
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก vanberlo.nl
เพราะโรคมะเร็งปากมดลูกกำลังคุกคามชีวิตหญิงไทยมากขึ้นทุกวัน จากสถิติที่บ่งชี้ชัดเจนว่า โรคนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้หญิงไทยอายุระหว่าง 25-65 ปี เสียชีวิตมากที่สุด โดยพบผู้เสียชีวิตมากถึงวันละ 14 ราย และยังพบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นวันละ 10,000 ราย ทำให้วงการแพทย์ต้องหันมาสนใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การตรวจคัดกรองสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะจะช่วยให้พบกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้มักจะอายหมอ หรือกลัวเจ็บ จึงไม่กล้ามาตรวจ มาพบอีกทีโรคก็ลุกลามจนไม่สามารถรักษาได้ไปแล้ว แต่ปัจจุบันก็มีวิธีตรวจคัดกรองที่ง่ายขึ้น และเห็นผลแม่นยำมากขึ้น โดยมีอยู่ 2 วิธีที่เป็นที่นิยมกันคือ
.gif)




เป็นการตรวจโดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลเพื่อหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุหลักของโรคโดยตรง เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูงมากถึงร้อยละ 95-100 ผลการตรวจจึงแม่นยำมากที่สุด เพราะใช้นวัตกรรมใหม่อย่าง "เดลฟี สกรีนเนอร์" (Delphi Screener) ซึ่งเป็นชุดเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองที่สะดวก ใช้งานง่าย ปลอดภัย มีผลการศึกษา (Clinical Study) ที่รองรับถึงประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับจากสตรีทั่วโลก ทั้งยังได้รับรางวัล If product design award 2012 และ Special award for ergonomic design award 2012 รวมถึงผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 13485 และ CE Mark แล้ว
เพราะฉะนั้น รศ.นพ.วิชัย จึงเชื่อว่า นวัตกรรมใหม่นี้จะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะเข้ามาช่วยคัดกรองผู้ป่วยได้มากขึ้น และช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
คุณหมออธิบายถึงลักษณะและการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าวว่า "นวัตกรรมนี้มีลักษณะเป็นแท่งพลาสติกขนาดเท่าปากกา โดยด้านบนนั้นจะมีลักษณะเป็นห่วงและมีปุ่มกดบนห่วง ซึ่งวิธีการใช้นั้นให้นั่งถ่างขาในลักษณะท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน จากนั้นค่อย ๆ สอดแท่งพลาสติกดังกล่าวเข้าไปในช่องคลอด โดยที่นิ้วหัวแม่มือสอดเข้าไปห่วง แล้วใช้นิ้วชี้กดไปที่บริเวณปุ่มด้านบนห่วง พร้อม ๆ กับการนับ 1 2 3 จากนั้นน้ำเปล่าที่บรรจุอยู่ในแท่งอุปกรณ์ดังกล่าวประมาณ 1 ซีซีจะไหลเข้าไปยังช่องคลอด เพื่อเข้าไปนำเซลล์เนื้อเยื่อบุมดลูก หรือไวรัส HPV ที่เกาะอยู่บริเวณช่องคลอด โดยแท่งพลาสติกจะดูดของเหลวเหล่านี้ไปเก็บไว้ จากนั้นให้นำของเหลวดังกล่าวบีบลงในหลอดเก็บตัวอย่าง (ต้องมีลักษณะขุ่นและมีเนื้อเยื่อบางจึงจะถือว่าตัวอย่างสมบูรณ์พร้อมตรวจ) เพื่อส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสดังกล่าวต่อไป หรือสามารถส่งทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกัน"
ส่วนความแตกต่างระหว่าง "เดลฟี สกรีนเนอร์" กับอุปกรณ์ทดสอบมะเร็งปากมดลูกก่อนหน้านี้ คุณหมอระบุว่า "อุปกรณ์ตรวจคัดกรองมะเร็งก่อนหน้านี้จะมีลักษณะคล้ายกับแปรงล้างขวดนม ที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในขณะทดสอบ หรือแม้แต่การตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแปปสเมียร์ที่เรียกได้ว่าดีที่สุด แต่อาจติดข้อจำกัดที่ต้องทำโดยแพทย์ ซึ่งสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้รับบริการ"
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ควรทดสอบมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองนั้น คุณหมอแนะนำว่า เป็นกลุ่มของผู้หญิงไทยที่มีอายุระหว่าง 25-65 ปี หรือพูดง่าย ๆ ว่ากลุ่มผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ และยังไม่เคยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแบบตรวจแปปสเมียร์มาก่อน (คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 70) ก็สามารถใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ และควรทดสอบมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

