
โปรดระวังโรคไทฟอยด์ (e-magazine)
เมื่อไม่นานมานี้หลายคนอาจได้เห็นข่าวคราวที่บรรดาผู้นำด้านสุขภาพระดับโลกต่างก็ออกมาเรียกร้องให้มีการเสริมสร้างความช่วยเหลือด้านภูมิคุ้มกัน เนื่องจากการระบาดของโรคไทฟอยด์ในภูมิภาคยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะพาคุณมารู้จักกับโรคไทฟอยด์ให้ดีกว่าเดิม
ไข้รากสาดน้อย หรือ ไข้ไทฟอยด์ เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella enterica serovar Typhi ซึ่งพบได้ทั่วโลก โดยติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย โดยเชื้อแบคทีเรียก่อโรคนี้จะเจาะทะลุผนังลำไส้แล้วถูกจับกินโดยเซลล์แมโครฟาจ จากนั้นเชื้อ Salmonella typhi จะเปลี่ยนโครงสร้างตัวเอง เพื่อดื้อต่อการทำลายและสามารถหลบหนีออกจากแมโครฟาจได้
กลไกดังกล่าวทำให้เชื้อดื้อต่อการทำลายโดยแกรนูโลไซต์ ระบบคอมพลีเมนต์ และระบบภูมิคุ้มกัน เชื้อก่อโรคต่าง ๆ จะกระจายไปทั่วร่างกายผ่านทางน้ำเหลืองขณะที่อยู่ในเซลล์แมโครฟาจ ทำให้เชื้อเข้าสู่ระบบเรติคูโลเอนโดทีเลียม และไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ผู้ป่วยจะมีไข้สูงคงตัวที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส เหงื่อออกมาก กระเพาะและลำไส้อักเสบ ท้องเสียไม่มีเลือดปน อาการที่พบไม่บ่อย เช่น มีจุดผื่นราบสีกุหลาบ หรือสีแดง
โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาของโรคไทฟอยด์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ หากไม่ได้รับการรักษา ในแต่ละระยะกินเวลาราว 1 สัปดาห์


ในผู้ป่วยราว 1 ใน 3 หากฟังเสียงปอดอาจพบเสียงอึ๊ดที่ฐานปอด ที่ท้องอาจบวมและกดเจ็บที่จตุภาคล่างขวา ซึ่งสามารถได้ยินเสียงท้องร้อง อาจพบอาการท้องเสียได้ในระยะนี้ โดยถ่ายราว 6-8 ครั้งต่อวัน เป็นสีเขียวร่วมกับกลิ่นคล้ายซุปถั่ว แต่ก็อาจพบท้องผูกได้บ่อย ม้ามและตับโตและกดเจ็บ ตรวจเอนไซม์ตับทรานสอะมิเนสสูงขึ้น ปฏิกิริยาไวดัลเป็นบวกชัดเจน ร่วมกับพบแอนติบอดี antiO และ antiH เพาะเชื้อจากเลือดบางครั้งยังให้ผลบวกในระยะนี้



เหล่าสมาคมกุมารเวชศาสตร์และสมาคมอื่น ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย ยอมรับว่า ผลกระทบอันร้ายแรงของโรคไทฟอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุกคามของอาการดื้อยาของโรคไทฟอยด์ที่เพิ่มสูงขึ้น และขยายวงกว้างในหลายประเทศ รวมไปถึงประเทศอินเดียและอินโดนีเซียได้ให้คำแนะนำเพื่อสนับสนุนการใช้วัคซีนไทฟอยด์
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกประมาณการว่า มีผู้ป่วยโรคไทฟอยด์ 21 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตสองแสนรายต่อปี โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กก่อนวัยเรียน และเด็กวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนาในทวีปเอเชียและแอฟริกา อีกทั้งยังรายงานอีกว่า 90% ของผู้เสียชีวิตจากโรคไทฟอยด์ล้วนอยู่ในทวีปเอเชีย
ดร.เจเรมี่ ฟาร์ราร์ ผู้อำนวยการประจำหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ในประเทศเวียดนาม กล่าวว่า "องค์การอนามัยโลกได้รับรองว่าวัคซีนไทฟอยด์สามารถหาซื้อได้แล้วในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขจากประเทศต่าง ๆ ทั่วทั้งเอเชีย ยังคงไม่ได้นำวัคซีนไทฟอยด์ไปใช้ทั้งหมด"
ภาวะการติดเชื้อโรคไทฟอยด์ส่งผลกระทบต่อการเข้าเรียนและการสำเร็จทางการศึกษา รวมไปถึงขีดจำกัดของพนักงานในการเข้าร่วมงานและการเพิ่มผลผลิตของงาน โรคไทฟอยด์แพร่กระจายในแหล่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความยากจน โดยขาดการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน อีกทั้งโรคไทฟอยด์ยังแพร่กระจายผ่านน้ำและอาหารที่ปนเปื้อน ดังนั้น การตรวจตรา ระแวดระวัง และควบคุมโรคไทฟอยด์ทั่วทั้งภูมิภาคให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องพยายามให้แต่ละแห่งจัดบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และด้านอื่น ๆ เช่น การเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่สะอาด และสนับสนุนให้มีสุขอนามัยที่ดี รวมไปถึงการล้างมือ รวมทั้งการให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนไทฟอยด์ด้วย
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย

ลิขสิทธิ์บทความของ e-magazine.info
ติดตามบทความ สุขภาพ หรืออ่าน แมกกาซีน