBiotech Magnesium 7 IN 1

ภาพจาก : doctorgadehealth
อีกหนึ่งแบรนด์ที่คิดสูตรโดยทีมแพทย์ และให้แมกนีเซียมมาตรฐานเกรด USA ดูดซึมง่าย มาถึง 5 รูปแบบในแคปซูลเดียว ได้แก่ แมกนีเซียมอะมิโน แอซิด คีเลต, แมกนีเซียมซิเตรต, แมกนีเซียมมาเลต, แมกนีเซียมกลีเซอโรฟอสเฟต และแมกนีเซียมคลอไรด์ รวมแล้วให้แมกนีเซียมในปริมาณ 128 มิลลิกรัม พร้อมเสริมด้วยวิตามินบี 6 และวิตามินดี 3 เพื่อช่วยดูแลสุขภาพ
-
วิธีรับประทาน : วันละ 2 แคปซูล พร้อมอาหารหรือตอนท้องว่าง (เช้า 1 แคปซูล เย็น 1 แคปซูล หรือรับประทานตอนเย็นหรือก่อนนอนครั้งเดียว 2 แคปซูล)
-
ราคาปกติ : 948 บาท (30 แคปซูล)
7. กิฟฟารีน Bio Magnesium Plus

ภาพจาก : giffarine.com
แมกนีเซียมธรรมชาติจากทะเล Dead Sea ประเทศจอร์แดน ที่มีความบริสุทธิ์และความเข้มข้นสูง มาในฟอร์มของแมกนีเซียมซิเตรต 175 มิลลิกรัม ที่ดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี และอ่อนโยนต่อระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังมีส่วนผสมของแมงกานีส ซิงก์ ทองแดง วิตามินบี 1 บี 6 และบี 12 ที่มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของร่างกาย เหมาะกับคนที่มักขาดสารอาหาร ไม่ค่อยได้กินผัก-ผลไม้ นอนไม่ค่อยหลับ เครียดง่าย หรือเป็นตะคริวบ่อย
-
วิธีรับประทาน : วันละ 1 แคปซูล พร้อมมื้ออาหาร
-
ราคาปกติ : 380 บาท (60 แคปซูล)
แมกนีเซียม กินตอนไหนดีที่สุด

จริง ๆ แล้วเราสามารถรับประทานแมกนีเซียมได้ตลอดเวลาที่เราสะดวก แต่หากรับประทานพร้อมอาหารก็จะช่วยเพิ่มการดูดซึมและลดความเสี่ยงของอาการไม่สบายท้องได้
อย่างไรก็ตาม การรับประทานเวลาใดก็ตามอาจขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการกินแมกนีเซียมด้วย เช่น
-
เพื่อเสริมสร้างพลังงาน ฟื้นฟูร่างกาย ควรรับประทานในช่วงเช้าหรือกลางวัน
-
เพื่อฟื้นฟูอารมณ์และจิตใจ ผ่อนคลายความเครียด อาจรับประทานในช่วงเช้าหรือเย็น
-
เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือตะคริว สามารถรับประทานเมื่อมีอาการหรือหลังออกกำลังกาย
-
เพื่อช่วยเรื่องการนอนหลับ อาจรับประทานตอนเย็น หรือ 1-2 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
-
เพื่อดูแลระบบย่อยอาหารและลำไส้ ควรกินตอนเย็นหรือก่อนนอน
นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาชนิดของแมกนีเซียมที่รับประทานได้เช่นกัน ยกตัวอย่างคือ
-
แมกนีเซียมซิเตรตหรือแมกนีเซียมออกไซด์ เป็นรูปแบบที่อาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารได้มากกว่าชนิดอื่น จึงเหมาะกับการรับประทานในตอนเย็น
-
แมกนีเซียมไกลซิเนต แมกนีเซียมมาเลต มีความอ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารมากกว่า จึงสามารถรับประทานเวลาใดก็ได้
ทั้งนี้ สามารถรับประทานตามคำแนะนำบนฉลากข้างขวด เนื่องจากแต่ละแบรนด์จะมีวิธีรับประทานต่างกันไป และควรรับประทานในเวลาเดิมเป็นประจำ เพื่อรักษาระดับแมกนีเซียมในร่างกายให้คงที่ ซึ่งจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
ข้อควรรู้ก่อนกินแมกนีเซียม
-
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
-
ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ และผู้ที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน ไม่ควรรับประทาน
-
ผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน
-
ไม่ควรรับประทานแมกนีเซียมร่วมกับยาปฏิชีวนะ เช่น เตตราไซคลิน, ฟลูออโรควิโนโลน ยารักษาโรคกระดูกพรุน ยารักษาไทรอยด์ ยารักษาโรคหัวใจ รวมถึงยาลดความดันโลหิต โดยควรเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หรือ 4-6 ชั่วโมง หลังกินแมกนีเซียม หรือปรึกษาแพทย์-เภสัชกรก่อนรับประทาน
-
ไม่ควรรับประทานแมกนีเซียมพร้อมธาตุเหล็กและแคลเซียม เนื่องจากอาจรบกวนการดูดซึมซึ่งกันและกัน
-
ไม่ควรกินแมกนีเซียมพร้อมนมวัว ชา และกาแฟ ที่อาจไปลดการดูดซึมของแมกนีเซียมได้ โดยอาจเว้นระยะห่างกัน 4-6 ชั่วโมง
-
การรับประทานแมกนีเซียมมากเกินขนาดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้
-
หากมีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ หายใจลำบาก หลังรับประทานแมกนีเซียมเสริม ควรหยุดรับประทานทันทีและปรึกษาแพทย์
-
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 ส่วนในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
บทความที่เกี่ยวข้องกับวิตามินอาหารเสริม
- อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง กินอะไรดี ผัก-ผลไม้ชนิดไหนมีแมกนีเซียมสูงบ้าง
- แอสต้าแซนทิน ยี่ห้อไหนดี ปี 2025 ควรกินตอนไหน กินคู่กับอะไรถึงได้ประโยชน์จริง
- วิตามินบีรวมยี่ห้อไหนดี เป็นตัวเต็งแห่งปี 2568 เหมาะกับคนทำงานหนัก สมองล้า
- กู้ชีพคนนอนน้อย ! รวมวิตามินฉบับคนนอนดึก คืนความสดชื่น ฟื้นฟูร่างกาย
- น้ำมันปลา ช่วยอะไร ต่างกับน้ำมันตับปลาอย่างไร เลือกซื้อยี่ห้อไหนดี ปี 2568