มะเร็งตับ โรคมะเร็งตัวร้ายที่แม้จะไม่ดื่มเหล้าก็เป็นได้ เพราะยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้คนป่วยด้วยโรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับ ยังคงเป็นโรคมะเร็งที่คนไทยป่วยกันมากเป็นอันดับต้น ๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น มารู้อีกทีก็ต่อเมื่อมะเร็งตับได้ลุกลามจนรักษาได้ยากแล้ว ซ้ำร้ายกว่านั้นก็คือ หากตรวจพบมะเร็งตับในระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ได้ไม่เกิน 6 เดือน !!!
มะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากอะไร ?
1. ส่วนใหญ่ของการเกิดมะเร็งตับ มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบีและซี จากข้อมูลสถิติของหลายสถาบันได้ผลใกล้เคียงกันว่า 80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นมะเร็งตับ โดยมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติถึง 223 เท่า (ข้อมูลจากหนังสือความรู้เรื่องโรคตับสำหรับประชาชน)
4. สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งพบปนเปื้อนอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ก็เป็นสารก่อมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ จากการศึกษาพบว่า อะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์กับไวรัสตับอักเสบบี โดยเชื่อว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นตัวทำให้เกิดมะเร็งตับ และอะฟลาทอกซินเป็นตัวเสริม เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงถั่วลิสง โดยเฉพาะถั่วลิสงป่นที่ค้างนาน ๆ ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว และเต้าหู้ยี้
ใครเสี่ยงมะเร็งตับ ?
- ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี ซี หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไวรัสตับอักเสบบี ซี เรื้อรัง
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพตับ เช่น มีภาวะตับแข็ง ไขมันพอกตับ
- ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ
- ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดซึ่งเสี่ยงต่อโรคตับ
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเชื้ออะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพตับ เช่น มีภาวะตับแข็ง ไขมันพอกตับ
- ผู้ดื่มสุราเป็นประจำ
- ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดซึ่งเสี่ยงต่อโรคตับ
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีเชื้ออะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง
จะทราบได้อย่างไรว่ากำลังเป็นมะเร็งตับ ?
สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็งตับมีอัตราการอยู่รอดต่ำก็คือ มะเร็งตับในระยะแรกซึ่งจะสามารถรักษาให้หายขาดได้นั้น มักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนออกมา โดยผู้ป่วยจะมีอาการคลุมเครือ เช่น เสียดท้องด้านขวา มีอาการจุกแน่นในบางครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่แทบไม่มีอาการอะไรเลย ทั้งนี้ ก็เพราะตับเป็นอวัยวะที่มีกำลังสำรองมาก คนเราสามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของตับประมาณ 30% ดังนั้น เมื่อมีอาการที่ชัดเจนมะเร็งก็อยู่ในระยะลุกลาม หรือมีขนาดใหญ่และไม่สามารถจะรักษาได้แล้ว
อาการของผู้ป่วยมะเร็งตับ
ที่ชัดเจนก็คือ รู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเสียด แน่นท้อง
น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว และอาการที่เด่นชัดก็คือ ปวดชายโครงด้านขวา
โดยอาจร้าวไปที่ไหล่ด้านขวาหรือลำตัวซีกขวา และอาจคลำพบก้อนที่ชายโครง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
การตรวจหามะเร็งตับ ทำได้อย่างไร ?
เนื่องจากมะเร็งตับเปรียบเหมือนมฤตยูเงียบ การเฝ้าระวังจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการที่จะเป็นมะเร็งตับ คือ ผู้ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี ขึ้นไปและมีอาการตับแข็งร่วมด้วย ควรจะต้องตรวจร่างกายอย่างน้อยทุก 6 เดือน
การตรวจหามะเร็งตับในปัจจุบัน จะมีการตรวจหาระดับของสารอัลฟาฟuโตโปรตีน (Alpha -fetoprotein) ซึ่งเป็นสารที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็งตับ แต่การตรวจหาค่าอัลฟาฟีโตโปรตีนอย่างเดียวไม่เพียงพอ เนื่องจากมีโอกาสผิดพลาดได้ถึง 30% การตรวจจึงควรจะร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจหาก้อนมะเร็งที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ ถ้าจะให้ละเอียดมากกว่านี้ก็คือ การตรวจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า CT Scan ซึ่งจะสามารถเห็นมะเร็งที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตรได้
มีวิธีรักษามะเร็งตับอย่างไรบ้าง ?
มะเร็งตับ ดูเป็นโรคที่มีความน่ากลัว เพราะผู้ป่วยมักเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ก็เพราะเมื่อตรวจพบมะเร็งก็มีขนาดใหญ่มากแล้ว อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบในระยะแรก ๆ ก็มีวิธีที่จะรักษาให้หายขาดได้ เช่น
1. การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออก โดยมีเงื่อนไขว่าก้อนมะเร็งนั้นมีขนาด 2-3 เซนติเมตร เป็นมะเร็งก้อนเดียว มีเปลือกห่อหุ้ม และอยู่ภายในตับกลีบเดียว วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่หากก้อนมะเร็งมีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไปจะรักษาให้หายขาดได้ยาก
2. Transcatheter Oily Chemoembolization หรือ TOCE ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้ เนื่องจากมีขนาดใหญ่เกินไป วิธีรักษาแบบ TOCE นี้มักจะกระทำโดยรังสีแพทย์ โดยการสอดสายขนาดเล็กเข้าไปทางเส้นเลือดแดงตับ เพื่อเข้าไปถึงก้อนมะเร็งโดยตรงเพื่อใส่ยาเคมีเข้าไปที่ก้อนมะเร็ง พร้อมทั้งอุดเส้นเลือดหลักที่เข้าไปเลี้ยงก้อนมะเร็งด้วยในเวลาเดียวกัน วิธีการรักษาแบบนี้ก็ได้ผลอยู่บ้างแต่ไม่สามารถจะรักษาให้หายขาดได้ โดยส่วนใหญ่มะเร็งจะกลับโตขึ้นมาได้อีก หรืออาจแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดหรือกระดูก ในทางการแพทย์การรักษาโดยวิธีนี้จึงเป็นการรักษาเพื่อยืดเวลา ในบางกรณีเมื่อก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงและไม่กระจายไปที่อื่นอาจจะผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเลยก็ได้
3. การใช้คลื่นเสียง RFA (Radiofrequency Ablation) เป็นการฉีดแอลกอฮอล์โดยตรงที่ก้อนมะเร็ง เป็นวิธีการทำลายก้อนมะเร็งด้วยการใช้เข็มแบบพิเศษ (RF needle) ขนาดเท่ากับไส้ปากกาลูกลื่น ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร แทงผ่านผิวหนังเข้าไปในก้อนมะเร็งเป้าหมาย โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากเครื่อง ทำให้เกิดคลื่นความถี่สูงประมาณ 375-500 KHz จะทำให้โมเลกุลของเนื้อเยื่อรอบ ๆ เข็มสั่นสะเทือนและเสียดสีกันจนเกิดความร้อน (Friction heat) ซึ่งจะแผ่กระจายออกไปรอบๆ จนครอบคลุมก้อนมะเร็งทั้งก้อน จากการศึกษาพบว่าความร้อนที่มากกว่า 50 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เซลล์ตายได้ ก้อนมะเร็งที่ได้รับการรักษาจะเปรียบเสมือนเนื้อย่าง ซึ่งในต่างประเทศใช้วิธีการรักษามะเร็งตับ RFA นี้กันมานานประมาณ 12 ปีแล้ว ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้กันมาประมาณ 3-4 ปี ที่ผ่านมานี้เอง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาเหล่านี้ล้วนเป็นการรักษาแบบประทังทั้งสิ้น
4. การเปลี่ยนตับ ปัจจุบันแพทย์ไทยก็สามารถปลูกถ่ายตับได้ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งมักมีข้อจำกัดมากมาย ทำให้การเปลี่ยนถ่ายตับมักไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการรักษา
5. การฉายรังสี วิธีการนี้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากตับที่ดี มักมีผลเสียจากการฉายรังสี
มะเร็งตับ ป้องกันได้...
1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของไวรัสตับอักเสบบี และซี
2. ลดสารอะฟลาทอกซิน โดยการเน้นการเก็บอาหารให้แห้งเพื่อลดปริมาณอะฟลาทอกซิน
3. ลด ละ เลิกการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
4. ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็นโรคพยาธิใบไม้ตับ หรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ รวมทั้งอาหารที่มีดินประสิว เพราะมีสารไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้ ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ
5. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้วเก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่
6. ไม่รับประทานอาหารซ้ำ ๆ หรืออาหารที่ใส่สารกันบูด
7. รับประทานผัก-ผลไม้สดเป็นประจำ
8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
9. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับ และโรคตับ
- เช็ก 12 โรคตับที่พบได้บ่อย เครื่องในที่ป่วยเล็กน้อย ก็ไม่น่าไว้ใจ
- โรคตับห้ามกินอะไร 5 อาหารที่ควรเลี่ยง ตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง
- เป็นโรคตับแข็งห้ามกินอะไร ป่วยโรคนี้กินอะไรได้บ้าง
- ไวรัสตับอักเสบ เอ ดูดน้ำหลอดเดียวกันก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ๆ
- โรคตับห้ามกินอะไร 5 อาหารที่ควรเลี่ยง ตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง
- เป็นโรคตับแข็งห้ามกินอะไร ป่วยโรคนี้กินอะไรได้บ้าง
- ไวรัสตับอักเสบ เอ ดูดน้ำหลอดเดียวกันก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, arokaya.org, nci.go.th, yourhealthyguide.com